Politics

เส้นตาย 7 วัน!! ‘ประกันสังคม’ เตือนนายจ้าง เร่งเปลี่ยนข้อเท็จจริงหนังสือรับรองว่างงาน

ประกันสังคม ขอความร่วมมือนายจ้าง แจ้งเปลี่ยนข้อเท็จจริง หนังสือรับรองขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ในระบบ e-service บนหน้าเว็บ www.sso.go.th ด่วน!

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากการที่ ประกันสังคม จ่ายสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย โดยให้นายจ้าง รีบดำเนินการยื่นหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงานเนื่องจากมี เหตุสุดวิสัย ให้แก่ ลูกจ้าง ผู้ประกันตน เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยรับเงินว่างงานฯ ต่อสำนักงานประกันสังคม

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน
นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน

เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรควิด-19 ในประเทศไทยได้คลี่คลายลง รัฐบาลได้มีมาตรการผ่อนคลาย ให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่าง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกของประชาชน และขับเคลื่อนกิจกรรมบางอย่าง ทำให้สถานประกอบการบางประเภทสามารถเปิดดำเนินการได้ จากผลสืบเนื่องดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมขอความร่วมมือนายจ้าง แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ในเรื่องการหยุดงานของลูกจ้าง ผู้ประกันตน ในหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ในกรณีว่างงานเนื่องจาก มีเหตุสุดวิสัยต่อสำนักงานประกันสังคม ในกรณีดังนี้

ประกันสังคม

– กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานก่อนวันที่รับรองไว้แล้ว ให้ยื่นหนังสือรับรองแจ้งวัน กลับเข้าทำงานของลูกจ้าง
– กรณียังไม่สามารถให้ลูกจ้างทำงานได้ และต้องให้ลูกจ้างหยุดงานต่อหลังจากคำสั่งรัฐ สั่งเปิดแล้ว ให้ยื่นหนังสือรับรองแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงตามที่นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานจนถึงวันที่สิ้นสุดการหยุดงาน
– กรณีเปลี่ยนแปลงสาเหตุการหยุดงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยของลูกจ้างให้ยื่นหนังสือรับรองใหม่ โดยระบุสาเหตุการหยุดงาน วันที่เริ่มต้น และวันที่สิ้นสุด

ทั้งนี้ ขอความร่วมมือให้ นายจ้างรีบดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยสามารถแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ใน ระบบ e-service บนเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th สำหรับนายจ้างที่ไม่ได้ยื่นผ่านระบบ e-service สามารถดาวโหลดแบบฟอร์มในแบบแจ้งการกลับเข้าทำงานของลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th เมนู ดาวน์โหลด เลือกแบบฟอร์มที่ต้องใช้กรณีว่างงาน โดยสามารถยื่นแบบได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา

ประกันสังคม

อย่างไรก็ตาม ขอให้นายจ้างเห็นความสำคัญ หากไม่ดำเนินการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง อาจมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนในกรณีอื่นๆ ได้ 

หลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33

การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน มี หลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินเยียวยา ที่ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่เป็นผู้ประกันตนมาแล้วมากกว่า 6 เดือน รวมถึงต้องได้รับการรับรองจากนายจ้างด้วย

ในกรณีที่เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 และมาตรา 40 จะไม่สามารถรับผลประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการแพร่ระบาด COVID-19 ได้ รวมถึงผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่เป็นผู้ประกันตนมาแล้ว “ไม่ถึง เดือน” หรือที่ยังมีงานทำปกติ ก็จะไม่ได้รับสิทธิ์นี้เช่นกัน

สำหรับกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับเงินเยียวยาล่าช้าว่า อาจเป็นเพราะผู้ประกันตนยื่นขอสิทธิซ้ำหลายครั้ง หรือกรอกข้อมูลผิด และนายจ้างไม่ได้รับรองลูกจ้าง ที่ผ่านมา สำนักงานประกันสังคมได้เริ่มจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย.63 จนถึงปัจจุบัน

ประกันสังคม

ประกันสังคมขยายเวลาให้ลูกจ้างลงทะเบียนรับเงินเยียวยาได้ภายใน 2 ปี

กรณีตกหล่น หรือ หลงลืม เพื่อไม่ให้ลูกจ้างเสียสิทธิ์ แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการ ตกงาน ว่างงาน ลงทะเบียนแล้วยังไม่ได้เงินเยียวยา ประสบปัญหาข้อมูลตกหล่น หรือกระบวนการและขั้นตอนการลงทะเบียน เอกสารประกอบ รวมถึงการพิสูจน์สิทธิต่างๆ

นายจักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่จะได้รับเงินเยียวยาประกันสังคม จากสำนักงานประกันสังคม กรณีนายจ้าง หรือรัฐบาล สั่งให้หยุดงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. – 31 ส.ค. 63 และ นายจ้างไม่ได้จ่ายค่าจ้าง ให้มารับเงินจาก ประกันสังคมได้ แต่ต้องหยุดงานรวมกันไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ ผู้ได้รับผลกระทบมีสิทธิ์ยื่นขอรับการเยียวยาได้ภายใน 2 ปี เป็นการเปิดกว้างกรณีตกหล่น หรือหลงลืม เพื่อไม่ให้ลูกจ้างเสียสิทธิ์รับเงินเยียวยา

กรณีถูกเลิกจ้าง และไม่มีความผิด จะได้รับเงินเยียวยา จากสำนักงานประกันสังคม ร้อยละ 70 เป็นเวลา 200 วัน ให้ไปแจ้งที่กรมการจัดหางานว่าว่างงาน ก่อนจะมาแจ้งรับเงินเยียวยา

กรณีชราภาพ ต้องอายุ 55 ปีขึ้นไป ลาออก หรือสิ้นสุดจากผู้ประกันตน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม หากออกจากงาน จะได้รับเงินที่ถูกหักร้อยละ 3 ต่อเดือนที่สะสมไว้ หากส่งน้อยกว่า 180 งวด(15 ปี) จะได้จากนายจ้างอีกร้อยละ 3 รวมเป็นร้อยละ 6 บวกกับดอกเบี้ย กรณีส่งมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่เกิน 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นเงินก้อนครั้งเดียว และหากส่งมากกว่า 180 เดือน(15ปี)ขึ้นไป จะได้รับเป็นบำนาญรายเดือนจนกระทั่งเสียชีวิตจากข้อมูลมีผู้ลงทะเบียน ตั้งแต่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา จำนวน 1.2 ล้านคน ได้รับการเยียวยาไปแล้วกว่า 1 ล้านคน วงเงินประมาณ 6,562 ล้านบาท อยู่ระหว่างการดำเนินการ 88,548 คน และอยู่ระหว่างรอนายจ้างรับรองอีกประมาณ 18,000 คน

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight