Politics

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)เอ็มโอยู7หน่วยงาน ติดเครื่องโทรมาตร ยกระดับป้องกันอุทกภัย

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองประธานกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เป็นประธาน ลงนามบันทึกความร่วมมือ โครงการติดตั้ง สถานีโทรมาตรอัตโนมัติ เพื่อตรวจวัดข้อมูลภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝนและระดับน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำ

S 4456683

โดยมีนายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พร้อมผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

S 4456730

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สุรเกียรติ์ กล่าวว่าสืบเนื่องจากพระนโยบายในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพชัร มหาวชัรราชธิดา องค์ประธานกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อน พึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ที่ทรงมีพระดำริให้ดำเนินภารกิจด้านการเฝ้าระวัง ภัย และการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ประสบภัยอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับภารกิจหลักของ มูลนิธิฯ ด้านการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประสบภัย เพื่อให้การบริหารจัดการ ด้านภัยพิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุทกภัยดำเนินไปอย่างครบวงจร มีประสิทธิภาพ และเป็นการป้องกันบรรเทาความเสียหายและความสูญเสีย ที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชน

มูลนิธิฯ จึงได้ร่วมมือและสนับสนุนงบประมาณ ให้แก่สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ในฐานะเครือข่ายของมูลนิธิฯ เพื่อเริ่มโครงการนำร่องในการติดตั้ง สถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ 14 จุดในพื้นที่ที่ประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง ที่จังหวัดน่านและจังหวัดสกลนคร รวมทั้งได้ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชนตามพระดำริ

S 4456615

โดยมูลนิธิฯได้ร่วมกับ สสน. จัดตั้งเครือข่ายเตือนภัยชุมชน เพื่อนพึ่งภาฯ ขึ้นทั้งหมด 18 ชุมชนได้ฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครในชุมชน ที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุทกภัยให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลสารสนเทศ ทรัพยากรน้ำเพื่อการเฝ้าระวัง การเตือนภัย และการอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย ได้ให้การสนับสนุนวิทยุสื่อสารแก่เครือข่ายเตือนภัยชุมชนเพื่อนพึ่งภาฯ เพื่อใช้ในการ ติดต่อสื่อสารในพื้นที่ที่สัญญาณโทรศัทพ์มือถือ ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง

ที่ผ่านมามูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ได้ดำเนินการติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติแล้ว ตามบริเวณพื้นที่เสี่ยงการเกิดภัยต่างๆ เพื่อตรวจวัดสภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝนและส่งข้อมูลทางไกลแบบอัตโนมัติ โดย โครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติเพื่อตรวจวัดข้อมูลภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำ  เป็นการติดตั้งโทรมาตรครั้งแรกในพื้นที่ป่าอุทยานซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ กล่าวว่า การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างยั่งยืนประการหนึ่งคือ การเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดภัย ถือเป็นภารกิจที่สำคัญของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ประสบภัยสามารถเตรียมความพร้อม และรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการเกิดอุทกภัยซ้ำซ้อน

S 4456685

มูลนิธิฯ เป็นองค์กรการกุศลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการช่วยเหลือประชาชนจากอุทกภัยแบบครบวงจรและยั่งยืน โดยเน้นการเชื่อมโยง สนับสนุน ร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน ชุมชน เพื่อก้าวไปสู่การเป็นตัวอย่างของโลกในการบรรเทาทุกข์และการพัฒนาแบบยั่งยืน มูลนิธิฯ ตระหนักดีว่าอุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติ ที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน งานนี้เป็นครั้งแรกในการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ในพื้นทีป่าต้นน้ำ บริเวณภูเขาและอุทยานที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ จำนวน 510 สถานี เป็นความร่วมมือกันระหว่างมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และภาคีเครือข่าย 7 หน่วยงานร่วมกันช่วยเหลือสนับสนุนดำเนินโครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ

S 4456687

โครงการนี้จะเป็นโครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติทั่วประเทศ  โทรมาตรจะทำหน้าที่เป็นตัววัดระดับปริมาณน้ำฝนและส่งข้อมูลผ่านระบบ 4G ไปยังเสาต้นไม้ (Cell Site) ส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ (Server) จะมีนักวิชาการจากสสน.คอยมอนิเตอร์ และประมวลผลการวัดระดับปริมาณน้ำ จากนั้นจะส่งข้อความรายงานปริมาณน้ำฝนผ่าน ข้อความ (SMS) ไปยังเครือข่ายชุมชน และหากเกิดปริมาณน้ำฝนที่มีระดับสูงกว่าปกติ ก็จะส่งสัญญานเตือนภัยไปยังวิทยุสื่อสารที่มูลนิธิฯ มอบให้แก่เครือข่ายชุมชนมูลนิธิฯ ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อมป้องกันใม่ให้เกิดความเสียหาย

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight