Politics

‘ภูมิใจไทย’ เดินหน้าแก้หนี้ ‘กยศ.’ ปลดทุกข์เด็กไทย

“พรรคภูมิใจไทย” ประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน หวังเดินหน้าแก้หนี้ “กยศ.” ปลดทุกข์เด็กไทย จ่อเสนอร่างพ.ร.บ.กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

IMG 5800

ที่ห้องประชุม พรรคภูมิใจไทย จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน กฎหมาย “แก้หนี้ กยศ.ปลดทุกข์เด็กไทย” โดยมี ดร.กมล รอดคล้าย ประธานยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา พรรคภูมิใจไทย และดร.พะโยม ชิณวงศ์ ทีมยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา พรรคภูมิใจไทย ดร.สฤษดิ์ บุตรเนียร ส.ส. พรรคภูมิใจไทย นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

ดร.กมล กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทยมีนโยบายสำคัญทางด้านการศึกษา ที่ผ่านมาพรรคได้เสนอการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ที่จะทำให้เด็กเรียนตั้งแต่ประถมศึกษาถึงระดับปริญญา เป็นระบบใหม่ที่ทำให้เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ค่าใช้จ่ายน้อย และเรื่องที่อยู่ระหว่างการวิพากษ์ คือ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) พรรคเคยรับฟังความเห็นมาก่อนหน้านี้ ได้นำเสนอและประสานกับทางกยศ.ไปแล้ว โดย กยศ. รับทราบและแจ้งว่าแก้ปัญหาไปแล้วในหลายประเด็น

ทั้งนี้ ตามหลักคิดของพรรค คือ ถ้าเราไม่สามารถให้ทุนเปล่าได้ เหลือเพียงการให้ยืมได้หรือไม่ ที่ผ่านมาได้รับฟังความเห็นจากนักเรียน นักศึกษา ประชาชน พบว่า ลูกหนี้ต้องการให้ลดดอกเบี้ย ลดหนี้ลงโดยปลดระยะเวลาการชำระให้ยาวนานขึ้น หรือกรณีมีเบี้ยปรับให้มีน้อยที่สุด หรือ ปลอดเบี้ยปรับ รวมถึงไม่จำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกัน เพราะผู้กู้สามารถค้ำประกันตนเองได้ ทั้งหมดนี้ ขอให้นึกถึงคำว่า ให้ทุน คือ การให้ทุนเรียนดี ยากจน ให้ยืม คือ การให้โดยไม่คิดดอกเบี้ย ซึ่งมีในบางสถาบันการศึกษาที่ใช้หลักการการทำงานคืนแทน ยกเว้นผิดสัญญาจะมีค่าปรับ และ ให้กู้ หรือ ให้กู้ยืม ซึ่งเป็นการคิดดอกเบี้ย เหมือนการทำธุรกิจ ในท้ายที่สุดพรรคจะนำเสนอร่างพ.ร.บ.กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ… ซึ่งร่างพ.ร.บ.นี้ จะนำความคิดเห็นในที่ประชุมแห่งนี้ นำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา

IMG 5995

ด้าน ดร.พะโยม กล่าวว่า เราต้องการแก้ปัญหาหนี้กยศ. และการส่งเสริมการศึกษาเด็กไทย ให้มีการศึกษาอย่างมีคุณภาพ กองทุนกยศ. เป็นกองทุนที่สร้างโอกาสให้เด็กไทย เมื่อกองทุนนี้ดำเนินการไประยะหนึ่ง ผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกองทุนกยศ. โดยสภาพปัจจุบันผู้ร่วมกู้กยศ.ประมาณ 5.6 ล้านคน เริ่มชำระหนี้แล้วประมาณ 3 ล้านคน ถูกดำเนินคดีไปไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน ต้องถามว่าเกิดอะไรขึ้น ที่ผ่านมา กยศ.จะให้เวลาสำหรับการพักชำระหนี้ ต้องเข้าใจว่า ผู้ที่กู้ยืมกยศ.ก็เพราะสาเหตุความยากจน และสภาพแวดล้อมของผู้กู้เหล่านี้ ไม่ได้มีหนี้เฉพาะหนี้ กยศ.เท่านั้น

นอกจากนี้ หลังจบการศึกษาแล้วก็อาจจะไม่ได้งานทำ ตกงาน หรือรายได้ไม่เพียงพอ ดังนั้น การให้ทุน ให้ยืม ให้กู้ยืม ตามที่เรามองว่า น่าจะนำไปแก้ปัญหาทุกข์ของเด็กไทยได้ โดยเฉพาะผู้ที่ถูกบังคับคดี อยู่ระหว่างความทุกข์ เราควรหาแนวทางการแก้ปัญหาส่วนนี้โดยเร็ว

“พรรคมีนโยบายในการแก้ปัญหา โดยต้องการปลดผู้ค้ำประกัน ปรับโครงสร้างหนี้ การทำงานชดเชยให้กับภาครัฐเพื่อปลดหนี้ และ การขยายเวลาผ่อนผันเงินต้น”

ดร.สฤษดิ์ กล่าวว่า จุดประสงค์เราเพื่อให้โอกาสเด็กและเยาวชนของชาติ มีโอกาสทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม แต่ที่ผ่านมากองทุนกยศ.ที่ปล่อยกู้ไป 5.6 ล้านราย แต่เกิดปัญหาเรื่องของดอกเบี้ย ผู้ค้ำประกัน ค่าปรับ เป็นต้น การนำเสนอเรื่องการปลดผู้ค้ำประกัน ก็เพื่อให้นักศึกษาเข้าถึงแหล่งเงินกู้อย่างเสมอภาค ให้มีการศึกษาที่ดี มีแรงจูงใจ ลดภาระการกู้ยืม ส่วนการนำเสนอพ.ร.บ.นี้ ก็ต้องการขับเคลื่อนให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนและชัดเจน

ดร.สฤษดิ์ พรรคได้นำเสนอตามมาตรา 21 และมาตรา 11 (2) ให้ยกเลิกข้อความในมาตรา 44 ที่ให้กู้ยืมเงินการศึกษา หน้าที่ต้องชำระหนี้ตามสัญญาคืนให้กองทุน และ 2 ผู้กู้ยืม เลือกทำงานแทนการชำระหนี้ เพื่อการศึกษาที่ได้รับตามสัญญากู้บืมเงินคืนกองทุน ตามเงื่อนไขของคณะกรรมการกำหนด, ให้เงินกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาปลอดดอกเบี้ย นับแต่พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และมีเงินค้าง ก็ให้ชำระคืนเงินต้น ตามคณะกรรมการกำหนด, กรณีจำเป็น ให้ผ่อนผันชำระเงินคืน แตกต่างตามจำนวน ระยะเวลา วิธีการกำหนดตามวรรค 1 หรือ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการกำหนด มาตรา 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ตามมาตรา 44 (1) ในกรณีผู้กู้ได้รับเกียรตินิยม ให้แปลงเงินเป็นทุนเพื่อการศึกษาแทน ไม่มีหน้าที่ชำระเงินกู้คืน ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ตามมาตรา 7 และให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้แทนในมาตรา 44 ดังนี้

ในกรณีผู้กู้ยืมเงิน จบสาขาที่กระทรวงศึกษากำหนด แปลงเงินกู้เป็นทุนเพื่อการศึกษาแทน ส่วนมาตรา 8 ให้ผู้กู้ที่ศาลมีคำพิพากษาก่อนพ.ร.บ.นี้บังคับใช้ เมื่อได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ก็หลุดพ้น ข้อมูลเครดิตบูโร

IMG 5675

ด้านนายชัยณรงค์ กล่าวว่า เห็นด้วยการแก้ไขปัญหาลูกหนี้ กองทุนเราเป็นกองทุนให้อนาคต ภาพรวมของกยศ. จำนวน 7.9 หมื่นกว่าล้านบาท เป็นหนี้เสียที่ลูกหนี้ติดอยู่ มีนักเรียนได้โอกาสในการกู้กยศ. 5.6 ล้านคน กู้ไปแล้ว 6 แสนล้านบาท ผิดนัดชำระหนี้ 2.3 แสนคน คิดเป็น 65% ในเส้นทางการชำระหนี้ ถ้าไม่มีการชำระหนี้ก็ต้องมีการบังคับคดี และให้ผ่อนชำระหนี้ ตอนนี้มีนักศึกษากยศ.เป็นแพทย์ จำนวน 20,000 คน มีศิษย์เก่าที่เคยกู้เงิน ตอนนี้ก็มีธุรกิจหลายแห่งรวยเป็นร้อยล้าน เราใช้งบแผ่นดินทุกปี 2 ปีหลัง เราไม่ใช้งบประมาณแผ่นดิน ถ้าเรามีเงินจากการชำระหนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน เมื่อก่อนมีเงินชำระหนี้คืนกลับเข้ามากยศ. 5 พันกว่าล้านบาท ปัจจุบันมีเงินที่ชำระหนี้กลับเข้ามากว่า 3 หมื่นล้านบาท

ดร.กมล กล่าวอีกว่า เป็นความตั้งใจของพรรคภูมิใจไทย และพวกเราทุกคนต้องการให้เรื่องนี้เปลี่ยนแปลงไปสู่มิติที่เป็นประโยชน์และดีที่สุดสำหรับทุกคนในประเทศนี้ มีเรื่องหลายเรื่องที่แต่ละฝ่ายมีประเด็นที่ตนเองทำได้ในเรื่องมากมาย และภาระความรับผิดชอบกำหนดไว้ จึงเป็นประเด็นที่พรรค พยายามเสนอกฎหมายช่วยให้แต่ละฝ่ายทำหน้าที่ตนเองได้ดีที่สุด เพื่อผู้กู้ ผู้ค้ำ และผู้เกี่ยวข้องในส่วนลูกหนี้ เพราะไม่มีใครอยากเป็นคนจน ที่ต้องดิ้นรนแสวงหาความรู้ ในหลักการศึกษา บอกว่า การศึกษาเป็นเรื่องเดียวเปลี่ยนช่วงชั้นของสังคม ดังนั้นควรทำให้การเปลี่ยนของเราสะดวกและไม่เป็นภาระ ผู้กู้ ผู้ค้ำทุกคน พยายามทำหน้าที่เปลี่ยนจากคนระดับล่าง ไปกลาง และสูง สร้างประโยชน์ให้ประเทศ แต่ก็เห็นใจกยศ. ภายใต้กฎหมายกำหนดได้ทำหน้าที่โดยสมบูรณ์

ทั้งนี้ ตั้งแต่เราเสนอกฎหมาย กยศ.พยายามแก้ไขหลายเรื่อง เช่น การเก็บเงิน การลดดอกเบี้ย ลดค่าปรีบ แต่ก็มีเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ผมขอสรุป ว่า วันนี้ พรรคภูมิใจไทย ได้พยายามเข้าไปช่วยเป็นตัวกลาง จะเสนอกฎหมายต่อไปนี้

  1. กำหนดว่าให้กรรมการกองทุนมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการแปลงเงินกู้ เป็นประโยชน์ต่อเด็ก
  2. ยกเลิกบทบัญญัติค้ำประกัน ยกเลิกผู้ค้ำ
  3. ผู้กู้ให้ทำงานแทนได้ วิธีการทำงานคล้ายผู้ที่ได้ทุนแล้วกลับมาทำงานในหน่วยงานนั้นๆ แทน
  4. ให้ปลอดดอกเบี้ย คือ คืนเฉพาะเงินต้นคืนเท่านั้น นับตั้งแต่เริ่มต้นประกาศใช้พ.ร.บ. ส่วนผู้ที่กู้ไปแล้วก็ให้เริ่มนับตั้งแต่ที่ประกาศใช้พ.ร.บ. ส่วนที่ชำระไปแล้วถือว่าให้รัฐ
  5. ผู้ที่ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ไม่มีการเก็บทั้งต้นและดอกเบี้ย เพราะถือว่าเป็นคนมีคุณภาพสูง
  6. ผู้ที่เรียนจบสาขาขาดแคลน 10 สาขา คนเหล่านี้เป็นการให้ทุนการศึกษาไป โดยไม่ต้องมาใช้คืนเงินต้นและดอกเบี้ย

“เราต้องแบ่งเกรดผู้กู้กยศ.ออกเป็น กลุ่มเอ เรียนดีเรียนเก่ง ยกให้ไม่คิดเงินต้นและดอกเบี้ย กลุ่มบี กลางก็คิดเฉพาะเงินต้น เกรดซี ลำบาก ถูกฟ้อง บังคับคดี ก็ไปปรับตัวกฎหมาย คิดแค่เงินต้นเหมือนกลุ่มบี และปลดจากเครดิตบูโร กรณีเช่นนี้ พรรคจึงเสนอเป็นพ.ร.บ. เป็นกระบวนการคิดของคนทั้งระบบ นำเสนอระบบที่เหมาะสม เข้าสู่รัฐสภา” ดร. กมล กล่าว

Avatar photo