Politics

รู้จัก ‘บุ้ง ทะลุวัง’ ลูกผู้พิพากษา สู่ผู้ต้องหา 112 อดอาหารประท้วง จนหัวใจหยุดเต้น

รู้จัก “บุ้ง ทะลุวัง” ลูกผู้พิพากษา สู่ผู้ต้องหา 112 อดอาหารประท้วง ขอคืนความยุติธรรม จนหัวใจหยุดเต้น

ช่วงเช้าวันนี้ (14 พ.ค.67) มีรายงานว่า โรงพยาบาลราชทัณฑ์แจ้งว่า นางสาวเนติพร หรือ บุ้ง กลุ่มทะลุวัง ผู้ต้องขังคดีทางการเมือง หัวใจหยุดเต้น กำลังปั๊มหัวใจอยู่ ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า “บุ้ง ทะลุวัง” คือใคร thebangkokinsight จึงรวบรวมเรื่องราวของบุ้ง หญิงสาวคนนี้เคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างเข้มข้น เด็กเรียนดี ลูกตุลาการ ที่กลายมาเป็นนักกิจกรรมทางการเมืองและสิทธิมนุษยชน ให้ทุกคนได้รู้จักกัน

บุ้งทะลุวัง

“บุ้ง” เนติพร (สงวนนามสกุล) ติวเตอร์และนักกิจกรรม วัย 28 ปี ซัปพอร์ตเตอร์ผู้เป็นฉากหลังคอยขับเคลื่อนให้กิจกรรมทางการเมืองของน้อง ๆ เกิดขึ้นได้นับครั้งไม่ถ้วน ตั้งแต่ประเด็นการศึกษาของกลุ่มนักเรียนเลว มาจนถึงการตั้งคำถามดันข้อเรียกร้อง “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” ของกลุ่มทะลุวังในปัจจุบัน ด้วยความเชื่อมั่นอย่างยิ่งในพลังของเยาวชนว่า เป็นพลังแห่งความบริสุทธิ์ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง และพลังแห่งอนาคต

เติบโตในครอบครัวตุลาการ

ย้อนกลับไปในวัยเด็ก บุ้ง เติบโตขึ้นมาในครอบครัวตุลาการ พ่อเป็นผู้พิพากษา พี่สาว เป็นทนายความ มี “ศาล” เป็นสนามเด็กเล่น และได้ผู้พิพากษา ที่ให้ความเอ็นดูมาเป็นเพื่อนเล่นเช่นกัน เมื่อโตขึ้นอีกหน่อย บุ้ง สารภาพว่า สมัยเรียนอยู่ชั้น ม.ปลาย เธอมีมุมมองต่อสังคมการเมืองตรงข้ามกับในตอนนี้มากนัก บุ้ง เคยเข้าร่วมม็อบ กปปส. และเมื่อครั้งที่มีการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง เมื่อปี 2553 จนมีผู้เสียชีวิตนับร้อย เธอในชุดเครื่องแบบนักเรียนก็เห็นดีเห็นงามด้วย

323898370 3279121302339677 23

เริ่มสู่สนามการเคลื่อนไหวการเมือง

แต่เมื่อเวลาผ่านไป เธอเติบโตขึ้น ได้รับสารหลายทางมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อรับรู้ข้อเท็จจริงที่ว่า หนึ่งในผู้เสียชีวิตจากเหตุล้อมปราบคนเสื้อแดง เขาคนนั้นเป็นเพียง “คนไร้บ้าน” ที่ถูกสไนเปอร์ยิง สิ่งนี้เปลี่ยนความคิดและมุมมองทางเมืองทั้งชีวิตที่ผ่านมา ความรู้สึกผิดต่อคนเสื้อแดงในฐานะ 1 เสียงที่สนับสนุนให้มีการรัฐประหารเกิดขึ้นในประเทศจนมีผู้เสียชีวิตนับไม่ถ้วน นำทางเธอเข้าสู่สนามการเคลื่อนไหวการเมือง

ตกเป็นผู้ต้องหา คดี 112

แม้บุ้งจะมีบทบาทเป็นเพียงผู้คอยสนับสนุนกิจกรรมของทะลุวัง แต่ทว่าเธอถูกดำเนินคดีจากการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกทางการเมืองถึง 3 คดี โดยเป็นคดีตามมาตรา 112 จากการทำโพลของทะลุวัง 2 คดี หนึ่งในนั้นคือ กรณีทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ ที่ทำให้เธอและ “ใบปอ” ต้องถูกศาลอาญากรุงเทพใต้สั่งถอนประกันและส่งไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง มาตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 ศาลก็ยังคงไม่ให้ประกันตัว บุ้งและจึงเริ่มต้นอดอาหารประท้วงมาตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2565 โดยยืนยันว่าจะอดอาหารต่อไปจนกว่าจะศาลจะให้ประกันตัว

บุ้ง ทะลุวัง

ต่อมา วันที่ 4 สิงหาคม 2565 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอประกันตัว “ใบปอ” และ “บุ้ง” เนติพร สองนักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุวัง เป็นครั้งที่ 8 ในคดีทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ ที่บริเวณห้างสยามพารากอน ก่อนศาลให้ประกันตัว

ถอนประกัน “บุ้ง ทะลุวัง” นำตัวเข้าเรือนจำ

วันที่ 26 มกราคม 2567 ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดฟังคำสั่งกรณีตำรวจ สน.ปทุมวัน ยื่นคำร้องขอศาลมีคำสั่งเพิกถอนประกันตัว นนางสาวเนติพร หรือบุ้ง จำเลยในคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง มาตรา 112 กรณีทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จที่บริเวณห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 หลังพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ยื่นคำร้องโดยอ้างเหตุที่ทั้งสองเข้าร่วมชุมนุมและพ่นสีหน้ากระทรวงวัฒนธรรม เรียกร้องให้ถอดเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สว. ออกจากการเป็นศิลปินแห่งชาติ

และขณะเดียวกัน ศาลยังนัดฟังคำวินิจฉัยคดี ละเมิดอำนาจศาล ของนางสาวเนติพร เสน่ห์สังคม กรณีกระทบกระทั่งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจศาล เป็นเหตุให้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจศาลของศาลอาญากรุงเทพใต้ป้องกันตัวด้วยการใช้ดิ้ว หรือกระบองเหล็กยืดหด ตีเข้าที่บริเวณข้อศอกจนเกิดอาการบาดเจ็บ แพทย์ต้องทำการรักษาและเย็บ 4 เข็ม

บุ้งถูกส่งตัวเข้าทัณฑสถานหญิงกลางในเย็นวันที่ 26 มกราคม 2567 เป็นต้นมา ก่อนที่เธอตัดสินใจอดน้ำอดอาหาร (Dry Hunger Strike) ตั้งแต่เย็นวันที่ 27 มกราคม 2567 เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และจะต้องไม่มีใครติดคุกเพราะเห็นต่างทางการเมืองอีก

ขอบคุณข้อมูล : ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo