Politics

‘สวนดุสิตโพล’ ระบุ ขัดแย้งโหวตนายกฯ ทำคนเบื่อการเมือง เชื่อสาเหตุหลัก ‘ชิงผลประโยชน์’

“สวนดุสิตโพล” เผยผลสำรวจความเห็นประชาชน พบ “ขัดแย้งโหวตนายกฯ” ทำคนเบื่อการเมือง โดยเชื่อว่าสาเหตุหลักของเรื่องนี้ คือ การมุ่งแต่อำนาจจนเกินขอบเขต และแย่งชิงผลประโยชน์

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า “สวนดุสิตโพล”  ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี” จำนวน 1,809 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2566 ซึ่งผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่าย กับปัญหาทางการเมือง  และระบบของกฎหมาย ที่ทำให้เกิดปัญหาในการเลือกนายกรัฐมนตรี

แม้จะเลือกตั้งผ่านพ้นไปแล้ว แต่กลับยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เนื่องจากการมุ่งแต่อำนาจและผลประโยชน์ การปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ว. และการไม่ยอมรับเสียงของประชาชน จึงอยากให้ทุกฝ่ายถอยคนละก้าวบนฐานคิดคือประโยชน์ของประชาชนมากกว่าของตนเอง

โหวตนายก

ประชาชนคิดอย่างไรกับกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการเลือกนายกรัฐมนตรี

  • อันดับ 1 ทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในสังคม 71.73%
  • อันดับ 2 ทำให้เบื่อการเมือง การเมืองล้าหลัง ไม่พัฒนา 67.90%
  • อันดับ 3 กระทบต่อภาคเศรษฐกิจ ปากท้อง ความเป็นอยู่ของประชาชน 62.23%

ประชาชนคิดว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งครั้งนี้คืออะไร

  • อันดับ 1 การมุ่งแต่อำนาจจนเกินขอบเขต แย่งชิงผลประโยชน์ 74.21%
  • อันดับ 2 การปฏิบัติหน้าที่ของ สว. 63.76%
  • อันดับ 3 การไม่ยอมรับเสียงของประชาชน ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ 62.42%

แนวทางการยุติความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี

  • อันดับ 1 เคารพเสียงจากการเลือกตั้ง 77.39%
  • อันดับ 2 แสวงหาแนวทางร่วมกันอย่างสันติ ร่วมมือและไว้วางใจกัน 57.97%
  • อันดับ 3 ทุกฝ่ายถอยคนละก้าว คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก 47.10%

โหวตนายก

บทเรียนจากความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งนี้คืออะไรบ้าง

  • อันดับ 1 ทุกคนมีความเห็นทางการเมืองที่ต่างกันได้ แต่ควรเคารพซึ่งกันและกัน 64.13%
  • อันดับ 2 ความแตกต่างระหว่างวัยส่งผลต่อความคิดทัศนคติทางการเมือง 59.17%
  • อันดับ 3 ประชาธิปไตยไทยยังคงมีปัญหา แก้ไขได้ยาก 55.16%

ประชาชนคิดว่ากรณีการเลือกนายกรัฐมนตรีจะทำให้การเมืองไทยเป็นอย่างไร

  • อันดับ 1 แย่ลง 40.63%
  • อันดับ 2 เหมือนเดิม 33.72%
  • อันดับ 3 ดีขึ้น 25.65%

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo