Politics

โพลชี้ ‘คนไม่รู้’ นโยบาย ‘แจกเงิน-สวัสดิการ’ ต้องใช้เงินเท่าไร มอง ‘ขึ้นภาษี’ แหล่งเงินทุน ทำตามนโยบาย

โพลชี้ คนไม่รู้ ต้องใช้วงเงินเท่าไร ในนโยบายแจกเงิน-สวัสดิการ ต่าง ๆ ของแต่ละพรรคการเมือง มอง “ขึ้นภาษี” แหล่งที่มาของเงิน สำหรับทำตามนโยบาย 

“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เรื่อง “นโยบายแจกเงินหรือจัดสวัสดิการของพรรคการเมืองช่วงเลือกตั้ง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2566

แจกเงิน-สวัสดิการ

การรับทราบของประชาชนต่อวงเงินที่จะต้องใช้ เกี่ยวกับนโยบายแจกเงิน-สวัสดิการ ต่าง ๆ ของแต่ละพรรคการเมือง

  • 66.72% ระบุว่า ไม่ทราบ และ/หรือ ไม่เคยทดลองคำนวณ
  • 14.81% ระบุว่า ทราบ และ/หรือ เคยคำนวณรายละเอียดไว้
  • 11.75% ระบุว่า ไม่ทราบ และไม่สนใจว่าต้องใช้วงเงินเท่าไหร่ สำหรับแต่ละนโยบายแต่ละพรรค
  • 6.72%  ระบุว่า เป็นหน้าที่ของแต่ละพรรคการเมือง ที่จะต้องคำนวณเงินและแจ้งให้ประชาชนทราบ

ความคิดเห็นของประชาชนต่อแหล่งที่มาของเงินในการจัดทำตามนโยบายแจกเงินหรือจัดสวัสดิการต่าง ๆ ของแต่ละพรรคการเมือง

  • 49.62% ระบุว่า จัดเก็บภาษีประชาชน/บริษัท/ห้างร้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
  • 27.86% ระบุว่า ตัดทอนงบประมาณ ที่ไม่จำเป็นจากกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ
  • 25.73% ระบุว่า กู้เงินจากต่างประเทศ
  • 21.15% ระบุว่า ใช้เงินคงคลัง และเงินสำรองระหว่างประเทศของไทย
  • 18.55% ระบุว่า กวาดล้างการทุจริต เพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอ ที่จะทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้
  • 14.27% ระบุว่า กู้เงินจากในประเทศ
  • 3.82% ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

แจกเงิน-สวัสดิการ

ผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหาย หากการดำเนินตามนโยบายแจกเงิน หรือจัดสวัสดิการต่าง ๆ ของแต่ละพรรคการเมืองก่อให้เกิดปัญหาทางการคลัง และหนี้สาธารณะ

  • 44.35% ระบุว่า พรรคการเมืองที่คิด และดำเนินการตามนโยบายเหล่านี้
  • 41.68% ระบุว่า นักการเมืองที่คิด และดำเนินการตามนโยบายเหล่านี้
  • 39.47% ระบุว่า ประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในคราวนี้
  • 14.43% ระบุว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งที่ไม่หาทางป้องกัน
  • 9.62% ระบุว่า ข้าราชการประจำที่ทำงานรับใช้พรรคการเมืองในการดำเนินนโยบายเหล่านี้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo