General

ภัยไซเบอร์ 3 ประเภทยอดฮิต ที่คนไทยถูกหลอกมากที่สุด

เช็กให้ดีถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อ ภัยไซเบอร์ 3 ประเภทยอดฮิต ที่คนไทยถูกหลอกมากที่สุด และ 18 ข้อ กลโกง “มิจฉาชีพ” ที่มักใช้ในการหลอกเหยื่อ บนโลกออนไลน์ มีอะไรบ้าง?

หากพูดถึงภัยไซเบอร์ เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินข่าวการโจมตีสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจต่าง ๆ หรือหน่วยงานภาครัฐมาบ้างแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้นมิจฉาชีพแฝงตัวอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ นับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น จากการใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัล หลายคนหลวมตัวตกเป็นเหยื่อ เพราะเหล่ามิจฉาชีพต่างก็งัดกลเม็ดมาหลอกได้อย่างแนบเนียน ภัยไซเบอร์อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ซึ่งภัยไซเบอร์ใกล้ตัวแต่ละประเภทที่ควรรู้ และวิธีรับมือเพื่อป้องกันตนเองจากภัยที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้

ถูกหลอก

ภัยประเภทที่ 1  มิจฉาชีพบน Social Media

วิธีรับมือและป้องกัน

  1. อย่าหลงเชื่อข้อความผ่านแชทเพื่อขอให้โอนเงินหรือขอข้อมูลใด ๆ หาก ผู้ส่งข้อความเป็นเพื่อน ควรติดต่อเพื่อนโดยตรงผ่านช่องทางอื่นเพื่อยืนยัน ตัวตนและจุดประสงค์ก่อน
  2. ควรตรวจสอบสลิปโอนเงิน และชื่อผู้รับให้มั่นใจก่อนยืนยันการโอนเงิน ทุกครั้ง

ภัยประเภทที่ 2 : อีเมลหลอกลวง (Phishing)

วิธีรับมือและป้องกัน 

หากได้รับอีเมลต้องสงสัยให้ “คิด” ก่อน “คลิก” ควรตรวจสอบผู้ส่ง เนื้อหาและลิงก์ภายในอีเมลโดยละเอียดก่อนตอบกลับหรือให้ข้อมูลใด ๆ ทุกครั้ง

ภัยประเภทที่ 3 : การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Data Theft)

วิธีรับมือและป้องกัน 

  1. ไม่ให้ข้อมูลสำคัญกับเว็บไซต์หรือบริการใด ๆ หากไม่จำเป็น
  2. หมั่นติดตามข่าวสารด้าน Cybersecurity อย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ามีข่าวเว็บไซต์หรือบริการที่ท่านใช้งานอยู่ถูกขโมยข้อมูลไป ควรรีบเปลี่ยนรหัสผ่านหรือดำเนินการต่าง ๆ เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เช่น อายัดบัตรเครดิตทันที

จะเห็นได้ว่าภัยไซเบอร์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ และอาจส่งผลกระทบต่อตัวเราครอบครัว และองค์กรได้โดยไม่ทันตั้งตัว ดังนั้น เราจึงต้องตระหนักรู้และเท่าทันภัยไซเบอร์ตลอดเวลาโดยติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ การอัปเดตอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่ออุดช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน

ภัยไซเบอร์

 

นอกจากนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้อัพเดทข้อมูล ถึง 18 ข้อ กลโกง “มิจฉาชีพ” ที่มักใช้ในการหลอกเหยื่อ บนโลกออนไลน์ เพื่อจะได้รับเท่าทัน และป้องกันตัวเองได้อย่างดี ดังนี้

1.หลอกขายสินค้าออนไลน์

  • คดีหลอกลวงทางออนไลน์อันดับหนึ่ง ส่วนใหญ่เปิดเพจใหม่และมักอ้างของดีราคาถูกเกินจริง , จะปิดโรงงาน หรืออ้างชื่อเน็ตไอดอลควรตรวจสอบเพจขายสินค้า/บัญชีธนาคาร ก่อนโอนเงิน

2.หลอกให้ทำงานเสริมผ่านออนไลน์

  • คดีหลอกลวงทางการเงินอันดับหนึ่ง/ค่าเสี่ยหายสูง โดยส่งข้อความชักชวนทำงานหารายได้พิเศษผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แค่กดไลท์ กดแชร์ หรือสต๊อก(ลม)สินค้า ก็มีรายได้ โปรดระวัง ไม่มีงานเสริมออนไลน์ที่ได้เงินง่ายๆ และต้องโอนเงินไปก่อน

3.หลอกกู้เงินออนไลน์

( เงินกู้ทิพย์ )

  • สร้างเว็บไซด์ปลอม หลอกให้โอนเงินค้ำประกัน ค่าธรรมเนียมก่อนกู้ ควรตรวจสอบข้อมูลผู้ได้รับอนุญาตกับธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อน (https://www.bot.or.th)

( ดอกเบี้ยโหด )

  • ได้เงินจริง แต่บังคับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์ แล้วติดตามทวงเงินจากลูกหนี้และคนรู้จักด้วยการข่มขู่ หรือสร้างความร่ำคาญ

4.ข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัว ( Call Center )

  • โทรมาอ้างเหตุว่าเกี่ยวข้องกับผู้เสี่ยหาย เช่น พัสดุตกค้าง โทรศัพท์จะถูกตัด มีใบสั่งจราจรฯลฯ แล้วโอนสายให้ตำรวจปลอม ข่มขู่ว่ากระทำผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน และหลอกให้โอนเงินไปตรวจสอบ ตั้งสติเราไม่เคยกระทำผิด ไม่เชื่อ ไม่โอนตำรวจ หรือ เจ้าหน้าที่รัฐจริงจะไม่มีการให้โอนเงินไปตรวจสอบ

5.หลอกให้ลงทุนในรูปแบบต่างๆ

  • สร้างข้อมูลปลอมทางการเงิน ชักกชวน ใช้เงินทำงานสร้างรายได้ โดยลงทุนเทรดเงินดิจิกัล เงินตราต่างประเทค(forex) ทอง น้ำมัน ฯลฯ พึงระวังการลงทุนมีความเสี่ยง แต่ผู้หลอกลวงมักอ้างได้กำไรตลอด

6.หลอกให้รักแล้วลงทุน

  • โดยปลอมแปลง PROFILE เป็นบุคคลหน้าตาดี เข้ามาตีสนิทจาก APP หาคู่ /หรือบัญชีออนไลน์ สอนให้ลงทุน แล้วหลอกให้ลงทุนใน APP หรือโปรแกรมลงทุนปลอม เช่น เทรดหุ้นปลอม เงินดิจิทัลปลอม สกุลเงินปลอม ทองคำทิพย์ เป็นต้น

มิจฉาชีพ

7. หลอกให้รักแล้วโอนเงิน / หรือยืมเงิน

  • โดยปลอม PROFILE เป็นบุคคลหน้าตาดี ทำความรู้จักผ่านบัญชีออนไลน์ ตีสนิทหลอกให้รัก ทำทีจะส่งทรัพย์สินมาให้จากต่างประเทศ แต่สุดท้าย ลวงเอาเงินค่าธรรรมเนียมต่าง ๆ หรือ หลอกให้โอนเงิน โดยอ้างว่าจะคืนให้หลายเท่าตัว

8.ปลอม /หรือ HACK บัญชี LINE / Facebook แล้วมาหลอกยืมเงิน

  • คนร้ายหลอกเอารหัสเพื่อเข้ายึดบัญชีไลน์/เฟสบุ๊ก แล้วส่งข้อความยืมเงินจากคนที่รู้จัก หรือโทรอ้างว่าเป็นบุคคลที่รู้จักเพื่อยืมเวิน อย่าโอนเงินเข้าบัญชีผู้อื่น เพื่อนยืมเงินต้องโอนเข้าบัญชีเพื่อน หรือตรวจสอบโทนหาเพื่อนที่ไลน์ หรือเบอร์เดิม

9. แชร์ลูกโซ่

  • สร้างเรื่องราวทางธุรกิจที่ได้กำไรเกินจริง ต่ไม่มีจริง เน้นหาสมาชิกใหม่มาลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง อย่าเชื่อเพียง คำโอ้อวดของผู้ชักชวน ต้องหาข้อเท็จจริงที่มาของกำไรของบริษัทก่อนลงทุน

10.การพนันออนไลน์

  • โฆษณาชักชวน เล่นการพนันออนไลน์ เล่นง่ายรวยเร็ว ชื่อตรงปลอดภัย ผิดกฎหมาย ไม่มีใครรวยจากการพนัน เข้าข่าย ฟอกเงินและถูกยึดทรัพย์

11.หลอกให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ทางไกล (เพื่อขโมยข้อมูล)

  • หลอกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่รัฐอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบ หลอกให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมทางไกล TeamViewer หรืออื่นๆ ขโมยข้อมูลบัญชีเงินฝาก การติดตั้งโปรแกรมที่ไม่รู้จัก เป็นอันตรายต่อโทรศัพท์และข้อมูลทางการเงิน รหัสทุกอย่างเป็น “ความลับ” อย่ให้กับคนอื่น

12.ส่ง QR Code หลอกให้โอนเงิน

  • โดยคนร้ายอ้างว่า จะคืนค่าสินค้า โดยหลอกให้เหยื่อสแกน QR Code ซึ่งเป็นการโอนเงินให้แก่คนร้าย บางกรณี จะเป็นการให้กรอกข้อมูลบัญชีธนาคารของท่าน และรหัสผ่านเพื่อขโมยเงินของท่าน (เหยื่อ)

มิจฉาชีพ

13. ฉ้อโกงรูปแบบอื่นๆ

  • โดยหลอกลวงด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ให้ท่านโอนเงินให้คนร้าย เช่น ผู้โชคดีได้รับรางวัล ได้ซื้อสินค้าราคาพิเศษ ได้โรงแรมที่พักฟรี ได้สิทธิ์พิเศษต่าง ๆ เป็นต้น แต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมก่อนล่วงหน้าให้คนร้าย ซึ่งแอบอ้างเป็นหน่วยงาน เช่น ธนาคาร การไปรษณีย์ กรมศุลกากร เป็นต้น โดยส่ง LINK ปลอม เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล  ขโมยเลขที่บัญชีธนาคาร รหัส Password เป็นต้น

14) โฆษณาเชิญชวนไปทำงานต่างประเทศ

  • หลอกให้หลบหนีออกนอกประเทศ บังคัมกักขังให้ทำงานผิดกฎหมาย ใช้แรงงานไม่เป็นธรรมเยี่ยงทาส ศึกษาข้อมูลการเดินทางไปทำงาน ต่างประเทศได้ที่เว็บไซต์ www.doe go.th/ overseas หรือสอบถามข้อมูลสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694

15.หลอกลวงให้ถ่ายภาพโป๊เปลือย

  • หลอกลวงให้ถ่ายภาพเปลือยโดยอ้างว่านำไปรีวิวสินค้า ถ่ายแบบ เพื่อแลกกับเงินเล็กน้อย แต่กลับนำภาพไปข่มขู่เพื่อเรียกเงิน การถ่ายภาพนิ่ง/เคลื่อนไหวผ่านสื่อออนไลน์ทุกชนิด คนร้ายสามารถบันทึกข้อมูลได้

16. ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร ( บัญชีม้า )

  • รับจ้างเปิดบัญชีให้คนร้าย เท่ากับร่วมมือกระทำผิดกับคนร้ายที่นำบัญชีไปใช้ ระวัง ทั้งติดคุกฟรีและถูกยึดทรัพย์ หากบัญชีถูกนำไปใช้ฉ้อโกงประชาชน หรือคดีมูลฐานฟอกเงิน

17. ข่าวปลอม ( Fake News )

  • เผยแพร่หรือแชร์ข่าวจากแหล่งข่วที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือข้อความที่ส่งต่อกันในสื่อสังคมออนไลน์ ชัวร์ ก่อน แชร์ ตรวจสอบข้อมูล ได้ที่

18. เรียกค่าไถ่ทางคอมพิวเตอร์ ( Ransomware)

  • มิจฉาชีพหลอกแนบไฟล์หรือลิงก์ติดตั้งไวรัลมากับอีเมล์ หรือในโปรแกรมที่ละเมิดสิขสิทธิ์ เมื่อโหลดมาใช้ ข้อมูลในเครื่องจะถูกล็อกใช้งานไม่ได้ ต้องจ่ายเงินเพื่อปลดล็อก อย่าโหลดไฟล์ที่ไม่รู้จัก สำรองข้อมูลไว้นอกเครื่องเป็นประจำ ตรวจสอบก่อนเปิดไฟล์ หรือ เอกสารแนบ

มิจฉาชีพ

 

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo