General

เอาจริง!! ‘ไออาร์พีซี’ โดดจับมือกทม.แก้ปัญหาขยะล้นเมือง

ตอนนี้คนไทยผลิตขยะ 1 กก.ต่อคนต่อวัน แต่ละวันประเทศไทยเกิดขยะชุมชนราว 75,046 ตันต่อวัน ในปี 2560 เฉพาะในกทม.มีขยะเกิดขึ้นวันละ 10,500 ตัน ปี 2562 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 10,700 ตันต่อวัน

1F9E33B3 C7C2 43A8 82B4 44B5EE237818

โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยว ที่มีอาหารริมทาง (Street Food) ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชิม อาทิ ข้าวสาร เยาวราช ขยะก็เพิ่มตามไปด้วย โดยเฉพาะเศษอาหาร จนปริมาณถังขยะไม่พอ หรือมีการทิ้งไม่ถูกวิธี หลายจุดถูกทิ้งเรี่ยราด น้ำไหลเป็นทางส่งกลิ่นเหม็น แถมขยะบางส่วนไหลไปอุดตันในท่อระบายน้ำ

ที่ผ่านมากทม.เลยออกแบบทำคอกกั้นขยะ หวังให้ประชาชนทิ้งในคอก เป็นที่เป็นทางราว 571 จุดในจุด ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่คอกกั้นขยะก็ไม่ตอบโจทย์เท่าใดนัก เพราะเป็นโครงทำจากพลาสติก เขตไหนมีงบก็ทำ และไม่แข็งแรงเพียงพอ แถมสุนัขมาคุ้ยเขี่ยบ่อยๆ ปริมาณขยะก็ล้นออกไปนอกคอกกั้น

T18CT60ObSbLrsQ6l7ZwVdR0aUbwKehRWxGBOwYk5fhoBEnXsU6iyNj
สุกฤตย์ สุรบถโสภณ

เมื่อเป็นอย่างนี้ สุกฤตย์ สุรบถโสภณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ซึ่งบ้านอยู่ย่านยานนาวา เห็นตำตาทุกวัน ทนไม่ได้ต้องลุกไปพูดคุยกับกทม. และเสนอทำโครงการสนับสนุน เพื่อให้ไออาร์พีซีเป็นส่วนหนึ่งของการรับผิดชอบต่อสังคมในการแก้ปัญหาขยะ

และไม่นานโครงการก็เป็นรูปธรรม โดยไออาร์พีซี ร่วมกับกทม.จัด “ประกวดออกแบบคอกกั้นขยะพับได้” ประกาศโครงการไปเมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา  สุกฤตย์ บอกว่า “คอกกั้นขยะต้องเป็นแบบที่เหมาะสม แข็งแรง ไม่ทำให้เศษอาหารไหลออกไปนอกคอกกั้น และพับเก็บได้ ผูกติดกับเสาไฟฟ้า เพื่อไม่ให้แกะกะ  ซึ่งไออาร์พีซีได้วางงบไว้สำหรับผลิตคอกกั้นให้ กทม. 5 ล้านบาท น่าจะทำได้ราว 500 ชิ้น ไปเสริมกับของกทม. และอยากจะเชิญชวนหน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆมาร่วมกันสนับสนุนด้วย เพื่อเพิ่มจำนวนคอกกั้นให้ครอบคลุมทุกจุด”

นายชาตรี วัฒนเขจร ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. บอกว่า ปีที่ผ่านมากทม.ได้ทำโครงการ “ทิ้งเป็นที่เก็บเป็นเวลา” หนึ่งในโครงการตามนโยบาย NOW  “ทำจริง เห็นผลจริง” ด้วยการกำหนดจุดทิ้งขยะบนถนนสายหลัก สายรอง ชุมชน และริมคลอง

โดยติดป้ายรายละเอียด วัน เวลาทิ้งขยะ และเวลาเข้าจัดเก็บที่ชัดเจน รวมทั้งจัดทำคอกกั้นขยะในถนนสายหลัก รองรับขยะที่ประชาชนรวบรวมมาทิ้งอย่างเป็นระเบียบ โดยเฉพาะในพื้นที่ Street Food ที่มีประชาชน และนักท่องเที่ยวใช้บริการจำนวนมาก ทำให้ปริมาณถังขยะไม่เพียงพอ หรือทิ้งไม่ถูกวิธี

char1
ชาตรี วัฒนเขจร

กทม.จึงร่วมกับไออาร์พีซี ทำคอกกั้นขยะพับได้จากพลาสติกรักษ์โลกตามแบบที่เหมาะสม โดยมีการ “ประกวดออกแบบคอกกั้นขยะพับได้” ขึ้น เปิดให้นักเรียน นักศึกษาประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้ามาเพื่อให้เราคัดเลือกแบบที่ดีที่สุด นำไปผลิตใช้งานได้จริง เงินรางวัล 100,000 บาท

สำหรับการแก้ปัญหาขยะล้นเมือง กทม.ดำเนินการในหลายรูปแบบมาโดยตลอด และเน้นการรณรงค์คัดแยกขยะมาระยะหนึ่งแล้ว  และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ กทม.และพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ จะเริ่มแยกขยะ เป็น 2 ประเภทก่อน โดยแจกถัง 2 สี ไปตามชุมชนต่างๆ สีน้ำเงิน สำหรับขยะทั่วไป และสีเหลือง สำหรับขยะรีไซเคิล และในปี 2563 จะไปสู่การแยกเป็น 4 สี 4 ถัง ตามประเภทขยะที่จะแยกออกเป็น 4 ประเภท

  • สีน้ำเงิน เป็นขยะทั่วไป
  • สีเหลือง เป็นขยะรีไซเคิล
  • สีเขียว เป็นขยะอินทรีย์
  • สีส้ม เป็นขยะอันตราย

โดยจะทำพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งรถเก็บขยะ ก็จะแยกสีให้ประชาชนเห็นเช่นเดียวกัน และอนาคตจะต้องออกแบบรถขยะใหม่ เพื่อความชัดเจนในการแยกขยะจากครัวเรือน เพื่อเคลียร์ความเข้าใจใหม่ว่า “แยกจากบ้าน แต่ไปรวมที่รถเก็บขยะ” และจะนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป สำหรับขยะอินทรีย์ เรามีแนวทางที่จะให้แต่ละเขตไปจับมือกับ โรงเรียน วัด ร้านอาหาร โรงแรม เพื่อนำไปทำแปรรูปทำเป็นอาหารสัตว์ต่อไป ขณะเดียวกันจะมีตัวชี้วัดผลงานของแต่ละเขต ปริมาณขยะของแต่ละเขตต้องไม่เพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นให้นำขยะไปใช้ประโยชน์ หรือแปรรูป

243913

ขณะเดียวกันขอเชิญชวนประชาชน แยกขยะใส่ถุงไว้ และทำสัญลักษณ์ เขียนบอกว่าเป็นขยะประเภทอะไรก็ได้ ให้ กทม.นำไปกำจัดได้ถูกวิธีต่อไป

“ปริมาณขยะอาจไม่ได้ลดลงเสียทีเดียว เพราะประชากรเพิ่มขึ้น นักท่องเที่ยวก็เยอะขึ้น โดยเฉพาะกทม. ขอเพียงแต่อัตราเพิ่มของขยะชะลอลง เพราะเราช่วยกันคัดแยก และนำไปทำให้เกิดประโยชน์ ในส่วนกทม.ที่ดำเนินโครงการต่างๆที่ผ่านมา พบว่า สามารถลดปริมาณการเพิ่มขึ่้นของขยะได้อย่างดี เช่น ในปี 2562 ปริมาณขยะคาดว่าจะเพิ่มเป็น 13,000 ตันต่อวันเหลือ 10,700 ตันต่อวัน”

สำหรับนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่ต้องการช่วยกันออกแบบคอกกั้นขยะ สามารถดาวโหลดใบสมัครด้วยการสแกน QR Code หรือ ดาวน์โหลดผ่านทางเว็บไซด์ www.irpc.co.th ตั้งแต่ 11 กุมภาพันธ์ ถัง 15 มีนาคม 2562 โดยส่งผลงานออกแบบ พร้อมการนำเสนอ อธิบาย แนวคิด ในการออกแบบ และวิธีการในการใช้งานให้ชัดเจน พร้อมส่งไฟล์ต้นฉบับ ได้ทางอีเมล : [email protected] สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.irpc.co.th หรือ โทร 02-765-7900

Avatar photo