General

กอนช.แจ้งเตือนพื้นที่เฝ้าระวัง น้ำหลาก-ดินถล่ม 29 – 31 ส.ค. 65

กอนช.แจ้งเตือนพื้นที่เฝ้าระวัง น้ำหลาก-ดินถล่ม 29 – 31 ส.ค. 65 ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิด และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 ส.ค. 65 ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิด และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ชุมพร (82 มม.) จ.ตาก (61 มม.) และ จ.ชลบุรี (50 มม.)

ดินถล่ม

แจ้งเตือนน้ำหลาก-ดินถล่ม

เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำชีล้นตลิ่ง ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 29 – 31 ส.ค. 65
เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำมูลล้นตลิ่ง ในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ได้แก่ อ.ราษีไศล ยางชุมน้อย อุทุมพรพิสัย เมืองศรีสะเกษ และกันทรารมย์
  • เขื่อนเเควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก ปรับเพิ่มการระบายน้ำ จาก 200 ลบ.ม./วินาที เป็น 220 ลบ.ม./วินาที อาจส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย
  • เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันได จากวันละ 15 ล้าน ลบ.ม. เป็นวันละ 25 ล้าน ลบ.ม. อาจส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในแม่น้ำพองและแม่น้ำชี
  • เขื่อนลำตะโคง จ.บุรีรัมย์ ระบายน้ำประมาณ 167 ลบ.ม./วินาที จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ลุ่มต่ำบางแห่ง ประมาณ 1,100 ไร่

ปริมาณน้ำทั่วประเทศ

แหล่งน้ำทุกขนาด 51,691 ล้าน ลบ.ม. (63%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 45,114 ล้าน ลบ.ม. (63%) เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วลม แควน้อย ป่าสักชลสิทธิ์ อุบลรัตน์ น้ำพุง ขุนด่านปราการชล หนองปลาไหล บางพระ และบึงบระเพ็ด
น้ำหลาก

แนวทางบริหารจัการน้ำ 

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการบริหารจัดการน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น และเขื่อนลำตะโคง จ.บุรีรัมย์
เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ควบคุมระดับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ให้เป็นไปตามเกณฑ์ควบคุม และมีช่องว่างเพียงพอสำหรับรองรับน้ำใหม่จากปริมาณฝนที่คาดว่าจะมีเพิ่มในช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ โดยเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันได จากอัตราการระบายน้ำวันละ 15 ล้าน ลบ.ม. เป็นวันละ 25 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันเขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำ 1,283 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 52% ของความจุ ระดับน้ำในอ่างสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมน้ำสูงสุด 1.51 เมตร หรือ 348 ล้าน ลบ.ม. ยังเหลือความจุรองรับน้ำได้อีก 1,148 ล้าน ลบ.ม.
ดินถล่ม
เขื่อนลำตะโคง จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 65 หลังฝนที่ตกหนักในพื้นที่ทำให้เกิดการกัดเซาะของน้ำบริเวณรอยต่อของทำนบดินกับตัวอาคารระบายน้ำล้นฝั่ง จนเกิดการทะลุออกทำนบดินด้านท้าย ซึ่งน้ำได้กัดเซาะบริเวณฐานรากใต้พื้นอาคารระบายน้ำล้นฝั่งขวา ทำให้ตัวฝายและกำแพงด้านข้างฝั่งขวาของอาคารระบายน้ำล้นเกิดการชำรุดเสียหาย กรมชลประทาน (ชป.) ได้ทำกาลักน้ำเพื่อช่วยเพิ่มการระบายน้ำ จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือประจำในพื้นที่ พร้อมเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง และตรวจสอบสภาพเขื่อน ก่อสร้างทำนบชั่วคราว (Coffer Dam) โอบล้อมบริเวณอาคารที่ชำรุดเสียหายและบริเวณตัวคันดินฝั่งขวาที่ถูกน้ำกัดเซาะ เพื่อเก็บกักน้ำบางส่วนไว้ใช้ในฤดูแล้งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 65 ทั้งนี้ ชป. จะเร่งรัดซ่อมแซมเขื่อนให้แข็งแรงสมบูรณ์ก่อนถึงฤดูฝนปีหน้าต่อไป
อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo