General

อัพเดท ‘ไวรัสฝีดาษลิง’ เจอแล้ว 10 สายพันธุ์ย่อย ‘WHO’ จัด 3 กลุ่มตามอาการโรค

ศูนย์จีโนมฯ อัพเดทการกลายพันธุ์ของไวรัสฝีดาษลิง ล่าสุดพบ 10 สายพันธุ์ย่อย ระบาดนอกทวีปแอฟริกา องค์การอนามัยโลกแบ่ง 3 กลุ่มตามอาการ

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics เรื่อง การกลายพันธุ์ของไวรัสฝีดาษลิง ที่ระบาดนอกทวีปแอฟริกา โดยระบุว่า

ไวรัสฝีดาษลิง

ไวรัสฝีดาษลิง ที่มีการระบาดนอกทวีปแอฟริกาในปี 2565 ซึ่ง WHO จัดให้อยู่ในเคลด IIb ได้มีการกลายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็วถึง 10 สายพันธุ์ย่อย (lineage) คือ A, A.1,A.1.1,B.1,B.1.1, B.1.2, B.1.3, B.1.4,B.1.5, และ A.2

คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานของไวรัส (the International Committee on the Taxonomy of Viruses: ICTV) กำลังดำเนินการตั้งชื่อไวรัสฝีดาษลิง และไวรัสฝีดาษในสัตว์อื่น ๆ

ในส่วนขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระหว่างรอการตั้งชื่อไวรัสฝีดาษลิงอย่างเป็นทางการจาก ICTV ได้ทำการแบ่งกลุ่มหรือเคลด (clade/variant) ของไวรัสฝีดาษลิงตามอาการโรค และการกลายพันธุ์ที่ปรากฏจากการถอดรหัสพันธุกรรม เสร็จเป็นที่เรียบร้อยและมีผลนำไปใช้ได้ทันที ดังนี้

กลุ่มไวรัส

กลุ่มไวรัสที่ 1 (clade I) พบระบาดบริเวณลุ่มน้ำคองโก (แอฟริกากลาง) มีความรุนแรงของโรคสูง อัตราการตายในบางพื้นที่สูงถึง 10% แพร่ระบาดระหว่างสัตว์สู่คน กลายพันธุ์ในอัตราต่ำ

กลุ่มไวรัสที่ 2a (clade IIa) พบระบาดบริเวณแอฟริกาตะวันตก มีความรุนแรงของโรคต่ำ อัตราการตาย <1%
แพร่ระบาดระหว่างสัตว์สู่คน ในทุกชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย ล้วนมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อฝีดาษลิง พบติดเชื้อในชาย 60% ในหญิง 40%

พบการระบาดระหว่างคนสู่คนในวงจำกัด และสงบลงอย่างรวดเร็ว กลายพันธุ์ในอัตราต่ำ-ปานกลาง

กลุ่มไวรัส1

กลุ่มไวรัสที่ 2b (clade IIb) ระบาดในปี 2022 นอกทวีปแอฟริกา ส่วนใหญ่พบในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย มีความรุนแรงของโรคต่ำ อัตราการตาย <1% จีโนมมีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก กลุ่มไวรัสที่ 1 (clade I) และกลุ่มไวรัสที่ 2 (clade II) มากกว่า 46 ตำแหน่ง

เนื่องจากเอนไซม์มนุษย์ที่สร้างจากยีน APOBEC3  ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันไวรัสเข้ามารุกรานเซลล์ โดยเอนไซม์ดังกล่าว จะกระตุ้นให้จีโนมไวรัสมีกลายพันธุ์ในลักษณะจำเพาะ (TT เปลี่ยนเป็น TA หรือ GA เปลี่ยนเป็น AA) จนทำให้จีโนมเสียหายไม่อาจเพิ่มจำนวนไวรัสได้

ส่วนไวรัสที่เหลือรอดก็จะปรากฏเสมือนแผลเป็น (TT เปลี่ยนเป็น TA หรือ GA เปลี่ยนเป็น AA) บนสายจีโนม
แพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนอย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มของชายรักชายถึง 99%

กลุ่มไวรัส2

โครงการโอเพนซอร์ซ เน็กซ์สเตรน (Nextstrain) ซึ่งนำข้อมูลจีโนมของไวรัส ฝีดาษลิง มาวิเคราะห์เพื่อความสัมพันธ์ของแต่ละสายพันธุ์ย่อย (lineage) พบว่า กลุ่มไวรัส ฝีดาษลิง (clade) IIb หรือ hMPXV-1 ซึ่งระบาดในคนสู่คนในปี 2565 ได้มีการกลายพันธุ์เกิดเป็น 10 สายพันธุ์ย่อย (lineage) คือ A, A.1,A.1.1,B.1,B.1.1, B.1.2, B.1.3, B.1.4,B.1.5, และ A.2

โดยมีตำแหน่งการกลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์หลัก (reference sequence) NC_063383 (MPXV-M5312_HM12_Rivers ดังนี้

กลุ่มไวรัส3

  • clade I nuc 86502 T
  • clade I nuc 35352 A
  • clade II nuc 86502 G
  • clade II nuc 150970 A
  • clade II nuc 35352 C
  • clade IIa clade clade II
  • clade IIa nuc 54013 G
  • clade IIb clade clade II
  • clade IIb nuc 48148 C
  • A clade IIb
  • A nuc 48527 A
  • A nuc 19367 T
  • A.2 clade A
  • A.2 nuc 34472 T
  • A.1 clade A
  • A.1 nuc 83326 T
  • A.1.1 clade A.1
  • A.1.1 nuc 34459 A
  • B.1 clade A.1.1
  • B.1 nuc 77383 A
  • B.1.1 clade B.1
  • B.1.1 nuc 74360 A
  • B.1.2 clade B.1
  • B.1.2 nuc 186165 A
  • B.1.3 clade B.1
  • B.1.3 nuc 190660 A
  • B.1.4 clade B.1
  • B.1.4 nuc 34308 A
  • B.1.5 clade B.1
  • B.1.5 nuc 70780 T

ยังไม่มีข้อมูลทางคลินิกที่ชัดเจนของแต่ละสายพันธุ์ย่อย (lineage) ถึงการแพร่ระบาดและอาการความรุนแรงของโรค

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo