General

‘หมอมานพ’ รีวิววัคซีนฝีดาษลิง จากอดีตถึงปัจจุบัน มีแบบไหนบ้าง เผื่อต้องใช้ในอนาคต

“หมอมานพ” รวมข้อมูลวัคซีนฝีดาษลิง ตั้งแต่วัคซีนชนิดแรกของโลก จนถึงชนิดที่ใช้ในปัจจุบัน วิธีการพัฒนา อาการหลังฉีด เตรียมพร้อมเผื่อต้องใช้ในอนาคต

ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะ​แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ manopsiชวนทำความรู้จักวัคซีนฝีดาษลิง ที่ใช้ตั้งแต่ชนิดแรกจนถึงปัจจุบัน โดยระบุว่า

วัคซีนฝีดาษลิง

มารีวิวเกี่ยวกับวัคซีน monkeypox/smallpox กันดีกว่า รู้ไว้ก่อนเผื่อต้องใช้ในอนาคตกันครับ

Smallpox vaccine เป็นวัคซีนเชื้อเป็น (live vaccine) ที่อาศัยการกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อนี้ในการป้องกันโรค ถือเป็นวัคซีนชนิดแรกของโลก จากการพัฒนาของ Edward Jenner

วัคซีนรุ่นแรกของ Edward Jenner ปี 1796 ใช้ cowpox virus ซึ่งเป็น Poxvirus ตระกูลเดียวกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Variolae vaccinae (vaccinae เป็นคำละตินแปลว่าวัว) เป็นที่มาของคำว่า vaccine และ vaccination จนถึงปัจจุบัน

วัคซีนระยะถัดมาเปลี่ยนไปใช้ Vaccinia virus เป็นเชื้อหลัก

Smallpox vaccine ที่ทำจาก vaccinia รุ่นแรกใช้การเลี้ยงเชื้อในวัว แล้วแยกเชื้อออกมาทำให้บริสุทธิ์ จากนั้นเก็บในรูปแบบผงแห้งแช่เย็น (freeze dried) รู้จักกันดีในชื่อ Dryvax วิธีบริหารวัคซีนใช้เข็มแฉกจุ่มวัคซีนที่ละลายน้ำแล้วปัก ๆ ๆ บนผิวหนัง

เข็ม

ถ้าวัคซีนได้ผล ภายใน 1 สัปดาห์ จะเห็นผิวบริเวณปักเข็มขึ้นตุ่มหนอง จากนั้นแห้งลงเป็นสะเก็ดแล้วหลุดไปเหลือแผลเป็นเล็ก ๆ ใน 3 สัปดาห์ ผลข้างเคียงพบบ่อยคือ ไข้ (อาจมีไข้สูงได้) ปวดเมื่อยตามตัว บางรายอาจมีเยื่อหุ้มสมอง หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้

วัคซีนรุ่นถัดมาเป็นการพัฒนาเชื้อ vaccinia ให้อ่อนฤทธิ์ และสามารถเลี้ยงในเซลล์เพาะเลี้ยงในแลปได้ พัฒนาโดยบริษัท Sanofi ชื่อ ACAM2000 โดย US นำมาทดแทน Dryvax ตั้งแต่ 2007 การบริหารวัคซีนยังใช้เข็มแฉกปักผิว ทำให้เกิดตุ่มหนอง ปัจจุบันผลิตสำรองเพื่อ biodefense เป็นหลัก

ACAM2000 ที่มีสำรองอยู่ในโลกนี้เกือบทั้งหมดอยู่ที่ US ราว 200 ล้าน doses เข้าใจว่าตอนนี้รัฐกำลังทยอยแจกจ่ายเพื่อฉีดในรัฐ/เมืองที่พบการระบาดของ monkeypox มาก

วัคซีนรุ่นล่าสุดคือ Jynneos/Imvanex เป็น non-replicating vaccinia รุ่นนี้บริหารโดยการฉีดคล้ายวัคซีนทั่วไป ต้องฉีด 2 เข็ม

วัคซีน 5

ข้อดีของ Jynneos คือวัคซีนนี้ไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ vaccinia (ไม่เกิดตุ่มหนอง) จึงมีความปลอดภัยสูงกว่า ผลข้างเคียงต่ำกว่า สามารถใช้ในคนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ แต่ข้อเสียคือต้องฉีด 2 เข็มจึงจะครบ และผลิตโดยบริษัท Bavarian Nordic ของเดนมาร์กเพียงแห่งเดียว มีความต้องการสูง

วัคซีนอีกชนิดที่พัฒนาจากญี่ปุ่นคือ LC16m8 ซึ่งปรับปรุง Vaccinia Lister strain จากวัคซีนรุ่นแรกจนเชื้ออ่อนฤทธิ์ลงมาก เชื่อว่ามีความปลอดภัยใกล้เคียง Jynneos แต่ยังอาศัยการฉีดคล้าย Dryvax/ACAM2000 ให้เกิดตุ่มหนอง มีข่าวว่าญี่ปุ่นสำรองวัคซีนนี้ไว้ราว 50 ล้าน doses

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo