General

สธ.ให้รพ.รับตัวผู้เข้าข่าย ‘ฝีดาษลิง’ ทุกรายแอดมิทเป็นผู้ป่วยใน

สธ.ให้รพ.รับตัวผู้เข้าข่ายฝีดาษลิงทุกรายเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน (แอดมิท) ระหว่างรอผลจากแล็บยืนยัน 

วันที่ 28 ก.ค.65 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงข้อกำหนดแนวทางการตรวจรักษาโรค ‘ฝีดาษลิง’ ว่า กรมการแพทย์ ได้สื่อสารทำความเข้าใจกับแพทย์ทั่วประเทศ ในกรณีหากพบผู้ที่มีประวัติสงสัย และอาการเข้าข่าย เป็นโรค ‘ฝีดาษลิง’ เมื่อมาตรวจรักษาที่สถานพยาบาล ขอให้รับตัวผู้เข้าข่ายทุกรายเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน (แอดมิท) ก่อน ในระหว่างรอผลจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเมื่อยืนยันผลแล้ว อาจให้รักษาตัวต่อในโรงพยาบาล หากมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อน หรือรักษาตัวในรูปแบบ Home isolation ได้ เนื่องจากตามข้อมูล โรค ‘ฝีดาษลิง’ ส่วนใหญ่ ผู้ป่วยมักหายได้เอง ภายใน2-4 สัปดาห์
ฝีดาษลิง
นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวว่า ยาที่เตรียมไว้สำหรับรักษาผู้ป่วย โรค ‘ฝีดาษลิง’ ในตอนนี้เป็นยาที่อยู่ระหว่างการทดลองใช้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นการเตรียมตัวกรณีพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อรุนแรง ซึ่งมียาทั้งรูปแบบยารับประทาน และยาฉีด
ส่วนวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิง กรมควบคุมโรค อยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์และความจำเป็นในการนำวัคซีนมาใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษลิง
ฝีดาษลิง
อย่างไรก็ตาม โรคฝีดาษลิงเหมือนโรคติดเชื้อไวรัสทั่วไป ที่บางกรณีอาจพบอาการรุนแรงได้ ซึ่งอาจมีภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด และผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูง อาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่หากเป็นการติดเชื้อในผู้ที่แข็งแรง จะไม่ส่งผลให้ตัวเชื้อมีความรุนแรง เพียงแต่มีภาวะที่เห็นรอยตุ่มแผลตามร่างกาย
ทั้งนี้ โรคฝีดาษลิง เป็นเชื้อไวรัส ที่ผู้ป่วยสามารถหายเองได้ โดยจากรายงานในต่างประเทศ ขณะนี้พบผู้ป่วยกว่า 10,000 รายทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตเพียง 3 ราย

อาการฝีดาษลิง

อาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หลังจากนั้น 1-3 วัน จะเริ่มมีผื่นขึ้นที่หน้า ลำตัว แล้วลามออกไปที่แขนขา โดยผื่นจะเห็นเด่นชัดมากที่บริเวณหน้า และแขน ขา

อาการดังกล่าวจะอยู่ราวๆ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก ซึ่งในประเทศแอฟริกาพบอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10%

ลักษณะผื่นแบ่งตามระยะดังนี้

  • เริ่มจาก ผื่นนูนแดง (Maculopapular)
  • ตุ่มน้ำใส(Vesicles)
  • ตุ่มหนอง (Pustules)
  • ตุ่มหนองบุ๋มตรงกลาง (Umbilicated Pustules)
  • สะเก็ด (Crusted)
  • แผลลอก

LINE ALBUM โรคต่างๆ สัตว์ ฝีดาษวานร ASF ๒๒๐๗๒๒

วิธีการป้องกันการติดเชื้อ

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด ตุ่มหนอง หรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย ละอองฝอย หรือน้ำเหลืองของสัตว์ที่ติดเชื้อ สัตว์ป่า หรือจากผู้ที่สงสัยว่าป่วยหรือมีประวัติเสี่ยงติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ โดยแยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิดไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปาก เป็นต้น
  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ สร้างจาก Modified Vaccinia Ankara-Bavarian Nordic (MVA-BN) สำหรับป้องกัน Orthopoxvirus สามารถป้องกันได้ทั้งโรคไข้ทรพิษ และโรคฝีดาษลิง ซึ่งมีประสิทธิภาพป้องกันโรคได้ถึง 85%
อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo