General

เปิดข้อสังเกต ‘อาการฝีดาษลิง’ วิธีป้องกัน หลังพบติดเชื้อรายแรกในไทย

เฝ้าระวังด่วน หลังพบฝีดาษลิงรายแรกในไทย เปิดที่มาของโรค แนะวิธีสังเกตอาการฝีดาษลิง พร้อมวิธีป้องกัน อ่านรายละเอียดที่นี่

วานนี้ (21 ก.ค. 2565) ประเทศไทยพบผ้ป่วยฝีดาษลิงรายแรกที่จังหวัดภูเก็ต ทำให้เกิดความกังวลถึงการแพร่ระบาด เนื่องจากเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้จากคนสู่คน มาทำความรู้จักโรคนี้เพื่อระวังป้องกัน

อาการฝีดาษลิง

โรคฝีดาษวานร ฝีดาษลิง (Monkeypox) คืออะไร

ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค ระบุว่า เป็นโรคสัตว์สู่คน (Zoonosis Diseases) ที่เกิดจากเชื้อไวรัส กลุ่ม Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ มี 2 สายพันธุ์ ได้แก่

  • สายพันธุ์ West African clade อาการไม่รุนแรง อัตราป่วยตายอยู่ที่ 1%
  • สายพันธุ์ Central African clade อาการรุนแรงกว่า อัตราป่วยตายอยู่ที่ 10%

สัตว์รังโรค

ยังไม่มีความรู้ที่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยเฉพาะในสัตว์ฟันแทะและลิง

การติดต่อ

  • จากสัตว์สู่คน โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง หรือแผลของสัตว์ป่วย หรือการกินสัตว์ที่ปรุงไม่สุก
  • จากคนสู่คน โดยการสัมผัสโดยตรงกับแผล หรือสารคัดหลังทางเดินหายใจของผู้ป่วย หรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า

มีการตั้งสมมุติฐานว่า โรคฝีดาษลิง อาจสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ แต่ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ

ฝีดาษลิง

นอกจากนี้ รพ.พญาไท ยังรวบรวมอาการของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง ไว้ดังนี้

อาการฝีดาษลิง

อาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หลังจากนั้น 1-3 วัน จะเริ่มมีผื่นขึ้นที่หน้า ลำตัว แล้วลามออกไปที่แขนขา โดยผื่นจะเห็นเด่นชัดมากที่บริเวณหน้า และแขน ขา

อาการดังกล่าวจะอยู่ราวๆ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก ซึ่งในประเทศแอฟริกาพบอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10%

ลักษณะผื่นแบ่งตามระยะดังนี้

  • เริ่มจาก ผื่นนูนแดง (Maculopapular)
  • ตุ่มน้ำใส(Vesicles)
  • ตุ่มหนอง (Pustules)
  • ตุ่มหนองบุ๋มตรงกลาง (Umbilicated Pustules)
  • สะเก็ด (Crusted)
  • แผลลอก

LINE ALBUM โรคต่างๆ สัตว์ ฝีดาษวานร ASF ๒๒๐๗๒๒

วิธีการป้องกันการติดเชื้อ

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด ตุ่มหนอง หรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย ละอองฝอย หรือน้ำเหลืองของสัตว์ที่ติดเชื้อ สัตว์ป่า หรือจากผู้ที่สงสัยว่าป่วยหรือมีประวัติเสี่ยงติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ โดยแยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิดไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปาก เป็นต้น
  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ สร้างจาก Modified Vaccinia Ankara-Bavarian Nordic (MVA-BN) สำหรับป้องกัน Orthopoxvirus สามารถป้องกันได้ทั้งโรคไข้ทรพิษ และโรคฝีดาษลิง ซึ่งมีประสิทธิภาพป้องกันโรคได้ถึง 85%

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo