General

ทำความรู้จัก 4 สายพันธุ์กัญชาไทย 3 สายพันธุ์ฮอตระดับโลก

หลังจาก ปลดล็อกกัญชา 9 มิถุนายน 2565 ส่งผลให้มีผู้สนใจจดแจ้งปลูกกัญชาเป็นจำนวนมาก และศึกษาเรื่องสายพันธุ์กัญชามากขึ้น โดยเฉพาะสายพันธุ์กัญชาไทย

ภญ.สิรินภรณ์ ลิ่มวงศ์ โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา โพสต์เพจเฟซบุ๊ก โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา ให้ความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์กัญชาที่ได้รับความนิยมในระดับโลกไว้อย่างน่าสนใจ โดยส่วนหนึ่ง ระบุว่า

สายพันธุ์กัญชาไทย

ปัจจุบัน กัญชาได้ถูกปลดล็อคให้สามารถใช้เป็นกัญชาทางการแพทย์ได้ในหลายประเทศทั่วโลก จึงได้มีการศึกษาอย่างจริงจัง มีองค์ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย รวมทั้งเรื่องสายพันธุ์กัญชา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกในการเลือกใช้กัญชา

ทั้งนี้ เนื่องจากกัญชาแต่ละสายพันธุ์ มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างมากมาย รวมถึงวิธีการปลูกที่แตกต่างกัน ก็จะให้สารออกฤทธิ์ที่ต่างกัน

สายพันธุ์กัญชาที่พบบ่อย 3 สายพันธุ์

1. Cannabis sativa กัญชาสายพันธุ์ไทย เติบโตได้ดีในประเทศรอบเส้นศูนย์สูตร เช่น ไทย อินเดีย จาไมกา เม็กซิโก ชอบลักษณะอากาศแบบร้อนชื้น ต้นจะสูงตั้งแต่ 1.5- 7.5 เมตร เป็นพืชไวแสง ดอกจะยาว

อย่างไรก็ตาม มักพบเชื้อรา เนื่องจากโตในสภาพแวดล้อมร้อนชื้น จึงมักพบยาฆ่าเชื่อราอยู่ในสารสกัดกัญชาที่ปลูกธรรมชาติ

ลักษณะใบเรียวยาว 5-9 แฉก กิ่งก้าวยาว กลิ่นปานกลาง มีกลิ่นปนเครื่องเทศ มี THC สูงมากและมี CBD ต่ำมาก

2. Cannabis indica จะพบบริเวณเอเชียกลางและตะวันออกกลาง ชอบที่ร่ม อาการเย็น ทั้งต้น ดอกใบจะอ้วนและเตี๊ยกว่า sativa มี CBD สูงกว่า THC

ดังนั้นจะไม่มีมึนเมา ไม่เสพติด ลดการเจ็บปวดได้ดี ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดการอับเสบ ช่วยควบคุมอาการลมซัก

3. Cannabis ruderalis มี CBD สูง และ THC ต่ำ มักนำไปผสมข้ามสายพันธุ์กับ sativa และ indica เพื่อให้ได้สารออกฤทธิ์ที่เหมาะสมกับแต่ละวัตถุประสงค์

สายพันธุ์

ในกัญชาทุกสายพันธุ์ ไม่ได้มีสารออกฤทธิ์เพียง THC กับ CBD แต่ยังพบสารออกฤทธิ์ (Cannabinoids) มากถึง 144 ชนิดและยังค้นพบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงมีสารเคมีอื่นอีกมากกว่า 450 ชนิด

สารเคมีเหล่านี้ ไม่ได้เป็นสารออกฤทธิ์โดยตรง แต่มีผลต่อคุณสมบัติอื่นของกัญชา เช่น กลิ่น รส อย่างไรก็ตาม THC และ CBD เป็นสารออกฤทธิ์ชนิดที่โดดด่วนพบมาก และมีการศึกษามากที่สุด

THC คือ สารที่มีผลต่อสมองและจิตประสาท มีฤทธิ์เสพติด ฤทธิ์ทำให้มึนเมา ลดการคลื่นไส้ อาเจียน กระตุ้นความอยากอาหาร

นอกจากนี้ THC เป็นสารออกฤทธิ์ที่เด่นในกัญชาสายพันธุ์ไทย ดังนั้น คำกล่าวที่ กัญชาไทยดีที่สุดในโลก อาจหมายถึงทำให้เมาได้มากกว่าสายพันธุ์อื่น ทำให้คิดว่ากัญชาไทยนั้น แรงกว่า สายพันธุ์อื่นนั้นเอง

ในความจริงแล้ว สารออกฤทธิ์ในกัญชามีหลายชนิด และมีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันไป เราสามารถทำการปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่เหมาะสมกับแต่ละวัตถุประสงค์ในการรักษาคนไข้

ดังนั้น การศึกษาและการใช้ประโยชน์จากกัญชาอย่างแท้จริง ต้องเริ่มต้นจากการรู้จักสายพันธุ์กัญชา จะทำให้การใช้กัญชามีประโยชน์สูงสุด พร้อมกับความปลอดภัยสูงสุด สายพันธุ์ที่เหมาะสม จะเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่ถูกต้องอย่างแท้จริง

กัญชา2

 

เปิด 4 สายพันธุ์กัญชาไทย

หนังสือชีวจิต ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์กัญชาไทย 4 สายพันธุ์ไว้ ดังนี้

กัญชาไทยหางกระรอกอีสาน

เป็นกัญชาสายพันธุ์ซาติวา (Sativa) ที่มีสาร THC (Tetrahydrocannabinol) สูงมาก จนได้รับการยกย่องให้ติดอันดับ 1 ใน 5 ของสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก

ด้วยอุณหภูมิ ภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณแสงแดดในประเทศไทย ล้วนเป็นองค์ประกอบที่เหมาะสม ทำให้สายพันธุ์หางกระรอกอีสาน พบสาร THC ปริมาณสูงที่สุดมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ

ลักษณะลำต้นสูงใหญ่ ใบมีหลายแฉกเรียวยาว ช่อดอกพุ่มยาวปลูกง่าย เหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทย

กัญชาไทยหางกระรอกก้านแดง

เป็นกัญชาสายพันธุ์ชาติวาที่มีสาร THC ปริมาณสูงมากเช่นเดียวกับพันธุ์หางกระรอกอีสาน ลักษณะ ลำต้นสูงใหญ่ กิ่ง ก้าน ใบมีหลายแฉกเรียวยาว ช่อดอกพุ่มยาวคล้ายกัญชาหางกระรอกอีสาน ต่างที่สีของลำต้น กิ่ง ก้าน และใต้ใบจะมีสีแดง

กัญชาไทยตะนาวศรี

เป็นกัญชาสายพันธุ์ซาติวาที่มีสาร THC ปริมาณสูงอีกสายพันธุ์หนึ่ง ลักษณะ ลำต้นพุ่มใหญ่ขยายออกข้าง ใบสีเขียวเข้มอวบสั้น มีแฉกน้อยกว่าสายพันธุ์หางกระรอกอีสาน ช่อดอกพุ่มใหญ่ยาว บางต้นลำต้น กิ่ง ก้านมีสีแดง จึงเรียกว่า ตะนาวศรีก้านแดง มีกลิ่นที่หอมกว่าพันธุ์ตะนาวศรีก้านเขียว และสามารถให้สารสกัดในปริมาณที่มากกว่าเกือบเท่าตัว

กัญชาไทยเพชรบุรี

เป็นกัญชาสายพันธุ์ชาติวาที่มีสาร THC ปริมาณสูงเช่นกัน ลักษณะคล้ายกับสายพันธุ์ตะนาวศรี ลำต้นเป็นพุ่มใหญ่ ขยายออกข้าง รูปทรงคล้ายตะนาวศรี ใบมีสีเขียวเข้มอวบสั้น มีแฉกน้อย และต้นเล็กกว่าสายพันธุ์ตะนาวศรี ช่อดอกพุ่มใหญ่ยาวฃ

ขอบคุณข้อมูล: โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา และ นิตยสารชีวจิต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo