General

‘ชัชชาติ’ แนะย่านพระโขนง-บางนา ใช้การจัดรูปที่ดินของญี่ปุ่น พัฒนา-สร้างงาน

ผู้ว่าฯ กทม. รับฟังยุทธศาสตร์การพัฒนาย่านพระโขนง-บางนา แนะปรับใช้การจัดรูปที่ดินของญี่ปุ่น สร้างงานในย่าน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร รับฟังการนำเสนอสาธารณะ พระโขนง-บางนา 2040 อนาคต ความฝัน ย่านของเรา our neighborhoods, our dreams, our futures

พระโขนง-บางนา

สำหรับงานดังกล่าว จัดโดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง ร่วมกับ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ BUILK ONE GROUP

นายชัชชาติ กล่าวว่า การพัฒนาย่านเป็นเรื่องสำคัญ เพราะต้องได้รับการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ ภาคเอกชน ประชาชน และนักวิชาการ ในการพัฒนาร่วมกัน โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นผู้อำนวยความสะดวก

แต่สิ่งสำคัญที่ยังแก้ไม่ได้ทันที และต้องอาศัยความค่อยเป็นค่อยไปคือ เรื่องผังเมือง เพราะปัจจุบันที่พบในการสร้าง ไม่ใช่การคำนึงว่าควรจะสร้างอะไร แต่เป็นการสร้างที่ดินให้มีมูลค่าสูงสุดได้อย่างไร

ชัชชาติ2
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

เราจึงเห็นคอนโดมากมาย แต่มีสวนสาธารณะไม่มากนัก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะเห็นภาพรวมของเขตหรือย่านที่มีความสมดุลกัน

สำหรับเรื่องของผังเมือง แนวคิดการจัดรูปที่ดินของประเทศญี่ปุ่น มีความน่าสนใจและน่านำมาปรับใช้ เพราะจะเป็นการสร้างสมดุลพื้นที่ ปรับปรุงหรือจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงมีการร่วมรับภาระและกระจายผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม

ทั้งนี้ การจะพัฒนาได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายและใช้ระยะเวลา เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการคมนาคม เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และชุมชน

พระโขนง1

นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา ตลาดงานไปกระจุกตัวอยู่ใจกลางเมือง คนจึงเดินทางเข้าเมืองเพื่อไปทำงาน ดังนั้น หากจะพัฒนาย่าน งานก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน ควรมีการกระจายแหล่งงาน สร้างงานในย่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนด้วย เชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการต้นแบบที่ขยายไปสู่การพัฒนาย่านอื่น ๆ ต่อไป

ขอให้ร่วมกันทำให้สำเร็จ แม้อาจจะต้องใช้ระยะเวลานาน 10 ปี หรือ 20 ปี แต่นี่คือจุดเริ่มต้นที่ดี ซึ่งกรุงเทพมหานครก็พร้อมจะสนับสนุนทุกด้าน

ด้าน ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC-CEUS) กล่าวว่า ย่านพระโขนง-บางนาถือเป็นยุทธศาสตร์ของการพัฒนาที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในอดีต จากพื้นที่เกษตรกรรม มีวิถีชีวิตริมน้ำ จนมาเป็นอุตสาหกรรมชานเมือง

ชัชชาติ

จนถึงปัจจุบัน ยังเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่ได้รับความนิยมอย่างมากในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ของทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนถูกวางให้เป็นพื้นที่ต้นแบบย่านนวัตกรรมดิจิทัลโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติด้วย

จากศักยภาพและความน่าสนใจของพื้นที่ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาแห่งนี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองฯ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเล็งเห็นโอกาสในการศึกษาและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาย่าน ผ่านกระบวนการการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน

ขณะเดียวกัน ได้จัดทำข้อเสนอการพัฒนา ผ่านกลไกความร่วมมือที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาย่าน และสามารถนำข้อมูลกลไกไปประยุกต์ใช้หรือทำซ้ำในพื้นที่อื่น ๆ ของกรุงเทพฯ และเมืองอื่น ๆ ต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo