General

‘ดร.อนันต์’ วิเคราะห์ ‘โรคฝีดาษลิง’ คนอาจต้องปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษกันอีกรอบ

“ดร.อนันต์” คาดโรคฝีดาษลิง กระจายในมนุษย์มาแล้วสักพัก อาจส่งผลให้คนต้องกลับมาปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษกันอีกรอบ

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เรื่อง โรคฝีดาษลิง หรือ Monkeypox virus โดยระบุว่า

โรคฝีดาษลิง

Monkeypox virus ที่เป็นข่าวพบในหลายประเทศในยุโรป และ ล่าสุดอีก 13 เคสในแคนาดา โดยที่แต่ละเคสไม่ได้มีความสัมพันธ์กัน

จึงเป็นไปได้ว่าไวรัสมีการแพร่กระจายในประชากรมนุษย์มาได้สักพักแล้ว และตอนนี้น่าจะไปอยู่ในหลายพื้นที่ จำนวนเคสคงจะมีรายงานมากขึ้น

ไวรัสชนิดนี้จริง ๆ มี 2 ชนิด แบ่งได้ตามความรุนแรง ตัวที่พบกระจายอยู่ตอนนี้เป็นสายพันธุ์รุนแรงน้อย อัตราเสียชีวิตประมาณโควิด-19

ส่วนตัวที่รุนแรงมากยังเป็นโรคประจำถิ่นในทวีปแอฟริกาซึ่งความรุนแรงจะสูงกว่าเทียบเท่ากับ SARS-CoV ตัวแรก

โดยข้อมูลทางไวรัสวิทยา Monkeypox virus เป็น ตระกูลเดียวกับไวรัส smallpox ที่ก่อให้เกิดโรคไข้ทรพิษ หรือ ฝีดาษ ในอดีต

ปัจจุบันไม่พบไวรัสตัวนี้ในธรรมชาติแล้ว แต่ตัวเชื้อยังมีเก็บรักษาไว้ในห้องแล็บที่มีความปลอดภัยสูงสุด เนื่องจาก smallpox เป็นเชื้อที่แพร่กระจายได้ไว แพร่ทางอากาศได้

ทำให้มีคนอนุมานต่อว่า Monkeypox จะเป็นแบบนั้นเช่นกัน ซึ่งข้อสรุปอันนี้เป็นการคาดการณ์ที่ไม่มีหลักฐานจริงยืนยัน

อนันต์1 1

Monkeypox มีมาตั้งแต่ช่วง 1950 พบติดเชื้อในคนได้ แต่ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะ ช่วงนั้นมีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษกัน

ข้อมูลจากประเทศไนจีเรียพบว่า,มีการระบาดของ Monkeypox ในปี 2017 ในประชากรมนุษย์ประมาณ 70 คน หลังจากที่ไม่เคยพบการติดเชื้อในประเทศมาหลายสิบปี ซึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะภูมิคุ้มกันในประชากรที่ฉีดวัคซีน หรือ ปลูกฝี ป้องกันไข้ทรพิษในช่วงหลายสิบปีก่อน

ภูมิจากวัคซีนดังกล่าวป้องกัน Monkeypox ได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องจากวัคซีนไข้ทรพิษไม่ได้มีการฉีดกันมานาน และ ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ก็ตกลง จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นสาเหตุให้ Monkeypox สามารถกระโดดเข้ามาในประชากรมนุษย์ได้อีก

ข้อมูลตอนนี้ยังไม่มาก เชื่อว่าไวรัสคงออกมาแล้ว และไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหนบ้างครับ ไม่แน่เราอาจจะต้องกลับมาปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษกันอีกรอบ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo