General

ทำไมต้องมี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ-ป้ายภาษีรถยนต์ จ่ายภาษีได้ที่ไหน รวมไว้ที่นี่!!

กรมการขนส่งทางบก ไขข้อข้องใจ ทำไมต้องทำพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ต่อป้ายภาษีรถยนต์ทุกปี

ถือเป็นหน้าที่ของผู้ใช้รถ โดยเฉพาะเจ้าของรถยนต์ ที่ต้องทำพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ต่อภาษีป้ายรถยนต์ทุกปี แต่หลายคนแอบสงสัยว่า ทั้งสองสิ่งนี้มีความสำคัญอย่างไรบ้าง

ป้ายภาษีรถยนต์

กรมการขนส่งทางบก โพสต์เพจเฟซบุ๊ก กรมการขนส่งทางบก PR.DLT.News ชวนมาดู พ.ร.บ. กับ ป้ายรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถ มีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่ ผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างไร พร้อม 3 ขั้นตอน ชำระภาษีรถออนไลน์ และอีกหลากหลายช่องทาง สะดวก รวดเร็ว อยู่ที่ไหนก็ทำได้ ดังนี้

ความสำคัญของ พ.ร.บ.-ป้ายภาษีรถยนต์

พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

  • ให้ความคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร ผู้ที่เดินเท้า ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ
  • หากเกิดอุบัติเหตุ จ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 30,000 บาท โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด
  • จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ฝ่ายถูก สูงสุด 80,000 บาท

ระวัง ขับรถไม่มีพ.ร.บ. หากเกิดอุบัติเหตุ จะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ ต้องจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชยด้วยตัวเอง และ ไม่มีพ.ร.บ. ไม่สามารถชำระภาษีรถได้

ป้ายภาษีรถยนต์

ป้ายภาษี/เครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี แสดงให้รู้ว่ารถคันนี้จดทะเบียนถูกต้อง ชำระภาษีรถประจำปีแล้ว และหากไม่มีเครื่องหมายดังกล่าว จะมีโทษดังนี้

  • การใช้รถไม่ต่อภาษี มีโทษปรับ 2,000 บาท-
  • ไม่แสดงป้ายภาษี มีโทษปรับ 2,000 บาท
  • ขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ทะเบียนรถถูกระงับ หากนำรถไปใช้จะมีความผิดตามกฎหมาย ต้องนำรถมาตรวจสภาพและยื่นขอจดทะเบียนใหม่

พรบ.รถ

ขั้นตอนการชำระภาษีรถประจำปี

1. ตรวจสอบวันครบอายุภาษีรถประจำปี ได้จากคู่มือรถ, เครื่องหมายการเสียภาษี หรือเว็บไซต์ชำระภาษีรถออนไลน์ https://eservice.dlt.go.th/ (เมนู สอบถามข้อมูลค่าภาษีรถประจำปี)

  • รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์อายุการใช้งานเกิน 5 ปี และรถค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ก่อน
  • รถที่ติดตั้งแก๊ส ต้องมีใบรับรองการติดตั้งแก๊ส ตามระยะเวลาที่กำหนด

2. เตรียมเอกสาร ได้แก่ คู่มือรถฉบับจริงหรือสำเนา และ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

3. ชำระภาษีรถประจำปีล่วงหน้า 90 วัน ได้หลากหลายช่องทาง ดังนี้

  • สำนักงานขนส่งใกล้บ้าน
  • เลื่อนล้อ ต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
  • ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมโครงการช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)
  • ที่ทำการไปรษณีย์
  • ธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมโครงการกับกรมการขนส่งทางบก
  • เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
  • แอปพลิเคชั่น #DLTVehicleTax
  • แอปพลิเคชั่น #mPay #TrueMoneyWallet

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo