General

‘1-14 บทสวด’เสริมสิริมงคลส่งท้ายปีเก่า’รับศักราชใหม่’ วิถีพุทธ

เมื่อพูดถึงกิจกรรมมงคลรับปีใหม่ พุทธศาสนิกชนก็ต้องนึกถึงการ “สวดมนต์ข้ามปี” ซึ่งปัจจุันเกือบทุกวัดทั้งในกรุงเทพมหานครและในต่างจังหวัดจะมีการจัดสวดมนต์ข้ามปีจนกลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้วในปัจจุบัน

1527520434592

พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อธิบาย ชาวพุทธให้เข้าใจในกิจกรรมนี้ และแนะนำบทสวดมนต์ที่จะช่วยให้ปีใหม่ของทุกคนมีแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต

“อนุโมทนาชื่นชมทุกภาคส่วน ที่ได้ชวนกันจัดงานการเจริญพุทธมนต์ หรือกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีพุทธ วิถีธรรม พุทธศักราช 2562 กันทั่วประเทศ ในช่วงวันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม 2561 – วันอังคารที่ 1 มกราคม 2562 โดยมีความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ และเอกชนในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างดี ” 

สำหรับรูปแบบกิจกรรมส่วนใหญ่ ก็มักจะมีกิจกรรมเป็นช่วงๆ เพื่อให้เหมาะสมกับวันเวลาสถานที่ และบริบททางจารีตประเพณีของแต่ละท้องถิ่น เช่น

20181216 080358

ช่วงที่ 1 ยามเช้า อาจกำหนดเป็นกิจกรรมตักบาตรเพื่อเสริมสิริมงคลแก่ให้กับชีวิตชีวิต  สมาทานรักษาศีล ฟังบรรยายธรรม และที่สำคัญการเจริญสติภาวนา

ช่วงที่ 2 ยามบ่าย นอกเหนือจากเจริญสติภาวนา ฟังธรรมจากครูบาอาจารย์แล้ว ก็อาจกำหนดให้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและวิชาชีวิตเพื่อฝึกฝนอบรมตนเองตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาสร้างโอกาสให้ตัวเองได้ทบทวนสิ่งต่างๆที่ผ่านมา และเตรียมสิ่งที่ดีงามให้กับชีวิตในช่วงปีใหม่  แนวทางการสร้างความสงบสุขให้กับชีวิตโดยใช้พระพุทธศาสนาเป็นฐานสุขให้โดยใช้ฐานกิจกรรมแลกเปลี่ยนสนทนาธรรม : สมาธิภาวนา และกิจกรรมธรรมในใจ

ช่วงที่ 3 ยามเย็น ทำวัตร ฟังธรรม ปฏิบัติภาวนา

ช่วงที่ 4 ยามข้ามปี  มีการเจริญพุทธมนต์ภาวนา ส่งท้ายปีเก่า รับศักราชใหม่วิถีพุทธ

26220031 10210900610180089 8832201483869545411 n
พระมหาประยูร โชติวโร

พระมหาประยูร โชติวโร ย้ำว่า หากจะต้องทบทวนสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมา และเตรียมสิ่งที่ดีงามให้กับชีวิตในช่วงปีใหม่ แนะนำอย่างน้อยก็ร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่กล่าวมา และ กิจกรรมหนึ่งที่สำคัญ คือ การเจริญพระพุทธมนต์ หรือ สวดมนต์เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตส่งท้ายปีเก่า รับศักราชใหม่วิถีพุทธ

สำหรับอานิสงส์ของการสวดมนต์อย่างน้อยจะช่วยให้เราสามารถไล่ความขี้เกียจ ตัดตัดความเห็นแก่ตัว ทำให้เกิดปัญญา มีจิตเป็นสมาธิ และที่สำคัญเปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า

พระมหาประยูร อธิบาย คำว่า “มนต์” แปลว่า “คำศักดิ์สิทธิ์”  คำสำหรับสวดพุทธมนต์ เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นคำสวดพระโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ไว้ การที่ชาวพุทธได้สวดมนต์ จึงเป็นการทบทวนพระโอวาทที่เป็นข้อธรรมะ เมื่อใครได้ทบทวนข้อธรรมะของพระองค์ ก็ได้ชื่อว่า “เคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์” ได้น้อมนำเอาพุทธคุณ 3 เป็นจุดเริ่มก้าว และก้าวสู่พระรัตนตรัยให้ครบด้วยปัญญา ได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ด้วยการปฏิบัติบูชาครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง

การสวดมนต์ข้ามปีส่งท้ายปีเก่า รับศักราชใหม่วิถีพุทธ เพื่อสร้างความสงบสุขให้กับชีวิตแก่ตนเอง บทสวดที่ใช้เป็นการทั่วไปที่วัดต่างๆ นั้น ล้วนแต่เหมาะสม และถูกต้องแล้ว เพราะเป็นการทบทวนพระโอวาทที่เป็นข้อธรรมะ เป็นการเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นต้นกำเนิดของ “มนต์”  เคารพในพระธรรม เพราะข้อความที่สวดเป็นธรรมะ และเคารพในพระสงฆ์ เพราะบทสวดมนต์ได้ถ่ายทอดมาโดยพระสงฆ์

buddhist 1807526 640

บทสวดสำคัญ  ได้แก่ 

(1) บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย  : ให้มีอานิสงส์ในทุกๆ เรื่องระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

(2) บทชุมนุมเทวดา                    :  อัญเชิญเทวดามาร่วมอนุโมทนา

(3) บทมงคลสูตร                         : กล่าวถึงมงคล ๓๘ ประการป้องกันอันตรายเพิ่มสิริมงคลรับปีใหม่)

(4) บทนมการสิทธิคาถา               : ช่วยดลบันดาลชัยชนะ และความสำเร็จให้เกิดขึ้น พร้อมกับปัดเป่าสรรพอันตราย

และความไม่เป็นสิริมงคลให้มลายหายไป

(5) บทโพชฌังคปริตร                  : ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ให้หายจากโรคภัย สุขภาพดี
(ุ6) บทโมระปริตร                        :  ป้องกันภัยต่างๆ
(7) บทวัฏฏะกะปริตร                    :  ป้องกันอัคคีภัย
(8) บทอะภะยะปะริตตะคาถา        :  บทสวดให้ฝันร้ายกลายเป็นดี
(9) บทพุทธชัยมงคลคาถา           :  คำชนะมาร ชนะอุปสรรคทั้งปวง พบความสำเร็จในชีวิต

(10) บทขันธปริตร                       :  ป้องกันภัยจากอสรพิษและสัตว์เลื้อยคลาน

(11) บทคาถาชินบัญชร                : โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

(12) บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร     :  พระสูตรว่าด้วยพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้า

(13) บทเทวะตาอุยโยชะนะคาถา  : บทสวดเพื่ออันเชิญเทวดากลับ

(14) บทแผ่เมตตาและกรวดน้ำ      : ให้ทุกคนมีส่วนในบุญกุศล

หลังจากสวดมนต์ไล่เรียงจนครบ 14 บท ปิดท้ายด้วยการแผ่เมตตา และกรวดน้ำรวมประมาณ 45 นาทีแล้ว พระมหาประยูร แนะนำให้นั่งสมาธิต่อ ” 1 บัลลังก์”  ซึ่งหมายถึง 1 กระบวนการปฏิบัติ เช่นมีเวลา 3 ชม. เดิน 30 นาที นั่งอีก 30 นาที ลุกมาเดินรอบใหม่ 1 ชม.นั่งอีก 1 ชม. ครบเวลาทั้งหมด 3 ชม. แล้วแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล หรือ จะแบ่งเป็นเดิน 1.30 นาที นั่ง 1.30 นาทีก็ได้ ครบเวลาก็แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล จึงจะเรียกว่กระบวนการเสร็จสมบูรณ์  หากทำได้อย่างนี้เป็นประจำ ไม่เฉพาะวันปีใหม่ “สิริมงคล” จะมาสู่ชีวิตของผู้กระทำอย่างแน่นอน 

Avatar photo