General

‘ค่าครองชีพพุ่ง’ คนกรุงอ่วม เงินเดือนต่ำแต่ของแพง

ค่าครองชีพพุ่ง คนกรุงอ่วม “รัดเข็มขัด” จ่ายเฉพาะที่จำเป็น กลุ่มรายได้ต่ำ 15,000 ต่อเดือนหนักสุด ขอให้รัฐช่วยคุมราคาสินค้า เพิ่มค่าแรง และขยายมาตรการช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่าย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจผลกระทบและแนวทางการปรับตัวของผู้บริโภค จากการเพิ่มขี้นของค่าครองชีพ พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังมีความกังวลและได้รับผลกระทบจาก ‘ค่าครองชีพที่สูงขึ้น’ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด มีค่าใช้จ่ายปรับขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 2564

shutterstock 2040186167

จากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ทำให้คนกรุงเทพวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยเลือก ‘ใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็น’ ลดหรือชะลอการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าคงทน ลดกิจกรรมสังสรรค์ โดยธุรกิจที่คาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบหนักสุด ได้แก่กลุ่มสินค้าแฟชั่น รถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น โดยหันไปซื้อสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ในราคาที่ถูกลง เช่น สินค้ามือสอง สินค้าแบรนด์รอง หรือสินค้าในช่วงจัดโปรโมชั่น

โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 3 อันดับแรก คือ ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในหลายประเภทมากขึ้น เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และขยายมาตรการช่วยเหลือ ค่าครองชีพ ด้านสาธารณูปโภค ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ที่สิ้นสุดลงตั้งแต่ ก.ย 2564

shutterstock 1061070314

ส่วนภาคเอกชน ผู้บริโภคต้องการให้ผู้ประกอบการชะลอการปรับขึ้นราคาสินค้า หรือลดปริมาณสินค้า แทนการปรับขึ้นราคาหากจำเป็น และเพิ่มการจัดโปรโมชั่นให้ถี่ขึ้น

คนกรุงเทพส่วนใหญ่มองว่าปัญหาค่าครองชีพสูง จะลากยาวมากกว่า 1 ปี ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนควรเร่งแก้ไขปัญหา ในระยะสั้น ต้องช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ เช่น การตรึงราคาสินค้า หรือลดราคาสินค้า

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo