General

คนไทยอัปเดตข้อมูลและปัญหาสุขภาพผ่าน ‘โซเชียลทุกแพลตฟอร์ม’

ผลสำรวจชี้คนไทยอัปเดตข้อมูลและปัญหาสุขภาพผ่านโซเชียลทุกแพลตฟอร์ม

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประเมินว่า
ในพ.ศ. 2564 สัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นไปถึงร้อยละ 20-30 แสดงว่าประชากรทุก ๆ 100 คน
จะพบจำนวนผู้สูงอายุ 30 คน และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบในพ.ศ. 2568

003 Photo Layout 10 04

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ เอบีเอ็ม คอนเนค ดิจิทัลพีอาร์เอเจนซี่ จึงได้จัดทำ แบบสำรวจการเปิดรับสื่อเรื่องสุขภาพของประชาชน ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกเจเนอเรชั่นจากทั่วประเทศ ผ่านช่องทางออนไลน์ในช่วงไตรมาส 4/2564 จากกลุ่มตัวอย่าง 750 คน เพื่อเก็บข้อมูลและปัญหาของช่องทางการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ที่จะนำไปสู่การปรับแก้ความเข้าใจผิดในการรับข้อมูลข่าวสารที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในภายหลังได้

รศ.กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยว่า คนไทยมีความตื่นตัวเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพมากขึ้นหลังจากการระบาดของโควิด19 เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่ความตื่นตัวและความต้องการทราบข้อมูลที่รวดเร็วในทันที อาจเกิดการเชื่อตาม ๆ กัน หรือส่งต่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในบางครั้ง การสำรวจครั้งนี้จึงเป็นข้อมูลในการนำมาปรับแก้ไขเรื่องการสื่อสารและประชาสัมพันธ์

003 Photo Layout 10 05

สื่อโซเชียล โทรทัศน์ ปากต่อปาก ช่องทางหลักเปิดรับข้อมูลสุขภาพ

ในการสำรวจนี้ กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน ครอบคลุมกลุ่มนักศึกษา วัยเริ่มทำงาน ไปจนถึงวัยใกล้เกษียณ แบ่งออกเป็น ช่วงอายุ 18-24 ปี (30%) 25-34 ปี (18.8%) 35–45 ปี (14%) และ 46-60 ปี (20%) ซึ่งทั้งในภาพรวมหรือแยกตามกลุ่มอายุ จะอัปเดตข้อมูลและปัญหาสุขภาพผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียมากที่สุด รองลงมาคือ โทรทัศน์ และตามมาด้วยการแบ่งปันข้อมูลแบบปากต่อปาก

นอกจากนี้ จะให้ความสนใจกับบุคคลหรือแหล่งข้อมูลที่ตนเชื่อถือ หรือสนใจเมื่อมีกระแสในสังคม ทางช่องทางโซเชียลยอดฮิต ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูบ อินสตาแกรม และเมื่อนึกถึงการรับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (เช่น เทรนเนอร์ และนักโภชนาการ) รวมถึงบุคคลใกล้ชิดอย่างคนในครอบครัวและเพื่อน เป็นผู้มีอิทธิพลที่ประชาชนให้ความสนใจและเชื่อถือ

003 Photo Layout 10 08

ต่างรุ่นก็มี “ไอดอลสุขภาพ” ต่างกัน
อาจารย์พรรณวดี ประยงค์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการฯ
ให้ความเห็นว่า คนต่างรุ่นจะให้ความสนใจไอดอลทางด้านสุขภาพต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยคนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี จะนึกถึง “หมอริท” นพ.เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช และ “หมอเคท” พญ.ของขวัญ ฟูจิตนิรันตร์ เป็นตัวอย่างบุคคลที่สนใจหรือให้ความเชื่อถือ ขณะที่คนอายุมากกว่า 60 ปี ก็จะสนใจ “หมอยง” ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ

นอกจากนี้กลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ยังให้ความสนใจกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ อาทิ “ฟ้าใส พึ่งอุดม” และ “เบเบ้” ธันย์ชนก ฤทธินาคา จึงไม่น่าแปลกใจที่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ส่งสารให้กระจายออกไปในวงกว้าง ช่วยให้ข้อมูลทางด้านการดูแลสุขภาพเข้าใจได้ง่ายขึ้น

นอกจากบุคคลที่น่าเชื่อถือแล้ว ปัจจุบัน คนไทยยังเปิดรับข้อมูลสุขภาพจากหลากหลายแหล่ง ทั้งญาติพี่น้อง เพื่อน อินฟลูเอนเซอร์ เช่น ยูทูบเบอร์ เพจชื่อดังต่าง ๆ ผู้สื่อข่าว นักสื่อสารมวลชน รวมไปถึงอสม. และผู้นำชุมชน อีกทั้งยังมีน้ำหนักการกระจายใกล้เคียงกัน โดยส่วนใหญ่ระบุว่าเป็นการรับข้อมูลไว้เพื่อตัดสินใจในอนาคต (71%) ยังไม่ได้ จะปฏิบัติตามหรือบอกต่อในทันที การรับข่าวสารข้อมูลจึงอาจเป็นในรูปแบบความเห็นที่สอง หรือจากประสบการณ์ของคนอื่นมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo