General

สผ. นำคณะผู้แทนไทย ร่วมเปิดประชุม ‘คณะกรรมการมรดกโลก’ สมัยสามัญ

สผ. เดินหน้านำคณะผู้แทนไทย และกรรมการมรดกโลก ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก เข้าร่วมการประชุมทางไกลเต็มรูปแบบ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44  ในระหว่างวันที่ 16-31 กรกฎาคม นี้

​​​ในการประชุมสมัชชารัฐภาคี แห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2562 ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส ฝรั่งเศส  ไทยได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ในคณะกรรมการมรดกโลก วาระปี พ.ศ. 2562-2566

มรดกโลก

ตามกฎการดำเนินงานของคณะกรรมการมรดกโลก กำหนดให้คณะกรรมการมรดกโลกประชุมสมัยสามัญร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด-19) ที่ขยายเป็นวงกว้าง จนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการมรดกโลก จึงได้เลื่อนการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 ในปี 2563
มาประชุมในปี 2564  กำหนดให้จัดการประชุมในรูปแบบการประชุมทางไกลเต็มรูปแบบ ระหว่างวันที่ 16-31 กรกฎาคมนี้

ฝ่ายไทยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม ในวันนี้ (16 ก.ค.) ทั้งคณะรัฐมนตรี ยังมีมติเห็นชอบให้ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ฝรั่งเศส และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในคณะกรรมการมรดกโลกด้วย

มรดกโลก

คณะผู้แทนไทย ที่เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วยนายศรัณย์ เจริญสุวรรณ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส และ นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นรองหัวหน้าคณะ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านมรดกทางวัฒนธรรม และมรดกทางธรรมชาติ พร้อมด้วยผู้แทน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 ถือเป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญ ของไทย ในฐานะสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก ในการร่วมพิจารณา และให้ความเห็นต่อวาระ การพิจารณาต่าง ๆ เช่น การขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก การขึ้น หรือถอด แหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย การถอดแหล่งมรดกโลก ออกจากบัญชีรายชื่อ และการพิจารณาแนวทางในการดำเนินงาน ตามพันธกรณีอนุสัญญาในด้านต่าง ๆ

มรดกโลก

วาระการพิจารณาที่สำคัญของไทยในครั้งนี้ คือ การนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ซึ่งไทยมีความพยายามในการผลักดันการขึ้นทะเบียนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นกลไกหนึ่ง ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของไทยให้คงอยู่สืบไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo