General

เด็กไทยต้องได้ไปโรงเรียน! ทำความรู้จัก ‘ทุนเสมอภาค’ รัฐช่วยจ่าย 3 พัน จนถึง ม.3

ทำความรู้จัก “ทุนเสมอภาค” รัฐช่วยเหลือครอบครัวรายได้น้อย เทอมละ 3,000 บาท เพื่อให้เด็กไทยทุกคน มีโอกาสที่จะได้เรียนหนังสือ

เฟซบุ๊กเพจ “รัชดา ธนาดิเรก – รองโฆษกรัฐบาล” ของนางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ “ทุนเสมอภาค” ที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนตั้งแต่อนุบาล จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อที่เด็กทุกคนจะได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา โดยระบุว่า

ทุนเสมอภาค

เด็กไทยทุกคนต้องได้ไปโรงเรียน “ทุนเสมอภาค” ช่วยเหลือค่าใช้จ่าย อนุบาลถึง ม.3

ความพร้อมทางเศรษฐกิจของครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กแต่ละคน ได้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาไม่เท่ากัน แม้รัฐจะอุดหนุนค่าเทอมให้แก่เด็กในทุกช่วงวัย แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าอุปกรณ์การเรียน ที่ถือเป็นภาระที่ทำให้หลายครอบครัวไม่สามารถส่งลูกเรียนได้

“ทุนเสมอภาค” โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจะช่วยสนับสนุนให้ปีละ 3,000 บาท/คน แบ่งจ่ายในเทอมที่ 1 คนละ 2,000 บาท ในเทอมที่ 2 อีกคนละ 1,000 บาท ซึ่งในภาคเรียนที่ 2/2563 ได้โอนเงินให้นักเรียนชั้น อนุบาล- ม.3 จำนวนกว่า 1.17 ล้านคนครบแล้ว เมื่อวันที่ 13 มี.ค.64 ที่ผ่านมา

การคัดกรองนักเรียนยากจน ประเมินจาก รายได้เฉลี่ยสมาชิกครัวเรือนไม่เกิน 3,000 บาท/คน/เดือน มีภาระพึ่งพิง เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ สภาพยานพาหนะ ที่ดินทำการเกษตร แหล่งไฟฟ้าหลัก ที่อยู่อาศัย ของใช้ในครัวเรือน เป็นต้น โดยคุณครูจากโรงเรียนทั่วประเทศจะเป็นผู้ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมบ้านนักเรียน

หากพบเห็นเด็กยากจนเสี่ยงจะต้องออกจากโรงเรียน ท้องถิ่น โรงเรียน และคุณครู สามารถแจ้งขอรับความช่วยเหลือได้ที่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โทรศัพท์ 02 079 5475 ต่อ 8

ทุนเสมอภาค

ทำความรู้จัก “ทุนเสมอภาค”

โครงการ จัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (Conditional Cash Transfer: CCT) หรือทุนเสมอภาค เริ่มต้นในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตั้งแต่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561

โครงการนี้มีรากฐานจากงานวิจัย 3 เรื่องสําคัญ ได้แก่

  • บัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ (National Education Account of Thailand : NEA)
  • การวิจัยระบบ เกณฑ์การคัดกรองรายได้ทางอ้อม (Proxy Means Tests)
  • ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการ ศึกษา ที่กสศ. ร่วมมือกับ สพฐ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร นํามาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย “การปฏิรูปการจัดสรรงบประมาณเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” (Equity-based Budgeting)

เพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพการจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล ในบริบทพื้นที่ซึ่งแตกต่างกัน เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา และบรรเทาอุปสรรคการมาเรียน นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการศึกษา  เป็นการช่วยลดความเหลื่อมลํ้าที่ต้นทาง ปกป้องเด็กไทย ไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา

ทั้งนี้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ไม่ว่าจะเป็นการยืนยัน ด้วยพิกัดบ้าน ภาพถ่าย สภาพบ้านพร้อมรูปนักเรียน และสมาชิก ในครอบครัว รวมทั้งพิกัด และเวลาในการลงนามรับรอง ของคณะกรรมการ เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กเหล่านั้น มีตัวตนจริง และอาศัยอยู่ในบ้าน ที่มีสภาพดังกล่าวจริง ซึ่งถือเป็นหลักฐานทางกายภาพที่สำคัญ ในการประกอบการพิจารณา

ทุนเสมอภาค

เกณฑ์การคัดกรองนักเรียนยากจน

วัดรายได้ทางอ้อม โดยประเมินจากข้อมูล 2 ประเภท ดังนี้

  • ประเภทที่ 1  ข้อมูลรายได้เฉลี่ยสมาชิกครัวเรือน (ไม่เกิน 3,000 บาท/คน/เดือน)
  • ประเภทที่ 2 ข้อมูลสถานะครัวเรือน 8 ด้าน ได้แก่ ครัวเรือนมีภาระพึ่งพิง ยานพาหนะในครัวเรือน ที่ดินทำการเกษตร แหล่งไฟฟ้าหลัก ประเภทที่อยู่อาศัย สภาพที่อยู่อาศัย ของใช้ในครัวเรือน และแหล่งน้ำดื่ม น้ำใช้

ทุนเสมอภาค

ช่องทางการติดต่อ โครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข

ข้อมูล : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo