General

ปฏิรูปกฎหมาย เพิ่มโทษ ‘ปรับทางพินัย’ เว้นคุกไว้ขังคนทำผิดร้ายแรง

ปฏิรูปกฎหมาย ครม.เห็นชอบ เปลี่ยนโทษอาญาความผิดเล็กน้อย เป็นโทษ “ปรับทางพินัย” ให้คุกมีไว้ขังคนทำผิดร้ายแรงเท่านั้น

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “รัชดา ธนาดิเรก – รองโฆษกรัฐบาล” ถึงการ ปฏิรูปกฎหมาย โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ เปลี่ยน โทษอาญา ความผิดเล็กน้อย เป็นโทษ ปรับทางพินัย เพื่อให้คดียุติได้ ให้เป็นโทษปรับทางปกครอง และให้คุกมีเฉพาะไว้ขังผู้ที่ทำผิดร้ายแรง โดยระบุว่า

คุก

“ครม. เห็นชอบปฏิรูปกฎหมาย เปลี่ยนโทษอาญาความผิดเล็กน้อย เป็นโทษ “ปรับทางพินัย” ให้คุกมีไว้ขังคนทำผิดร้ายแรงเท่านั้น

ตามที่ มาตรา 77 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐพึงกำหนดโทษอาญา เฉพาะความผิดร้ายแรง และตามแผนปฏิรูปประเทศ ด้านกฎหมาย รัฐบาลต้องจัดทำกฎหมาย เปลี่ยนแปลงโทษอาญา ที่สามารถเปรียบเทียบ เพื่อให้คดียุติได้ ให้เป็นโทษปรับทางปกครอง

ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์ดังกล่าว ครม. ได้เห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เพื่อเป็นกฎหมายกลาง ในการพิจารณา และกำหนดมาตรการ สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง ซึ่งเรียกมาตรการใหม่นี้ว่า “การปรับเป็นพินัย”

ทั้งนี้ ผู้กระทำความผิด ต้องชำระเงินค่าปรับ ตามที่กำหนด และการปรับนั้น ไม่ใช่เป็นโทษปรับทางอาญา รวมทั้งจะไม่มีการจำคุก หรือกักขังแทนการปรับ ไม่มีการบันทึก ในประวัติอาชญากรรม

แผงขายผลไม้ริมทาง

ตัวอย่างความผิดเล็กน้อยที่เป็นโทษอาญา เช่น

  • ไม่แสดงใบขับขี่ (ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)
  • สูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ (ปรับไม่เกินสองพันบาท)
  • จอดรถขายผลไม้ริมถนนสาธารณะ (ปรับไม่เกินสองพันบาท)

สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ มีดังนี้

1. กำหนดให้มี “โทษปรับเป็นพินัย” เป็นโทษอีกประเภทหนึ่ง แยกจาก โทษอาญา และโทษปกครอง เพื่อใช้เป็นกฎหมายกลาง

2. มุ่งหมายให้ใช้โทษปรับเป็นพินัยแก่การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ในกรณีที่ไม่ร้ายแรง แทนการกำหนดให้เป็นโทษอาญา

3. เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้มีอำนาจสั่งปรับ โดยสามารถกำหนดจำนวนค่าปรับ ตามความรุนแรงของผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิด พฤติกรรม และสภาพแวดล้อมทั้งปวง หรือจะกำหนดให้ทำงานบริการสังคมแทนก็ได้

4. ถ้าผู้ถูกปรับเป็นพินัย ชำระค่าปรับ เป็นพินัยเข้าหลวงแล้ว เป็นอันยุติจบเรื่อง ไม่มีการจำคุก หรือกักขังแทนค่าปรับ ไม่มีการบันทึกประวัติอาชญากรรม และสามารถจ่ายค่าปรับ ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้

5. ถ้าผู้ถูกปรับคัดค้าน หรือไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนด เจ้าหน้าที่ ต้องส่งเรื่อง และสำนวน ให้อัยการดำเนินการ ฟ้องศาลจังหวัด

6. ให้เปลี่ยนความผิด ที่มีโทษปรับทางปกครอง ตามกฎหมายต่าง ๆ เป็นความผิดทางพินัย เว้นแต่การปรับทางปกครอง ที่เป็นมาตรการบังคับทางปกครอง และโทษปรับทางปกครอง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

7. ให้เปลี่ยนความผิดอาญา ที่มีโทษปรับสถานเดียว ตามกฎหมายในบัญชี 1 จำนวน 183 ฉบับ เป็นโทษปรับเป็นพินัย ภายใน 365 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

8. สำหรับความผิด โทษอาญา ที่มีโทษปรับสถานเดียว ตามบัญชี 2 จำนวน 30 ฉบับ จะตราพระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนให้เป็นโทษปรับเป็นพินัยก็ได้ แต่ต้องเสนอ ร่างพระราชกฤษฎีกา ต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาก่อนไม่น้อยกว่า 30 วัน

9. เมื่อพ้น 360 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ให้เปลี่ยนอำนาจของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เฉพาะในการกำหนดโทษปรับอาญา ในข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นปรับเป็นพินัย

ทั้งนี้ ในลำดับต่อไป จะส่งร่างพระราชบัญญัติ ให้คณะกรรมการประสานงาน สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป

สำหรับประโยชน์ ที่ประชาชนจะได้รับ เมื่อกฎหมายฉบับนี้ บังคับใช้ คือ

1)  คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยใช้ความผิดอาญา เฉพาะการกระทำความผิด ที่ร้ายแรงเท่านั้น เพื่อป้องกันการริดรอนสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนเกินควร

2) สร้างความเป็นธรรมในสังคม และลดการทุจริต โดยเปลี่ยน โทษอาญา เป็นโทษปรับทางพินัย ซึ่งจะมีกฎหมายอย่างน้อย 183 ฉบับ ที่ถูกเปลี่ยนเป็น โทษทางพินัย

3) ไม่มีการกักขังแทนค่าปรับ ไม่ต้องประกันตัว และไม่มีการบันทึก ประวัติอาชญากรรม

อานข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo