General

10 ธันวาคม ‘วันรัฐธรรมนูญ’ รำลึก ‘รัฐธรรมนูญ’ ฉบับแรก เกิด ‘ประชาธิปไตย’ ไทย

10 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันรัฐธรรมนูญ” วันที่กำหนดขึ้นมา เพื่อเป็นการรำลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก ฉบับถาวร ถือเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ณ วันที่ 10 ธันวาคม  2475

ความเป็นมา วันรัฐธรรมนูญ 

วันที่ 24 มิถุนายน 2475 ไทยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน มาสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งใช้กฏหมาย “รัฐธรรมนูญ” เป็นกฏหมายสูงสุดในการปกครอง

วันรัฐธรรมนูญ

  • ความสำคัญ

วันที่ 10 ธันวาคม 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ที่ถือเป็นฉบับถาวร เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบรัฐสภา ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน โดยพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นหลายฉบับ มีการแก้ไขร่างกฏหมายหลายรอบ เพื่อให้เหมาะสมกับโลกที่เปลี่ยนไป ดังนั้นในวันรัฐธรรมนูญ จึงเป็นวันหยุดราชการ ที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ให้แก่ประเทศไทย

วันรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญคืออะไร

รัฐธรรมนูญ ภาษาอังกฤษคือ Constitution หมายถึง กฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ/รัฐ และต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร หลายๆประเทศของโลกที่ปกครองด้วยประบอบประชาธิปไตย มักมีการใฃ้รัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุด เพื่อเป็นหลักและแนวทางในการบริหารประเทศ

รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก เกิดขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 เป็นสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์ กับขุนนาง และพระสงฆ์ มีชื่อว่า “มหากฏบัตร” โดยมีเนื้อหาสำคัญคือการจัดการองค์กร และการบริหารอำนาจ

คำว่า Constitution ในภาษาอังกฤษนั้น แปลตรงตัวว่า “การสถาปนา”

วันรัฐธรรมนูญ

  • สิทธิ หน้าที่และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

การเป็นพลเมืองไทย ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขนั้น บุคคลจะต้องเรียนรู้ สิทธิ เสรีภาพ และปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการเข้าใจความหมายของ สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ

สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง บุคคลอื่นจะละเมิดล่วงเกินหรือกระทำการใด ๆ ที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลอื่นไม่ได้ เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง

เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการทำของบุคคลหรืองดเว้นที่จะทำและการทำนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการนับถือศาสนา การพูด การเขียน เป็นต้น

หน้าที่ หมายถึง ภาระหรือความรับผิดชอบที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น หน้าที่รับราชการทหาร เสียภาษี ช่วยเหลือราชการตามกฎหมาย หน้าที่รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และอยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ

สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักดิ์ศรีมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้นตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษาศาสนาใด ๆ

วันรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญไทยฉบับแรก

ก่อนหน้าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับจริงในปัจจุบัน หลังจากระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลง ประเทศไทยได้ใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 2475 ซึ่งร่างโดยคณะราษฎร บังคับใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ก่อนจะมีการลงพระปรมาภิไธย โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วจึงเปลี่ยนจากฉบับชั่วคราว เป็นฉบับถาวร ในปัจจุบัน

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีทั้งหมด 20 ฉบับ

รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” จากนั้นราชอาณาจักรไทยก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้

  • พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุนายน – 10 ธันวาคม 2475)
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 – 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 – 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือรัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 – 23 มีนาคม 2492)
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 – 29 พฤศจิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 – 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
  • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 – 20 มิถุนายน 2511)
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 – 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
  • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 – 7 ตุลาคม 2517)
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 – 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

NjpUs24nCQKx5e1HTovYlln0gD43BAROwz3fNLkOKLQ e1607558836266

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 – 20 ตุลาคม 2520)
  • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 – 22 ธันวาคม 2521)
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 – 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
  • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม – 9 ตุลาคม 2534)
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 – 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 – 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 – 24 สิงหาคม 2550)
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 – 22 กรกฎาคม 2557)
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม 2557 – 6 เมษายน 2560)
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน 2560 – ปัจจุบัน)

กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ

มีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะโดยพร้อมเพรียงกัน ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลายๆ จุดสำคัญมีการประดับธงชาติ ซึ่งโดยปกติจะเป็นการประดับธงชาติ ต่อจากวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคมของทุกปี

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo