General

‘อนุชา’ เปิดความคืบหน้า แผน ‘ปฎิรูปประเทศ’

“อนุชา” รายงานความก้าวหน้า การดำเนินงาน แผนปฏิรูปประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 เดือนเม.ย.-มิ.ย.ที่ผ่านมา 

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานความก้าวหน้า การดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้านต่าง ๆ ที่เริ่มดำเนินการแล้ว ดังนี้

  • ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

ด้วยการพัฒนาระบบดิจิทัลงานพื้นฐานของรัฐแบบรวมศูนย์รองรับการเชื่อมโยงข้อมูล และการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

ด้านกฎหมายว่าด้วยการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

กิจกรรมที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ และปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา

419932

  • ด้านกระบวนการยุติธรรม

โครงการพัฒนาระบบอนุญาโตตุลาการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีสาระที่สำนักงานศาลยุติธรรม ดำเนินการพัฒนาติดตั้งระบบการอนุญาโตตุลาการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ เปิดใช้งานระบบตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2562

ช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 มีบุคคลเข้ามาลงทะเบียนใช้งานในระบบ 120 ราย และมีข้อพิพาทที่รับใหม่ ข้อพิพาทที่แล้วเสร็จ จำนวน 24 ข้อพิพาท โดยเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้พิพากษา สามารถเสนอข้อเรียกร้อง และคำคัดค้านสู้คดี รวมทั้งนำเสนอพยานหลักฐาน และเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆได้โดยรวดเร็ว และสะดวกผ่านระบบออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ด้านเศรษฐกิจ

การสนับสนุนเอสเอ็มอี สู่การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยมีสาระของกิจกรรมที่คณะทำงานด้านสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เห็นชอบให้มีการยกร่างหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง มีหลักการสำคัญคือกำหนดสัดส่วนในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งจำเป็นต่อการดำเนินการ และการจัดซื้อจัดจ้างเอสเอ็มอีอย่างน้อยร้อยละ 30 ของงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างและการกำหนดแต้มต่อพิเศษสำหรับเอสเอ็มอีในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกรณี e-bidding ร้อยละ 10

  • ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การจัดการขยะที่ต้นทางในระดับจังหวัด โดยกรมควบคุมมลพิษ ส่งเสริมการจัดการขยะที่ต้นทางระดับจังหวัด ในการขับเคลื่อนการจัดการขยะที่ต้นทาง โดยประชาชน

ปัจจุบัน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมจำนวน 676 แห่ง และได้ดำเนินการกิจกรรมลด และคัดแยกขยะ เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่กว่า 90,000 ตัน

  • ด้านสาธารณสุข

ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยกรมอนามัยดำเนินการสร้างการตระหนักรู้ และการกระตุ้นพฤติกรรมพึงประสงค์ในการป้องกันตนเองจากการแพร่เชื้อโรค โควิด-19 ผ่านเฟซบุ๊ก วางแผนและสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทางปฎิบัติเพื่อป้องกันตนเองจากการแพร่เชื้อโรค โควิด-19 ภายใต้คณะทำงานภารกิจความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการรักษาระยะห่างทางสังคม  จัดตั้งเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญเพื่อเฝ้าระวัง และตรวจสอบข้อมูลข่าวสารปลอม

  • ด้านการสื่อสารมวลชน

นำเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร และโทรคมนาคม โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดทำแผนแม่บท เพื่อนำเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย มาใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร และโทรคมนาคมเพื่อภารกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

  • ด้านสังคม

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนการออมแห่งชาติ โดยกองทุนการออมแห่งชาติ

  • ด้านการพลังงาน

มีแนวทางการปรับโครงสร้างการใช้พลังงานภาคขนส่ง โดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เห็นชอบร่างแผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 263 และกรมธุรกิจพลังงานกระทรวงพลังงาน ดำเนินการยกร่างแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง มีเป้าหมายในการปรับโครงสร้างราคา รวมทั้งชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนมาตรการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ในภาคการขนส่ง และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการเดินทาง

  • ด้านประชาสัมพันธ์

ผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารสาธารณะภายใน 2 ปี ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่ต้องรอ ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแล้ว อยู่ระหว่างตรวจสอบพิจารณา ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

  • ด้านการศึกษา

พัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และการวัดประเมินผลโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จัดทำโครงการกรรมการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาความรู้ และสมรรถนะด้านเนื้อหาสาระที่สอนด้านศาสตร์การสอน ด้านสื่อและเทคโนโลยี ในการเรียนรู้ และบทบาทของครูในยุคใหม่

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo