General

‘สุรเกียรติ์’ เปิดผลงาน เฝ้าระวังภัยพิบัติ -เครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)

“สุรเกียรติ์” แถลงผลการดำเนินงาน การเฝ้าระวังภัยพิบัติ และเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย

ศ.พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองประธานกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย กล่าวว่า สืบเนื่องจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา องค์ประธานกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ทรงมีพระดำริให้มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ดำเนินกิจกรรมด้านการเฝ้าระวังภัยพิบัติ

S 4858263

โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเหตุอุทกภัยและดินถล่ม เพื่อป้องกัน และลดความสูญเสีย ต่อชีวิต และทรัพย์สิน อันเกิดจากเหตุอุทกภัยให้แก่ประชาชนคนไทยทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยจัดให้มีระบบการเตือนภัยล่วงหน้า และการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน รวมทั้งสร้างศักยภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้มีองค์ความรู้ ความพร้อม และความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

“ มูลนิธิฯ ได้น้อมนำพระดำริ ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศในการติดตามและเฝ้าระวังอุทกภัย โดยติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติสำหรับติดตามปริมาณน้ำฝนและระดับน้ำ และจัดตั้งเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ”

37260d7059ef4b0d804bf6efe1125390 small

ในระยะแรก มูลนิธิฯ ได้ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ ในพื้นที่ชุมชนที่มีความเสี่ยงภัยแล้วจำนวน 49 สถานี ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

7 หน่วยงานร่วมมือดำเนินงาน 

  • สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
  • กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • กรมป่าไม้
  • กรมการปกครอง
  • กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

122442015 3958066720874923 7323553639578401783 n

ดำเนินโครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ เพื่อตรวจวัดข้อมูลภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำ จำนวน 510 สถานี ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยในปี 2563 ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำนวน 80 สถานี ในพื้นที่ป่าต้นน้ำทางภาคเหนือ ในปี 2564 จะติดตั้งอีก จำนวน 62 สถานี

ดร.สุรเกียรติ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน มูลนิธิฯ ได้จัดตั้งเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ทั้งหมด 20 เครือข่าย ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภัย การเตือนภัยและอพยพกรณีประสบภัยพิบัติ และการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งมูลนิธิฯ ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานบูรณาการด้านการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขยายผล จากตัวอย่างความสำเร็จของเครือข่ายการจัดการน้ำชุมชน ในลุ่มน้ำปัตตานี ซึ่งมีความพร้อมในการติดตามสถานการณ์น้ำเฝ้าระวัง ป้องกัน บรรเทาภัยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ไปยังเครือข่ายประชาชนในระดับพื้นที่ ให้เกิดการประสานงาน อำนวยการเหตุการณ์แบบเชิงรุก

S 4858264

โดยร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) จัดตั้งศูนย์สารสนเทศการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อใช้ติดตามสถานการณ์น้ำและวิเคราะห์ข้อมูลสนับสนุนแผนพัฒนาในภาวะปกติ ส่วนในภาวะเกิดเหตุอุทกภัยร้ายแรง

ศูนย์ฯ แห่งนี้จะทำหน้าที่ อำนวยการ ประสาน เสริมการทำงานของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ แจ้งเตือนสถานการณ์ ร่วมเตรียมรับมือ บริหารจัดการ และฟื้นฟูเยียวยา โดยในส่วนของการติดตามสถานการณ์นั้นจะเชื่อมโยงกับศูนย์ข้อมูลน้ำระดับจังหวัดที่อยู่ภายใต้การบัญชาการของผู้ว่าราชการจังหวัด และในขณะเดียวกันก็ประสานสู่ระดับชุมชนผ่านเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ชายแดนใต้ ได้แก่ เครือข่ายฯ ลุ่มน้ำปัตตานี และเครือข่ายฯ อำเภอสุคิริน เพื่อเตือนภัยและเข้าให้ความช่วยเหลือบรรเทาภัยแก่ราษฎรได้ทันสถานการณ์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo