General

สกพอ. จับมือ ‘กรมการพัฒนาชุมชน-ม.บูรพา’ อบรม ‘บันฑิตอาสาต้นแบบ’

สกพอ. ผนึกกรมการพัฒนาชุมชน และ มหาวิทยาลัยบูรพา​ เดินหน้าจัดกิจกรรมฝึกอบรม “โครงการบัณฑิตอาสาต้นแบบ” ​ ปั้นทักษะ-บุคลากรยุุคใหม่ครบมือ หวังช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในพื้นที่อีอีซี 

หลังจากที่ลงนามบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยความร่วมมือ “โครงการบัณฑิตอาสาต้นแบบ”  เมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กรมการพัฒนาชุมชน กระทวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยบูรพา ก็ได้เดินหน้าจัดกิจกรรมฝึกอบรม พัฒนาทักษะ และเสริมสร้างองค์ความรู้ต่างๆ

c7a9a81c e34c 44e1 8a7e 89a78faa473f

เพื่อหล่อหลอมให้เหล่าบัณฑิตอาสามีความรู้ ความเชี่ยวชาญ สามารถเป็นหัวหอกในการดำเนินการสร้างกระบวนการ มีส่วนร่วมของชุมชน ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องของประชาชน ในพื้นที่ 3 จังหวัดอีอีซี เกี่ยวกับนโยบาย ภารกิจ และการดำเนินงานของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตลอดจนเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ทำงานดี รายได้สูงในถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเอง และเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

กิจกรรมในโครงการบัณฑิตอาสาต้นแบบที่จัดขึ้น ณ ณ วิทยาลัยการพัฒนาชุมชน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้รับการออกแบบอย่างเป็นระบบ ด้วยกระบวนการที่กระตุ้น และเสริมสร้างทักษะความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ให้กับบรรดาบัณฑิตอาสาต้นแบบ ที่ผ่านการคัดเลือกของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด

S 127852559 0

ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการบัณฑิตอาสาต้นแบบนี้ มีความหลากหลาย และน่าสนใจเป็นอย่างมาก อาทิ กระบวนการเรียน ดูหนังแฝงแง่คิด ด้วยวิชาบทบาทของการพัฒนาปรัชญา อุดมการณ์ หลักการกระบวนการ และวิธีการพัฒนาชุมชน, การฝึกฝนทักษะการพูดในที่ชุมชน เพื่อให้เป็นนักสื่อสารที่ดี มุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการสื่อสารกับชุมชน ตามเป้าหมายที่วางไว้

ด้วยการฝึกฝน โดยใช้ 4 หลัก วาทะศิลป์ และศิลปะการพูดจูงใจ, การทำงานเป็นทีม และการสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ, วิทยากรกระบวนการ และการใช้เครื่องมือส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึง ร่วมกิจกรรมออกกำลังกายในตอนเช้าทุกวัน เพื่อเพิ่มความสุขสดชื่น ความแข็งแรงให้กับทั้งร่างกาย และจิตใจ

774ABDF6 84BD 4E18 9F03 3CE440EB7765 L0 001

นอกจากนี้ ยังฝึกอบรมการใช้เครื่องมือของการพัฒนาชุมชน ด้วยการเข้าสู่ฐานปฏิบัติการของอาวุธทั้ง 4 ได้แก่ ประวัติศาสตร์ชุมชน หรือเส้นเวลา(Time line) , แผนที่ความคิด (Mind Map) การวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหา (Root-Cause Analysis: RCA) และการทบทวนหลังทำงาน หรือหลังปฏิบัติ หรือหลังกิจกรรม (After Action Review: AAR) เพื่อให้บัณฑิตอาสาได้เจาะลึก และเข้าถึงการใช้อาวุธแต่ละชนิดโดยละเอียด เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9d28ce9d 16e0 4257 822f 4e64b83515aa

หลังจากที่ได้เรียนรู้และศึกษามาแล้ว ก็จำเป็นจะต้องทดสอบการใช้เครื่องมือ จากการที่ได้ไปเจาะลึกมาในแต่ละฐานปฏิบัติการ โดยเหล่าบัณฑิตอาสาต้นแบบ จะต้องแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจ ในการใช้เครื่องมือ ของการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างดี

จากกระบวนการฝึกอบรมและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการบัณฑิตอาสาต้นแบบ จะเสริมสร้างศักยภาพบัณฑิตใหม่ ให้มีโอกาสทำงานในพื้นที่อย่างเต็มความสามารถ เและร่วมเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ช่วยกระจายความรู้ด้วยวิทยาการที่ทันสมัย ตลอดจนร่วมวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ สู่การพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และยั่งยืนสืบไป

89ac5288 6866 47ab ba41 5245bf817c37

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo