General

เสียงเตือนจากกองปราบฯ ‘จำนำ’ รถติดไฟแนนซ์ เสียมากกว่าได้

จำนำ รถติดไฟแนนซ์ เสี่ยงสูง กองปราบปราม เตือนหนักๆ ระวังมิจฉาชีพ นำรถไปขายเป็นรถหลุดจำนำ แยกชิ้นส่วน ส่งออกนอก ส่งผลผู้จำนำ ต้องผ่อนรถทั้งที่ไม่มีรถ 

ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง ตัวเลขคนตกงานพุ่ง ธุรกิจแห่ปิดกิจการ จากผลกระทบทางเศรษฐกิจ และโควิด-19 ทำให้ผู้ได้รับความเดือดร้อน ไม่มีเงินใช้ ต้องดิ้นรนทุกวิถีทาง เพื่อหาเงินมาจับจ่ายในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการนำรถไปจำนำ แต่ควรที่ระวังคือ กรณี จำนำ รถติดไฟแนนซ์

จำนำ รถติดไฟแนนซ์

กองปราบปราม  โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “กองปราบปราม” เตือนให้ระมัดระวัง การนำรถติดไฟแนนซ์ ไปวางจำนำ โดยระบุว่า

“รถติดไฟแนนซ์ “จำนำ” ได้หรือไม่

เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า รถที่ติดไฟแนนซ์ เป็นรถที่ยังอยู่ระหว่างการเช่าซื้อ กับเจ้าของ ซึ่งก็คือ สถาบันการเงิน ทำให้เราเป็นเพียงผู้ครอบครอง เพื่อใช้สอยประโยชน์ จากรถเท่านั้น แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่แท้จริง ซึ่งเราจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่แท้จริง ก็ต่อเมื่อ ชำระเงินครบตามสัญญาเช่าซื้อ แล้วเท่านั้น

ปัญหาของการจำนำรถ ที่ยังติดไฟแนนซ์ ก็คือ หากเราไปเจอผู้รับจำนำ ที่ไม่มีความซื้อสัตย์ หรือว่ากันง่าย ๆ เลยคือ เป็นมิจฉาชีพ ที่ตั้งใจมาโกง เพื่อเอารถของเราไปตั้งแต่แรก

หลังจากที่รถออกจากมือเราไป มิจฉาชีพที่แฝงตัวมานั้น ก็จะนำรถของเราไปขาย เป็นรถหลุดจำนำอีกต่อหนึ่ง แยกชิ้นส่วนขายบ้าง หรือ ส่งออกนอกประเทศบ้าง

ท้ายที่สุด สถาบันการเงิน เจ้าของกรรมสิทธิ์ จะมาไล่เบื้ยกับค่าเสียหายกับเราโดยตรง ทำให้เรายังคงต้องผ่อนรถต่อไป ทั้งที่ รถไม่อยู่กับเราแล้ว

เราจึง “ไม่ควร” เอารถที่ติดไฟแนซ์อยู่ไป “จำนำ” หรือ “ขาย” เพราะนอกจากจะเสียรถไปแล้ว ยังต้องตกเป็นผู้ต้องหาอีกด้วย”

สำหรับการ จำนำรถ แบบติดไฟแนนซ์ ก็คือ การนำเอารถที่ยังคงผ่อนชำระ อยู่กับสถาบันการเงิน ไปจำนำ ซึ่งคนที่รับจำนำ จะเป็นใครก็ได้ เช่น บุคคลธรรมดา, เต็นท์รถ, ผู้ให้บริการรับจำนำ

รถติดไฟแนนซ์

แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า ในเมื่อรถของเรา ยังติดภาระไฟแนนซ์อยู่ นั่นหมายถึง ชื่อของเจ้าของรถ ยังคงเป็นของสถาบันการเงิน ไม่ใช่ของเรา หากผู้รับจำนำคนนั้น ไม่มีความซื่อสัตย์ หรือ ตั้งใจจะโกงกันต่อหน้า ย่อมทำให้เจ้าของรถ ที่ผ่อนกับไฟแนนซ์ ได้รับความเดือดร้อน

ยกตัวอย่าง เช่น กรณีนำเอารถติดไฟแนนซ์ไป จำนำรถ กับบุคคลธรรมดา แล้วผู้ที่รับจำนำ เอารถคันนั้น ไปจำนำต่อ จากนั้นก็ไม่จ่ายหนี้ ทำให้รถขาด และโดนขายทอดตลาด ออกไปในที่สุด ผู้ที่ผ่อนรถกับไฟแนนซ์ ต้องรับผิดชอบ ตามความผิดฐาน ยักยอกทรัพย์ เพราะเจ้าของจริง ๆ คือ ไฟแนนซ์

ทั้งนี้ ไฟแนนซ์ จะไม่ไปตามเรื่องกับคนที่รับจำนำ แต่จะมาไล่เบี้ยกับผู้จำนำโดยเฉพาะ ทำให้ต้องผ่อนรถต่อไป ทั้งที่รถไปไหนแล้วก็ไม่รู้

เว็บไซต์ carmana มีข้อแนะนำ และแก้ปัญหา สำหรับคนมีรถยนต์ ที่ติดไฟแนนซ์ แต่ร้อนเงิน หมุนเงินไม่ทัน หรือ ต้องการเงินด่วน หากนำรถยนต์ไป จำนำนอกระบบ เพราะทำง่ายได้เงินเร็ว และคิดว่าจะหาเงินมาโปะหนี้ได้ ในระยะสั้นๆ เป็นความคิดที่เสี่ยง เนื่องจากอาจเจอปัญหาแบบนี้ได้ เช่น นายหน้าที่รับจำนำ เอารถหนีหาย หรือ ไถ่ถอนรถคืนไม่ได้

หากจะไปแจ้งความเอาผิด ก็ทำได้ยาก เพราะผู้เสียหายตัวจริง คือ ไฟแนนซ์ที่เป็นเจ้าของรถ ไฟแนนซ์จึงมีสิทธิ์ฟ้องร้อง ดำเนินคดีกับผู้ผ่อนรถ คดีฐาน ยักยอกทรัพย์ ทำให้ต้องชดใช้ทั้งค่าเสียหาย หรือ ทำใจผ่อนกุญแจรถต่อไป

ฉะนั้น วิธีแก้ที่อยากแนะนำก็คือ การนำเงินก้อน ไปปิดไฟแนนซ์ เพื่อเอาเล่มทะเบียน ไปยื่นขอจำนำเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ เอารถยนต์ไปรีไฟแนนซ์ กับสถาบันการเงิน ที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้ว่าจะมีขั้นตอนยิบย่อย และใช้เวลาหน่อย แต่ก็ยังดีกว่า ทำแล้วไม่ปลอดภัย และ นำปัญหามาให้ในภายหลัง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo