General

‘กรมน้ำ’ แก้แล้ง 6 ตำบลลพบุรี ฟื้น ‘ป่าจำปีสิรินธร’ 141 ไร่

กรมทรัพยากรน้ำเดินหน้าพัฒนาแห่งน้ำ 6 ตำบลในอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี รวมถึง พื้นที่ปป่าจำปีสิรินธร ซึ่งเป็นจำปีพันธุ์ใหม่ของโลก ควบคู่ไปกับกาแก้ปัญหาภัยแล้ง ช่วยเกษตรกรประกอบอาชีพได้ 

นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ เปิดเผยว่า กรมทรัพยากรน้ำ จัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 6 ตำบล ในอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกร ที่เป็นอาชีพหลักของประชากรในท้องที่

20150526 14 1432631112 928446

ตามปกติ พื้นที่ท่าหลวงมักจะประสบปัญหาภัยแล้วช่วงเดือนธันวาคม – เมษายนของทุกปี ส่งผลให้พืชเศรษฐกิจทุกประเภทได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะการทำไร่อ้อย ทำให้ผลผลิตตกต่ำ และเกษตรกรต้องเสี่ยงต่อความเสียหาย เนื่องจากความผันแปรของสภาพฝนเป็นประจำทุกปี

S 127983665
ภาดล ถาวรกฤชรัตน์

ที่สำคัญ จังหวัดลพบุรี ได้มีการค้นพบจำปีชนิดใหม่ของโลก ชื่อว่า “จำปีสิรินธร” ในพื้นที่บ้านซับจำปา ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง เมื่อปี 2541 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ต้นไม้ในป่าพรุน้ำจืด พื้นที่ประมาณ 141 ไร่

ปัญหาที่สำคัญของป่าจำปีสิรินธร คือ การขาดแคลนน้ำพรุใต้ดิน ซึ่งในปัจจุบันเหลือเพียง 1 ตาน้ำเท่านั้น ส่งผลให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง ขาดความสมดุลทางธรรมชาติ

S 127983673
จำปีสิรินธร

แนวทางการแก้ไขคือ การพัฒนาแหล่งน้ำแบบบูรณาการในพื้นที่ 6 ตำบลดังกล่าว โดยการสูบน้ำมาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพื่อหล่อเลี้ยงผืนป่าพรุน้ำจืด ควบคู่ไปกับการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งของพื้นที่เกษตรกรรม โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในอำเภอท่าหลวง คือ ภาครัฐ ภาคเกษตรกร และภาคเอกชน เพื่อเกิดประโยชน์ในทุกด้าน ทั้งต่อโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา และช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ให้แก่พื้นที่ทำการเกษตรกรรม

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวต่อว่า ทางกรมจะดำเนินการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับแหล่งน้ำทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วย

  • อ่างเก็บน้ำบ้านสะพานสี่ ความจุ 160,000 ลบ.ม.
  • อ่างเก็บน้ำทะเลวังวัด 770,000 ลบ.ม.
  • อ่างเก็บน้ำห้วยซับใต้ 480,000 ลบ.ม.
  • อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำโจน 160,000 ลบ.ม.
  • ฝายฯ บ้านเนินสวอง 30,000 ลบ.ม.
  • ป่าจำปีสิรินธร 14,000 ลบ.ม.

fLB 07

พร้อมกันนี้ ยังจะแก้ปัญหาภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต้นน้ำ ถึงท้ายน้ำ ฟื้นฟูระบบนิเวศ รวมทั้ง ส่งเสริมการเกษตรกรรมให้กับประชาชนในพื้นที่ ฟื้นฟูระบบนิเวศแหล่งน้ำบริเวณพื้นที่โครงการ โดยจะมีระบบส่งน้ำ 3 จุด จุดแรก 11 กิโลเมตร จุดที่สอง 13 กิโลเมตร และจุดที่สาม 25 กิโลเมตร พื้นที่รับประโยชน์ตามแนวท่อส่งน้ำ 20,000 ไร่ รวมพื้นที่รับประโยชน์ 32,000 ไร่ การก่อสร้างคาดว่า จะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมนี้

Avatar photo