General

กรมชลฯ กางแผนรับ ‘แล้ง-น้ำหลาก’ แนะปลูกพืชใช้น้ำฝน

กรมชลประทาน คาดความต้องการน้ำทะลุ 3 หมื่นล้าน ลบ.ม.ขณะที่น้ำต้นทุนมี 1.1 หมื่นล้าน ลบ.ม. แนะปลูกพืชใช้น้ำฝน กางแผนรับน้ำหลาก

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า มาตรการบริหารจัดการน้ำในฤดูฝนปี 2563 เพื่อให้ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ มีเพียงพอสำหรับการใช้น้ำตลอดฤดูฝน 2563 และเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ปี 2563/64 หรือระหว่าง 1 พฤศจิกายน 2563-30 เมษายน 2564 ภายใต้ความต้องการใช้น้ำทั่วประเทศ 31,351.15 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำต้นทุนประมาณ 11,654 ล้าน ลบ.ม. (ณ วันที่ 1 พ.ค.2563)

30f942aaee50703a35dcb4c8c6282bcdf22df38
ทองเปลว กองจันทร์

ด้วยข้อจำกัดนี้ ส่งผลให้ กรมชลประทาน ต้องบริหารจัดการน้ำเพื่อความต้องการของทุกภาคส่วนภายใต้ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีจำกัด

สำหรับการจัดสรรน้ำฤดูฝนจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ตามแผนการจัดสรรน้ำ ภายใต้น้ำต้นทุนประมาณ 11,975 ล้าน ลบ.ม. (ณ วันที่ 23 เม.ย.2563) แบ่งเป็นน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค 2,980 ล้าน ลบ.ม. หรือ 25% ของน้ำต้นทุน รักษาระบบนิเวศและอื่น ๆ จำนวน 3,654 ล้าน ลบ.ม. หรือ 30% ของน้ำต้นทุน น้ำเพื่อทำการเกษตร จำนวน 4,974 ล้าน ลบ.ม.หรือ 42% ของปริมาณน้ำต้นทุน และน้ำเพื่ออุตสาหกรรม 367 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 3% ของน้ำต้นทุน

156344

จากความต้องการน้ำที่สูงถึง 31,351.15 ล้าน ลบ.ม.ขณะที่น้ำต้นทุนเหลือเพียง11,654 ล้าน ลบ.ม. กรมชลประทานจึงแนะนำให้เกษตรกร โดยเฉพาะชาวนา เพาะปลูกได้ก็ต่อเมื่อมีฝนตกและมั่นใจว่าจะตกต่อเนื่อง ไม่ทำให้พืชเกษตร หรือข้าวเสียหาย เพราะกรมชลประทานให้ทำนาปีด้วยน้ำฝน เนื่องจากน้ำต้นทุนที่มียังจำกัด

ขณะที่ในช่วงฤดูฝน กรมชลประทานต้องเตรียมมาตรการรับมือพื้นที่เสี่ยงจากอุทกภัยน้ำหลาก ปี 2563 ซึ่งทั่วประเทศ จะมีบางพื้นที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และมีบางพื้นที่จะมีฝนตกหนัก จนอาจเกิดน้ำท่วม หลังจากที่กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พ.ค.2563

578005

ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคม-กรกฏาคม พื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางพื้นที่ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมถึงภาคใต้ตอนกลาง มีปริมาณฝนตกต่ำกว่าปกติ และระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม ฝนจะทิ้งช่วงโดยเฉพาะพื้นที่ แล้งซ้ำซาก

จากนั้นเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีฝนตกต่ำกว่าปกติ แต่ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม อาจมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 1-2 ลูก

Avatar photo