General

‘กรมทรัพยากรน้ำ’ ตรวจโครงการ ‘แล้งนี้ต้องรอด’ เดินหน้าฟื้นฟูรับ ‘น้ำฝน’ ฤดูใหม่

นายพิสิทธิ์ ทิพย์โอสถ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 2 มอบหมายให้ส่วนพัฒนา และฟื้นฟูแหล่งน้ำ ลงพื้นที่สำรวจความเหมาะสมในการจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำหน่วยที่ 1 (ต้นน้ำป่าสัก) ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเปื่อย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ บ้านซำบุ่น ตำบลศิลา อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากในช่วงฤดูแล้ง ราษฎรในพื้นที่จะประสบปัญหา การขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภคและน้ำใช้เพื่อการเกษตร

8422996D 64FE 48D8 B6AB 3216F5B058D6

จากการตรวจสอบพื้นที่พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง มีลำห้วยภูผาซึ่งเป็นลำน้ำสาขาย่อยของแม่น้ำป่าสัก ในฤดูฝนจะมีน้ำหลากจำนวนมากไหลผ่านลำห้วย เมื่อถึงฤดูแล้งน้ำจะแห้งขอดจากสภาพดังกล่าว

สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 2 ได้ศึกษาหาแนวทางที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้ได้ลงตรวจสอบพื้นที่ร่วมกับ นายจักรัตน์ พั้วช่วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 จังหวัดเพชรบูรณ์ และผู้นำชุมชนในพื้นที่

ส่วนที่จังหวัดปราจีนบุรี นายสุเมธ สายทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 6 มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ และช่างควบคุมงาน ร่วมกับ ผู้รับจ้าง ลงพื้นที่เพื่อตรวจรับงานโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ พร้อมระบบกระจายน้ำ งวดที่ 1 ซึ่งเป็นโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

  • โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ พร้อมระบบกระจายน้ำ หมู่ที่ 3 ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี วงเงินก่อสร้าง 4,218,482 บาท เริ่มสัญญาวันที่ 31 มีนาคม 2563 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 26 ตุลาคม 2563 ระยะเวลาดำเนินงาน 210 วัน ผลการดำเนินงานปัจจุบัน 13.18%
  • โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ พร้อมระบบกระจายน้ำ หมู่ที่ 4 ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี วงเงินก่อสร้าง 4,038,230 บาท เริ่มสัญญาวันที่ 31 มีนาคม 2563 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 26 ตุลาคม 2563 ระยะเวลาดำเนินงาน 210 วัน ผลการดำเนินงานปัจจุบัน 10.63%

80BAEA6E 3A3E 4317 93AD 36183B179132

ขณะที่จังหวัดร้อยเอ็ด นายสาธิต สื่อประเสริฐสุข ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 4 มอบหมายให้ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ผู้ควบคุมงาน และตัวแทนผู้รับจ้าง ลงพื้นที่ตรวจงาน โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำห้วยเหล่าน้อย บ้านโคกสง่า หมู่ที่ 5 ตำบลปอภาร อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นโครงการ การขุดลอกพื้นที่ตื้นเขิน ก่อสร้างทางน้ำเข้า ก่อสร้างอาคารทางน้ำข้าม (wet box)

เมื่อแล้วเสร็จโครงการนี้จะสามารถเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำเป็น 50,000 ลบ.ม. พื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์ 46 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 299 ครัวเรือน

9C575CFE 4D54 4834 A03B CDF63EC3977D

Avatar photo