General

ปูนร่วง​ เรื่องใกล้ตัวที่ป้องกันได้​ ​ต้องตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย

จากเมื่อสองสามวันนี้ เกิดเหตุการณ์แผ่นปูนร่วงลงมาจากสถานีรถไฟฟ้าแห่งหนึ่ง เป็นอันตรายต่อประชาชนและผู้ขับขี่ยานพาหนะ
ศ.ดร. อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย เปิดเผยว่า เหตุการณ์แผ่นปูนร่วงลงมาจากสถานีรถไฟฟ้าแห่งหนึ่ง​ ตามข่าวบอกว่าเกิดจากสนิมเหล็ก ซึ่งก็เป็นไปได้สูง แต่ต้องวิเคราะห์ว่า เป็นสนิมของเหล็กเสริมด้านใน หรือ หรือเหล็กเสริมที่บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างแผ่นปูน
สภาวิศวกร
เมื่อพูดถึงสนิมเหล็กกับโครงสร้างคอนกรีต พบว่าเป็นปัญหาใหญ่ทีเดียว เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น
1. สภาพสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองซึ่งมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งริมถนนที่มีการจราจรมาก ทำให้เกิดปฏิกริยาคาร์บอเนชั่น และลดความเป็นด่างในคอนกรีตลงซึ่งทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิมได้ง่ายขึ้น
2. ระยะหุ้มคอนกรีต หากคอนกรีตมีระยะหุ้มเหล็กน้อยไป จะส่งผลให้สารเคมีแพร่เข้าไปทำปฏิกริยากับเหล็กเสริมด้านใน เกิดเป็นสนิมได้ง่ายขึ้น
สำหรับกรณีที่เป็นการวิบัติที่จุดยึดต่อยึดแผ่นปูนกับเข้ากับโครงสร้างหลัก ต้องตรวจสอบว่าการยึดแผ่นปูนนั้นใช้วัสดุอะไร เหล็กฉาก หรือ เหล็กเส้น ตลอดจนวิธีการเชื่อมต่อ หากทำไม่ถูกวิธี แผ่นปูนก็อาจร่วงหล่นได้ รวมทั้งความชื้นที่เกิดจากการระบายน้ำ และ น้ำฝนก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสนิม
aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL21uLzAvdWQvMTM0LzY3MzgwMS9idHMuanBn
ด้านแนวทางป้องกันปัญหาแผ่นปูนร่วงเบื้องต้นนั้น ต้องมีการตรวจสอบโดยวิศวกรที่มีความชำนาญ ซึ่งทำได้หลายวิธีคือ
1. การตรวจสอบเชิงพินิจ ซึ่งเป็นการดูด้วยสายตา แต่วิธีการนี้ก็อาจตรวจไม่พบสนิมที่เกิดขึ้นด้านใน
2. การตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือเบื้องต้น เช่น Half Cell Potential ซึ่งจะวัดความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้าภายในเหล็กเสริมและสามารถบ่งชี้โอกาสการเกิดสนิมเหล็กได้
3. การตรวจสอบด้วยวิธีทำลาย (Destructive testing)
หากเป็นเหล็กเสริมด้านใน การตรวจเชิงพินิจ อาจไม่เห็นสนิม อาจต้องใช้ทั้งเครื่องมือและการตรวจสอบแบบทำลายร่วมด้วย แต่ถ้าเป็นจุดยึดที่เกิดสนิม ก็อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ทั้งนี้ ควรตรวจสอบเป็นระยะๆ เพื่อความปลอดภัย

Avatar photo