General

เตรียมลดการระบายน้ำ ‘เขื่อนเจ้าพระยา’ เร่งผันน้ำไปฝั่งตะวันออก ลดผลกระทบน้ำทะเลหนุน 13-24 ต.ค.

กรมชลฯ เตรียมลดการระบายน้ำ “เขื่อนเจ้าพระยา” เร่งผันน้ำไปฝั่งตะวันออกสู่คลองชัยนาท-ป่าสัก ลดผลกระทบน้ำทะเลหนุน 13-24 ต.ค.

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่ยวข้อง ถึงสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน เพื่อปรับแผนรับมือสถานการณ์น้ำอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนมากที่สุด

เขื่อนเจ้าพระยา

บริหารน้ำ ปิง-วัง-ยม-น่าน

ทั้งนี้ แม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน ที่จะมามีผลต่อลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะมีการบริหารจัดการอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะให้เขื่อนเจ้าพsะยาสามารถลดการระบายน้ำให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้บ้านเรือนของประชาชนที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ ตั้งแต่ จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ที่กำลังได้รับผลกระทบอยู่แล้วไม่ได้รับผลกระทบไปมากกว่านี้

ขณะที่ทางเขื่อนสิริกิติ์ปัจจุบันมีการระบายน้ำอยู่ที่ 5 ล้าน ลบ.ม./วัน และยังไม่มีการระบายเพิ่ม แต่อย่างไรก็ตามได้มีการประเมินปริมาณฝนที่จะเข้ามาเติมภายในเขื่อนสิริกิติ์ ที่จะยังไม่มีในระยะนี้ยาวไปจนถึงสัปดาห์หน้า ก็จะทำให้สามารถคงการระบายน้ำไว้เท่าเดิมได้ เพื่อจะสามารถลดปริมาณน้ำในแม่น้ำน่าน และทำให้ปริมาณน้ำที่ท่วมขังในแม่น้ำยม และทุ่งบางระกำ จังหวัดพิจิตร ระบายลงสู่แม่น้ำน่านแทน ไม่ให้ไปเพิ่มปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา

ส่วนที่บึงบอระเพ็ด ล่าสุดได้รับน้ำหลากเข้าไปแล้วที่ประมาณ 290 ล้าน ลบ.ม.และยังเหลือศักยภาพที่จะรับน้ำจากแม่น้ำน่านเข้าไปได้อีกประมาณ 80-90 ล้าน ลบ.ม.

เขื่อนเจ้าพระยา
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล

ลดการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ลดผลกระทบน้ำทะเลหนุน 13-24 ต.ค.

อีกทั้งยังได้หารือกับกรมชลประทาน ทราบว่าปัจจุบันระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพsะยา ล่าสุดอยู่ที่ 16.5 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง และปัจจุบันมีการระบายน้ำท้ายเขื่อนฯที่ 2,200 ลบ.ม./วินาที จึงได้พิจารณาที่จะระบายน้ำไปยังฝั่งตะวันออกให้มากขึ้น ไปยังโครงการมโนรมย์ เพื่อเข้าไปยังคลองชัยนาท-ป่าสัก

และจะผันน้ำลงไปยังทุ่งรับน้ำที่พี่น้องเกษตรกรเตรียมทุ่ง และมีความต้องการน้ำ สำหรับการเตรียมแปลงเกษตรกรรมที่จะทำเกษตรกรรมในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถช่วยตัดยอดน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพsะยาได้ในระดับหนึ่ง และลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนฯ ลง

ซึ่งคาดว่าจะสามาถลดการระบายน้ำที่เหนือเขื่อนฯ ได้ในวันพรุ่งนี้ ตั้งเป้าลดให้ได้มากถึง 50-100 ลบ.ม./วินาที และจะมีการประเมินลดการระบายน้ำลงตามขั้นบันได เพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงในห้วงวันที่ 13-24 ตุลาคมนี้ จึงไม่ต้องการให้มวลน้ำที่กำลังระบาย ไปสมทบกับน้ำทะเลหนุน

เขื่อนเจ้าพระยา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo