ปภ. เตือน! 45 จังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูง วันที่ 13–18 ก.ย. 2567
นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่าในช่วงวันที่ 13-17 กันยายน 2567 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนกลาง
ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 14 – 17 กันยายน 2567 นอกจากนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แจ้งว่า ระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง สถานการณ์ระหว่างวันที่ 13 – 18 กันยายน 2567 พร้อมแจ้งเตือน 45 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น่ำป่าไหลหลาก คลื่นลมแรง และระดับน้ำโขงเพิ่มสูง
พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขัง
ภาคเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน (อำเภอเมือง ปางมะผ้า ปาย สบเมย) เชียงใหม่ (อำเภอจอมทอง ฮอด) เชียงราย (อำเภอแม่สาย เชียงแสน แม่จัน แม่ฟ้าหลวง) พะเยา (อำเภอปง เชียงคำ จุน ภูกามยาว) น่าน (อำเภอทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ ปัว บ่อเกลือ เชียงกลาง) ตาก (อำเภอท่าสองยาง แม่สอด พบพระ อุ้มผาง)
กำแพงเพชร (อำเภอปางศิลาทอง คลองลาน โกสัมพีนคร พรานกระต่าย) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ นครไทย วัดโบสถ์ วังทอง เนินมะปราง) พิจิตร (อำเภอโพธิ์ประทับช้าง) เพชรบูรณ์ (อำเภอเมือง หนองไผ่ หล่มเก่า หล่มสัก) และนครสวรรค์ (อำเภอแม่วงก์ แม่เปิน)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้แก่ เลย (อำเภอนาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย ปากชม) หนองคาย (อำเภอเมือง สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก) บึงกาฬ (อำเภอเมือง ปากคาด บุ่งคล้า โซ่พิสัย เซกา บึงโขงหลง) หนองบัวลำภู (อำภอสุวรรณคูหา) อุดรธานี (อำเภอนายูง น้ำโสม) สกลนคร (อำเภอเมือง ภูพาน สว่างแดนดิน) นครพนม (อำเภอเมือง อ.ศรีสงคราม) ชัยภูมิ (อำเภอเมือง คอนสาร หนองบัวแดง) ขอนแก่น (อำเภอเมือง ภูผาม่าน ชุมแพ บ้านไผ่)
มหาสารคาม (อำเภอเมือง) กาฬสินธุ์ (อำเภอเมือง ยางตลาด ร่องคำ) มุกดาหาร (อำเภอเมือง หว้านใหญ่ ดอนตาล) ร้อยเอ็ด (อำเภอเมือง เสลภูมิ) ยโสธร (อำเภอเมือง ป่าติ้ว คำเขื่อนแก้ว) อำนาจเจริญ (อำเภอเมือง ชานุมาน) นครราชสีมา (อำเภอปากช่อง วังน้ำเขียว) บุรีรัมย์ (อำเภออำเภอเมือง) สุรินทร์ (อำเภอเมือง ปราสาท) ศรีสะเกษ (อำเภอเมือง ยางชุมน้อย) และอุบลราชธานี (อำเภอเมือง วารินชำราบ ตาลสุม น้ำยืน พิบูลมังสาหาร น้ำขุ่น)
ภาคกลาง 8 จังหวัด ได้แก่ นครนายก (อำเภอเมือง ปากพลี) ปราจีนบุรี (อำเภอกบินทร์บุรี นาดี) สระแก้ว (อำเภอเมือง) ฉะเชิงเทรา (อำเภอสนามชัยเขต ท่าตะเกียบ) ชลบุรี (อำเภอศรีราชา บางละมุง) ระยอง (อำเภอเมือง แกลง บ้านค่าย) จันทบุรี (อำเภอเมือง เขาคิชฌกูฏ สอยดาว โป่งน้ำร้อน มะขาม ขลุง) และตราด (ทุกอำเภอ)
ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง (ทุกอำเภอ) พังงา (อำเภอเมือง คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ท้ายเหมือง) ภูเก็ต (ทุกอำเภอ) กระบี่ (อำเภอเมือง เหนือคลอง อ่าวลึก คลองท่อม ปลายพระยา เกาะลันตา) ตรัง (อำเภอเมือง ปะเหลียน นาโยง กันตัง สิเกา ห้วยยอด วังวิเศษ) และสตูล (อำเภอเมือง ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า มะนัง)
พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง
ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี (อำเภอเมือง ศรีราชา เกาะสีชัง บางละมุง สัตหีบ) ระยอง (อำเภอเมือง บ้านฉาง แกลง) จันทบุรี (อำเภอนายายอาม ท่าใหม่ แหลมสิงห์ ขลุง) และตราด (อำเภอเมือง แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะช้าง เกาะกูด)
ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง (อำเภอเมือง สุขสำราญ กะเปอร์) พังงา (อำเภอเกาะยาว ตะกั่วทุ่ง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า คุระบุรี) ภูเก็ต (ทุกอำเภอ) กระบี่ (อำเภอเมือง คลองท่อม เกาะลันตา เหนือคลอง อ่าวลึก) ตรัง (อำเภอกันตัง สิเกา ปะเหลียน หาดสำราญ) และสตูล (อำเภอเมือง ละงู ท่าแพ ทุ่งหว้า)
พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น
ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย (อำเภอเชียงแสน เชียงของ)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ เลย (อำเภอเชียงคาน) หนองคาย (อำเภอเมือง สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย รัตนวาปี เฝ้าไร่) บึงกาฬ (อำเภอเมือง ปากคาด บุ่งคล้า บึงโขงหลง เซกา) นครพนม (อำเภอเมือง บ้านแพง ท่าอุเทน ธาตุพนม เรณูนคร ศรีสงคราม) มุกดาหาร (อำเภอเมือง หว้านใหญ่ ดอนตาล) อำนาจเจริญ (อำเภอชานุมาน) และอุบลราชธานี (อำเภอนาตาล)
ประสาน 45 จังหวัดเตรียมรับมือและแจ้งเตือนประชาชน
ทั้งนี้ ได้ประสานแจ้ง 45 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยภัย เตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณฝนที่ตกหนักหรือบริเวณฝนสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัยได้ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่า โดยกำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ สภาพน้ำ และเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตก ถ้ำลอด หากมีฝนตกหนักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยน้ำท่วมฉับพลัน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบ ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ห้ามบุคคลใดเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด
สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบออกประกาศหรือติดตั้งสัญญาณเตือนประชาชนที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ตลอดจนแจ้งนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำในช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเด็ดขาด
นอกจากนี้ ให้จังหวัดประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบแจ้งเตือนไปยังชาวเรือ ผู้บังคับเรือ และผู้ประกอบการเดินเรือโดยสารให้เดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหากสถานการณ์มีความรุนแรงขึ้น ให้จังหวัดพิจารณาห้ามการเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด ส่วนพื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น ให้จังหวัดติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนให้ประชาชนที่สัญจรทางน้ำและผู้ประกอบกิจกรรมบริเวณแม่น้ำโขง รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำโขงทราบล่วงหน้า
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- ด่วน! เทศบางเมืองหนองคาย ปักธงแดง เตือนภัยน้ำแม่น้ำโขงระดับสูงสุด น้ำเริ่มเอ่อท่วม เร่งอพยพแล้ว
- เช็กที่นี่! ‘น้ำท่วมเชียงราย’ แจ้งน้ำท่วมถนน สัญจรผ่านไม่ได้รวม 15 สายทาง
- ‘สนามบินแม่ฟ้าหลวง’ ยืนยัน น้ำไม่ท่วมอาคารผู้โดยสาร-รันเวย์ เครื่องบินขึ้นลงได้ตามปกติ
ติดตามเราได้ที่
- เว็บไซต์ : https://www.thebangkokinsight.com/
- Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
- Twitter: https://twitter.com/BangkokInsight
- Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
- Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yx