General

ไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ระบาดในสหรัฐ อาจมีต้นกำเนิดจากห้องแล็บ

นักวิจัยเผยการระบาดของไวรัสไข้หวัดนก H5N1 Clade 2.3.4.4b จีโนไทป์ B3.13 ในวัวนมของสหรัฐฯ ขณะนี้ อาจเป็นไวรัสที่มีต้นกำเนิดจากห้องแล็บ

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics  เผยผลวิจัยพบการระบาดของไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ในสหรัฐ อาจมีต้นกำเนิดมาจากห้องแล็บ โดยระบุว่า

ไวรัสไข้หวัดนก H5N1

ไวรัสไข้หวัดนก H5N1 Clade (กลุ่ม) 2.3.4.4b ไทป์ B3.13 ที่สร้างความกังวลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เนื่องจากพบการระบาดในวัวนมในสหรัฐ ที่อาจกลายเป็นโรคประจำถิ่นในวัวทำให้ใกล้ชิดกับบุคลากรในฟาร์มโคนม อันอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อมาสู่คน และเกิดการระบาดใหญ่จากคนสู่คน ได้ในอนาคต

ในปี 2567 มีการตรวจพบสายพันธุ์ HPAI H5N1 คลาด 2.3.4.4b จีโนไทป์ B3.13 ซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อสัตว์หลายชนิด และส่งผลให้มีการติดเชื้อในคนบางรายเกิดขึ้น HPAI H5N1 กลุ่ม 2.3.4.4b พบครั้งแรกในเนเธอร์แลนด์ในปี 2563 ทำให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับงานวิจัยทางห้องปฏิบัติการที่เพิ่มขีดความสามารถของไวรัสไข้หวัดนกในการติดต่อจากสัตว์มาสู่คน

การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมชี้ว่า เจนไทป์ B3.13 นั้นเกิดขึ้นในปี 2567 และมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกับจีโนไทป์ B1.2 ซึ่งพบว่ามีแหล่งกำเนิดในจอร์เจียในเดือนมกราคม 2565 หลังจากที่มีการวิจัยทำการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 Clade 2.3.4.4b ในนกเป็ดน้ำ (mallard ducks) โดยห้องปฏิบัติการของกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) ชื่อว่า Southeast Poultry Research Laboratory (SEPRL) ในแอธินส์, รัฐจอร์เจีย ในเดือนเมษายน 2564

นอกจากนี้ ยังตรวจพบจีโนไทป์ B1.2 ในโลมาขวด (bottlenose dolphin) ในรัฐฟลอริดาในเดือนมีนาคม 2565 แสดงให้เห็นการปรับตัวของไวรัสไข้หวัดนกอย่างรวดเร็วเพื่อติดต่อไปยังสัตว์ชนิดอื่น

จากหลักฐานเหล่านี้ จึงมีการเสนอแนะให้มีการพักการวิจัยที่เพิ่มขีดความสามารถ (gain-of-function) ของไวรัสไข้หวัดนกH5N1 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดใหญ่ที่ก่อตัวขึ้นจากการทดลองโดยมนุษย์ (man-made virus)

สามนักวิจัย Nicolas Hulscher, John Leake และ Peter McCullough จากสถาบัน McCullough Foundation ตั้งสมมุติฐานว่า ไวรัสไข้หวัดนกH5N1 กลุ่ม 2.3.4.4b จีโนทัยป์ B3.13 ที่พบการระบาดในวัวนมในสหรัฐในปีนี้ อาจมีต้นกำเนิดจากห้องปฏิบัติการที่ Erasmus Medical Center, เนเธอร์แลนด์ ปี 2555 และ USDA Southeast Poultry Research Laboratory (SEPRL), สหรัฐ ปี 2564

ทั้งสองห้องปฏิบัติการทำการทดลองที่เรียกว่า การนำไวรัสไข้หวัดนก H5N1 Clade 2.3.4.4b มาติดเชื้อในเป็ด แล้วแยกเชื้อไวรัสออกมานำมาติดช้ำในเป็ดประเภทเดียวกันอีกหลายรุ่น (serial passage gain-of-function) เพื่อกระตุ้นการกลายพันธุ์ในไวรัส เพื่อเพิ่มคุณสมบัติเฉพาะ เช่น การแพร่เชื้อหรือความรุนแรง จนได้ไวรัสจีโนไทป์ใหม่ B.3.13

ไข้หวัดนก1

นักวิจัยทั้งสองได้ตั้งสมมติฐานว่า ไวรัสไข้หวัดนกH5N1 กลุ่ม 2.3.4.4b จีโนไทป์ B3.13 ที่ระบาดในวัวนมในสหรัฐในปี 2567 น่าจะเป็นไวรัสที่หลุดออกมาจากห้องปฏิบัติการ USDA Southeast Poultry Research Laboratory (SEPRL) ในสหรัฐฯ เนื่องจากสาเหตุหลักดังต่อไปนี้

1. ความเหมือนกันทางพันธุกรรม

  • การกลายพันธุ์ที่เฉพาะเจาะจง ไวรัสที่พบในวัวนมมีตำแหน่งการกลายพันธุ์ที่ตรงกับไวรัสที่เคยทำการวิจัยในห้องปฏิบัติการ SEPRL ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงทางพันธุกรรมระหว่างไวรัสทั้งสอง
  • การวิเคราะห์ทางพันธุกรรม: การถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสที่พบในวัวนมและไวรัสที่เคยทำการวิจัยในห้องปฏิบัติการ SEPRL แสดงลำดับพันธุกรรมที่เกือบจะเหมือนกัน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงที่มาของไวรัส

2. ประวัติการวิจัยในห้องปฏิบัติการ

  • การวิจัยการเพิ่มคุณสมบัติ (Function) ของไวรัส (Gain-of-Function: GOF): ห้องปฏิบัติการ SEPRL มีประวัติการวิจัยการเพิ่มฟังก์ชันของไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นให้ไวรัสเกิดการกลายพันธุ์จนสามารถเพิ่มความรุนแรงและความสามารถในการแพร่เชื้อ จากเดิมที่ทำให้เป็ดติดเชื้อตายบางส่วน จนได้สายพันธุ์ที่ทำให้เป็ดตาย 100% ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดการระบาดในสัตว์และคนหากเกิดการรั่วไหลของไวรัสที่ผ่านการเพิ่มขีดความสามารถในการติดเชื้อในห้องปฏิบัติการ (man-made virus) ออกมาสู่สิ่งแวดล้อม
  • ห้องปฏิบัติการ “SEPRL” มีประวัติทำการทดลองการติดเชื้อในนกเป็ดน้ำหลายรุ่นอย่างต่อเนื่อง (serial passage): ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ในการวิจัยเพื่อดูว่าการกลายพันธุ์จะเกิดขึ้นอย่างไรและส่งผลต่อไวรัสอย่างไร

3. ความบังเอิญของเวลาและสถานที่

  • การระบาดในปี 2567 ไวรัสที่พบในวัวนมเริ่มระบาดในปี 2567 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากที่มีการวิจัยและการทดลองในห้องปฏิบัติ SEPRL ซึ่งเป็นไปได้ว่าไวรัสอาจหลุดออกมาจากห้องปฏิบัติการในช่วงเวลานี้
  • สถานที่ตั้ง การระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่ใกล้เคียงกับที่ตั้งของห้องปฏิบัติการ SEPRL ซึ่งเพิ่มโอกาสในการเชื่อมโยงระหว่างไวรัสกับห้องปฏิบัติการ

4. ประวัติการรั่วไหลของไวรัส

  • เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้: มีบันทึกเหตุการณ์การรั่วไหลของไวรัสจากห้องปฏิบัติการในอดีต ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่ไวรัสอาจหลุดออกมาจากห้องปฏิบัติการอีกครั้ง
  •  มาตรการความปลอดภัย: แม้จะมีมาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวด แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่ไวรัสอาจหลุดออกมาจากห้องปฏิบัติการได้
  • ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยจำนวนหนึ่งได้ออกมาเตือนให้สถาบันต่างๆ ลด ละ หรือเลิกการทดลองแยกเชื้อไวรัสหรือบรรดาจุลชีพจากสัตว์ป่าและนำมาเพาะเลี้ยงในเซลล์หรือสัตว์ทดลอง โดยอาจมีการตัดแต่งพันธุกรรมร่วมด้วยเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของไวรัสและจุลชีพที่เราไม่รู้จักมาก่อน เนื่องจากอาจทำให้เกิดเชื้อกลายพันธุ์จนกลายเป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากขึ้น และยังมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการรั่วไหลจากห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 และ 4 ซึ่งมักตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน ออกมาแพร่ระบาดในหมู่ประชาชน

สรุปคือ ข้อมูลที่จะได้จากการทดลองในห้องปฏิบัติการ อาจจะได้ไม่คุ้มเสีย หากไวรัสหลุดออกมาระบาดในสัตว์เศรษฐกิจ หรือในหมู่ประชาชน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo