General

เช็กข้อกฎหมาย ‘เมาแล้วขับ’ ช่วงสงกรานต์ มีโทษอย่างไรบ้าง?

เช็กข้อกฎหมาย “เมาแล้วขับ” ช่วงสงกรานต์ มีโทษปรับ-จำคุก อย่างไรบ้าง? 

ใกล้ถึงเทศกาลสงกรานต์แล้ว ประชาชนวางแผนเดินทางกลับภูมิลำเนาหาครอบครัว รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพือความเป็นสิริมงคลตามประเภณี และคงหนีไม่พ้นการดื่มสังสรรค์ กินเลี้ยงฉลอง แต่ต้องพึงระวัง หากมีอาการมึนเมาก็ไม่ควรจะขับขี่ยานพาหนะเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้ใช้ถนน

โทษ

เมาแล้วขับ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และมีความผิดตาม พ...จราจรทางบกที่บังคับใช้ในปัจจุบัน แต่ต่อไปจะมีพ...จราจรทางบกฉบับใหม่ออกมาบังคับใช้ซึ่งมีโทษหนักขึ้นกว่าเดิม !!

การเมาแล้วขับจะมีโทษ คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่ต่ำกว่า 6 เดือน สำหรับผู้ที่ปริมาณเแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

แต่หากปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ขับขี่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือ ผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว (ใบอนุญาตแบบ 2 ปี) ถือเป็น “ผู้เมาสุรา”

ในกรณีที่เมาแล้วขับ แล้วปฏิเสธการเป่า จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 – 20,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน และศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และสามารถยึดรถไว้ไม่เกิน 7 วัน

shutterstock 2261506217

บทลงโทษเมาแล้วขับจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ

1. กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บ”

     จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

2. กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บสาหัส”

    จำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี

3. กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “ถึงแก่ความตาย” 

     จำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที

กฎหมายและโทษของการชนแล้วหนี

  • กรณีที่ไม่มีผู้บาดเจ็บ หรือถึงแก่ชีวิต : จำคุก 3 เดือน หรือ ปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
  • กรณีมีผู้บาดเจ็บ หรือถึงแก่ชีวิต :จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

เมาแล้วขับ ประกันคุ้มครองไหม     

สำหรับประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ หากเมาแล้วขับจนเกิดอุบัติเหตุหากพบว่าผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ บริษัทประกันจะไม่จ่ายสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัย แต่จะทำการจ่ายให้กับคู่กรณีแทน แล้วภายหลังจากนั้นบริษัทประกันภัยจะไปไล่เบี้ยเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนกับผู้ขับขี่ที่เมาแล้วขับอีกด้วย

ส่วนประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ถึงแม้ว่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ก็จะยังให้ความคุ้มครองทั้งตัวผู้เมาแล้วขับ และคู่กรณี โดยจะให้ความคุ้มครองในส่วนของค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น ส่วนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบเอง

ข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo