General

ดึงชุมชนร่วมอนุรักษ์ ‘เมืองเก่า’ ส่งต่อลูกหลาน-พัฒนายั่งยืน

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินหน้า อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าหวังชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

41A5D384 1AA4 4D38 9324 E0551D804C38

ดร. รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวระหว่างการประชุมสัมมนาวิชาการ คณะอนุกรรมการอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเก่า ครั้งที่ 2 ว่า  เมืองเก่าเป็นนิยามของเมืองที่มีคุณลักษณะและองค์ประกอบเมืองที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ของท้องถิ่น

ทั้งคุณค่าในมิติทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และศิลปะ อันเป็นรากฐานสําคัญของมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศ ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษณ์และส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่น่าภาคภูมิใจของชุมชน รวมถึงการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นของประเทศ

ด้วยความสําคัญดังกล่าว ทําให้รัฐบาลกำหนดนโยบายการดําเนินงานอนุรักษณ์และพัฒนาเมืองเก่า เป็นพิเศษเฉพาะพื้นที่ โดยมีคณะกรรมการอนุรักษณ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า และสํานักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือ (สผ.) เป็นสํานักงานเลขานุการ

ปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ประกาศเขต พื้นที่เมืองเก่า และได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอนุรักษณ์ และพัฒนา เมืองเก่า จํานวน 31 เมือง ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และเป็นที่ทราบกันดีว่า มิติด้านสิ่งแวดล้อมที่สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องดูแล นอกจากจะเป็นเรื่องทางด้าน Brown Agenda คือ ด้านมลพิษทั้งหลาย และ Green Agenda ที่เกี่ยวข้องกับ ทรัพยากรธรรมชาติ

PBI 01

แต่ยังมีมิติสิ่งแวดล้อมที่สําคัญอีกมิติหนึ่งคือ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก ที่จะต้องให้ความสําคัญเพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่สําคัญระดับชาติที่ สผ. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดูแล คือ พื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า

“สําหรับพื้นที่ กรุงรัตนโกสินทร์ทุกท่านคงทราบความสําคัญกันดีแล้ว แต่ในเรื่องเมืองเก่า แม้จะไม่ได้เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ก็มี ประเด็นที่ต้องขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาล ขณะนี้เรามีเมืองเก่าที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพื่อการประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าแล้ว 31 เมือง และอยู่ระหว่างดําเนินการ 5  เมือง คือ เมืองพิษณุโลก เมืองร้อยเอ็ด เมืองอุทัยธานี เมืองตรัง และเมืองฉะเชิงเทรา”

ด้านรองศาสตราจารย์โรจน์ คุณอเนก กล่าวถึงเรื่องคุณประโยชน์ของเมืองเก่าในสังคมร่วมสมัย โดยเน้นย้ำถึงเมืองเก่านั้นเป็นรากฐานของเมืองใหม่

เขาบอกว่า ผู้คนที่อยู่เมืองเก่านั้นเป็นรากฐานที่ก่อให้เกิดเมืองใหม่ขึ้นมา ซึ่งในวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ต้องเก็บรักษาของเก่าเอาไว้ให้ได้มากที่สุดเพื่อส่งต่อให้กับลูกหลานในอนาคต

85ECF9CF 243F 4A43 A3A5 4D7F462FFE71

แกนหลักความยั่งยืน

  1. ด้านสิ่งแวดล้อม ในเมืองเก่าเป็นเมืองที่รักษาสภาพแวดล้อมไว้ได้มากที่สุด บรรยากาศ แม่น้ำใสสะอาด ไม่มีมลพิษดังนั้นเมืองเก่าจึงช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้
  2. ด้านเศรฐกิจ เมืองเก่ากลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวจึงทำให้มีนักท่องเที่ยวมากันมากมาย
  3. ด้านสังคม ซึ่งด้านสังคมเป็นด้านที่สำคัญมากที่สุด เพราะเมืองเก่าเป็นจิตวิญญาณเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชนในการซึมซับพื้นฐานในการดำเนินชีวิต

ดังนั้นการอนุรักษ์เมืองเก่าจึงเป็นหัวใจสำคัญถ้าไม่อนุรักษ์ไว้ก็จะค่อยๆหายไป

ส่วนในด้านของการจัดทำแผนแม่บทนั้นจะเน้นเรื่องของกระบวนการมีส่วนร่วม เนื่องจากแต่ละเมืองเก่านั้นมีบริบทที่แตกต่างกัน และการอนุรักษ์นั้นสามารถไปได้กับการพัฒนาควบคู่กัน หรือเรียกได้ว่าการพัฒนาในเชิงอนุรักษ์

Avatar photo