General

‘จักรพงษ์’ ยอมรับ มีคนไทยถูกจับตัวเพิ่ม 2 ราย รวมเป็น 16 ราย ย้ำในสภาฯ รัฐบาลทำทุกทางช่วยคนไทย

“จักรพงษ์” ยอมรับ มีคนไทยถูกจับตัวเพิ่ม 2 ราย รวมเป็น 16 ราย ตอบกระทู้สดในสภาฯ รัฐบาลทำทุกทางที่จะช่วยคนไทยให้รวดเร็วและปลอดภัย

วันที่ 12 ตุลาคม 2566 ในการการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม นายวัชระพล ขาวขำ สส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้สดสอบถามเรื่องแรงงานไทยในอิสราเอล

โดย นายวัชระพล กล่าวว่า อยากทราบแนวนยโยบายและมาตรการของกระทรวงต่างประเทศ ในการรับมือช่วยเหลือแรงงานไทยในอิสราเอง หากสถานการณ์การสู้รบขยายวงกว้าง  ในขณะที่ปัจจุบันมีแรงงานที่ยังไม่สามารถติดต่อหน่วยงานให้เข้าไปช่วยเหลือ การติดต่อค่อนข้างลำบาก หรือมีการวางแผนเตรียมอพยพแรงงานไทยกลับประเทศอย่างไรบ้าง รวมไปถึง หากแรงงานที่กลับเมืองไทยแล้ว เมื่อสถานการณ์สงบจะกลับไปทำงานต่อ ซึ่งรัฐบาลควรจะมีการวางแนวทางไว้

จักรพงษ์

ถูกจับเพิ่ม 2 ราย รวมเป็น 16 ราย

นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวชี้แจงว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจและทำทุกทางอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ โดยได้ตั้งศูนย์ประสานงานสถานการณ์ฉุกเฉิน (RRC) เป็นกลไกหลักในการพิจารณาเรื่องให้ความช่วยเหลือคนไทยเร่งด่วนไปจนถึงการอพยพ ซึ่งศูนย์ประสานงาน RRC ทำงานแข่งกับเวลาทุกวินาทีเพราะเราเข้าใจพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในอิสราเอล

ขณะนี้ จากที่ได้รับรายงานมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 21 ราย มีผู้บาดเจ็บ 14 ราย และมีแรงงานถูกจับเพิ่มอีก 2 ราย รวมเป็น 16 ราย

ในส่วนของผู้เสียชีวิตขณะนี้ 21 ราย เป็นตัวเลขที่ได้รับรายงานจากนายจ้าง สำนักแรงงาน ณ กรุงเทลอาวีฟ ซึ่งยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ ทางสถานเอกอัครราชทูตไทยได้ติดต่อกับกระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลแล้ว

ได้รับแจ้งว่า จะใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการยืนยันตัวตนอย่างเป็นทางการ เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และทางอิสราเอลประกาศว่า จะเยียวยาเหยื่อสงครามในครั้งนี้ด้วย ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บ 14 ราย ทางเอกอัครราชทูต ได้เข้าเยี่ยมแล้วและส่งผู้บาดเจ็บเล็กน้อยกลับประเทศไทย

จักรพงษ์
แรงงานไทยจากอิราเอลเดินทางถึงไทยชุดแรก

ประสานทูต-องค์กรนานาชาติให้ช่วยเจรจา

ส่วนผู้ที่ถูกลักพาตัว 16 ราย กระทรวงการต่างประเทศใช้ความพยายามเต็มที่สื่อสารไปยังกลุ่มฮามาส จับกุมคนไทยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง แต่ปาเลสไตน์ไม่มีทูตประจำประเทศไทย

ดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศได้ประสานทูตต่างชาติที่ประจำในไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับปาเลสไตน์ รวมถึงกลไกอาเซียนเพื่อให้ปล่อยตัว รวมถึงองค์กรนานาชาติ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวกับมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้ช่วยเหลือด้วย

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นเหตุความมั่นคง ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดเชิงลึกได้ แต่ขอให้มั่นใจว่ารัฐบาลจะทำทุกทาง ในการดูแลพี่น้องชาวไทยที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบให้รวดเร็วและปลอดภัยที่สุด

จักรพงษ์
แรงงานไทยจากอิราเอลเดินทางถึงไทยชุดแรก

สำหรับเรื่องการอพยพคนไทยกลับประเทศ ในวันนี้ (12 ต.ค.) ได้มีการเดินทางกลับมาแล้วส่วนแรก โดยจะได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย เช่น เงินสงเคราะห์ 15,000 บาท กรณีพิการ 15,000 บาท กรณีทุพพลภาพ 30,000 บาท ค่าจัดงานศพในต่างประเทศเท่าที่จ่ายจริงหรือไม่เกิน 40,000 บาทเป็นต้น  นอกจากนั้นยังมีการเยียวยาทางจิตใจของครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบและสูญเสีย

และรัฐบาลกำลังเร่งหาเที่ยวบิน รวมทั้เครื่องบินของกองทัพอากาศ เพื่ออพยพคนไทย นอกจากนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังสั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศ หาช่องทางอพยพคนไทยออกมาจากพื้นที่ให้มากที่สุด ทั้งทางอากาศ น้ำ และทางบก อย่างไรก็ตามภาวะสู้รบที่มีต่อเนื่องทำให้การอพยพเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่รํบบาลก็จะพยายามอย่างที่สุด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo