General

คณะจิตวิทยา จุฬาฯ เผยสิ่งที่ควร-ไม่ควรทำ ในการนำเสนอข่าวและแชร์ข้อมูล กรณีกราดยิงในห้างดัง

คณะจิตวิทยา จุฬาฯ เผยสิ่งที่ควร-ไม่ควรทำ ในการนำเสนอข่าวและแชร์ข้อมูล กรณีกราดยิงในห้างดัง

จากกรณี เด็กอายุ 14 ปี ก่อเหตุกราดยิงในห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย โพสต์ให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก Chulalongkorn University เรื่องความเหมาะสมของการนำเสนอข่าวเหตุความรุนแรง เพื่อตัดวงจรการลอกเลียนแบบเหตุความรุนแรงและลดผลกระทบทางจิตใจต่อผู้เกี่ยวข้องและสังคม ขอความร่วมมือสื่อมวลชนและทุก ๆ ท่านเรื่องทิศทางการสื่อสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนี้

คณะจิตวิทยา จุฬาฯ

Don’t

  1. การเปิดเผยชื่อ ภาพ เครื่องแบบ อาวุธ เรื่องราวส่วนตัว ประวัติ และแรงจูงใจในการก่อเหตุของผู้กระทำผิด
  2. การสื่อความในลักษณะที่ทำให้ผู้ก่อเหตุดูเท่ ดูเก่ง เช่น ใช้คำบรรยายพฤติกรรมของผู้ก่อเหตุว่า “อุกอาจ” (อาจจะดูเท่ในสายตาของผู้ที่นิยมความรุนแรง)
  3. การรายงานเน้นจำนวนผู้เสียชีวิต/ผู้บาดเจ็บ เปรียบเทียบว่าครั้งนี้ตาย/บาดเจ็บกี่คน มากกว่าหรือน้อยกว่าครั้งก่อนเท่าไร

คณะจิตวิทยา จุฬาฯ

Do

  1. ไม่เอ่ยชื่อ ไม่ให้ตัวตนคนร้าย
  2. นำเสนอเรื่องราวของผู้ประสบเหตุแทน เพื่อสร้างตัวแบบทางบวกว่าคนเหล่านี้ผ่านเรื่องราวเลวร้ายร่วมกันมาได้อย่างไร
  3. เล่าเรื่องราวของผู้ที่แจ้งเหตุก่อน ผู้ที่ตัดสินใจเข้าไปช่วยเหลือคนอื่น

คณะจิตวิทยา จุฬาฯ

คณะจิตวิทยา จุฬาฯ

แนวทางการแชร์ข่าว

  1. ไม่ทำให้ผู้ก่อเหตุดูเป็นคนพิเศษ มีตัวตน มีพื้นที่ กลายเป็นที่ดูเท่ ดูน่ายกย่อง
  2. อัพเดตเหตุการณ์ตามจริง ตรงไปตรงมา ไม่เร้า

 

 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo