General

กทม. ฝากการบ้านรัฐบาลใหม่ แก้ ‘PM2.5’ เสนอย้ายท่าเรือคลองเตย กำหนดเขตควบคุมมลพิษต่ำ

กทม. ฝากการบ้านรัฐบาลใหม่ แก้ ‘PM2.5’ เสนอย้ายท่าเรือคลองเตย กำหนดเขตควบคุมมลพิษต่ำ เก็บค่าธรรมเนียมรถที่ปล่อยมลพิษ

เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร ได้เผยแพร่ข้อมูล การแก้ไขปัญหา ‘PM2.5’ เน้นการลดฝุ่นที่แหล่งกำเนิด ดังนี้

PM2.5

กำหนดเขตควบคุมมลพิษต่ำ-ย้ายท่าเรือคลองเตย

กทม.ฝากถึงรัฐบาลใหม่ แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5  โดยสนับสนุนให้มีมาตรการลดฝุ่นที่แหล่งกำเนิด ดังนี้

  1. นำแนวคิดเขตควบคุมมลพิษต่ำ (Low Emission Zone) หรือการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับรถที่ปล่อยมลพิษทางอากาศสูง ตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle: PPP) มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ กทม. ช่วงฝุ่นสูง เพื่อให้สามารถจำกัดปริมาณยานพาหนะซึ่งปล่อยมลพิษทางอากาศสูงที่เข้ามาในเมือง และเป็นการกระตุ้นให้คนหันมาดูแลรักษารถยนต์ให้มีมาตรฐาน ปล่อยมลพิษน้อยลง ใช้รถพลังงานสะอาดมากขึ้น หรือหันมาเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทน
  2. ส่งเสริมให้มีการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรประเภทต่าง ๆ โดยการนํามาใช้ประโยชน์ และสร้างต้นแบบในการทำการเกษตรปลอดการเผา เช่น กำหนดแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการจัดการฟางข้าว เพื่อสนับสนุนการหยุดเผาในพื้นที่ รวมถึงการผนวกมิติด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในกระบวนการกําหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อผลักดันให้เกิดแนวทางรับซื้อสินค้าจากเกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานทางการเกษตรที่ดี
  3. พิจารณาการย้ายท่าเรือคลองเตย ออกจากพื้นที่ กทม. เนื่องจากปัจจุบันมีคอนเทนเนอร์เข้ามาที่ท่าเรือคลองเตย กว่า 1 ล้านตู้ต่อปี รถบรรทุกไป-กลับ กว่า 2 ล้านเที่ยวต่อปี ทำให้การจราจรติดขัด ถนนพังเสียหาย การย้ายท่าเรือคลองเตยจะทำให้จำนวนรถบรรทุกที่เข้า-ออกเพื่อขนย้ายคอนเทนเนอร์ลดลง ซึ่งเป็นการลดแหล่งกำเนิดฝุ่น PM 2.5 ได้ นอกจากนั้นยังสามารถพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่สีเขียว เพิ่มปอดอีกแห่งให้แก่กรุงเทพฯ

PM2.5

พร้อมผลักดันมาตรการตามวาระแห่งชาติเรื่องการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

  1. การวางโครงสร้างพื้นฐานด้านสถานีชาร์จไฟทั่วประเท ศให้มีความสะดวกและประหยัดเวลาชาร์จไฟฟ้า
  2. ผลักดันการประกาศใช้มาตรฐานควบคุมมลพิษของรถยนต์รุ่นใหม่เป็นยูโร 5 และการปรับปรุงคุณภาพน้ํามันเชื้อเพลิงให้มีกํามะถันต่ำ

ทั้งนี้ การแก้ไขมลพิษด้านฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติ หากทำเพียงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งอาจจะแก้ปัญหาไม่ได้ เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน

shutterstock 402006502

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo