General

กทม. จับมือ สปสช. ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข ลดความเหลื่อมล้ำการรักษาพยาบาล

กทม. จับมือ สปสช. ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข เดินหน้า 4 นโยบายเพื่อชาวกรุง มุ่งแก้ความเหลื่อมล้ำการรักษาพยาบาล

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ร่วมประชุมหารือร่วมกับ คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระดับเขตพื้นที่ (อปสข.) เขต 13 กรุงเทพมหานคร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร

ความเหลื่อมล้ำ

สำหรับการประชุมวันนี้ เป็นการขับเคลื่อนนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ อปสข. ที่เน้น 3 เรื่องหลัก คือ พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ และงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ระบบบริการทุติยภูมิ-ตติยภูมิ และการเข้าถึงบริการของกลุ่มเปราะบาง

คณะอนุกรรมการฯ ได้มีข้อเสนอต่อผู้ว่าฯ กทม. ในประเด็นสำคัญคือ การยกระดับให้ศูนย์บริการสาธารณสุขเป็นผู้จัดการพื้นที่ (Efficient Area Manager) ให้สามารถดูแลสุขภาพประชาชนกรุงเทพมหานครในพื้นที่รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มต้นจากประชากรเฉพาะกลุ่ม 4 กลุ่มก่อน ได้แก่

1. เด็กนักเรียนที่มีปัญหาทางสายตาให้ได้รับแว่นตาครบทุกโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร เป้าหมาย 2 หมื่น คน

2. ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแล ( LTC: Long Term care) เป้าหมาย 2 หมื่นคน

ชัชชาติ
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

3. ผู้ป่วยระยะกลาง อาทิ stroke, บาดเจ็บทางสมอง/ไขสันหลัง และข้อสะโพกหัก ได้รับการฟื้นฟูใกล้บ้านอย่างต่อเนื่อง (IMC: Intermediate care) เป้าหมาย 1 หมื่นคน

4. ประชาชนต่างจังหวัดที่มาทำงานและอาศัยใน กทม. (ประชากรแฝง) จำนวน 7 แสนคน ย้ายสิทธิมาลงทะเบียนให้มีสถานพยาบาลประจำอยู่ในกทม. เพื่อให้ได้รับบริการสาธารณสุขที่สถานพยาบาลใกล้ที่พัก

ปัญหาหลักสำคัญของกทม.คือ เรื่องความเหลื่อมล้ำ การจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้เรื่องสาธารณสุขกับการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสาธารณสุข กทม.ต้องทำหน้าที่เป็นหน่วยปฐมภูมิหรืออย่างที่เรายึดมาตลอดคือ เรื่องเส้นเลือดฝอย

หน้าที่เราคือ กระจายระบบสาธารณสุขลงเส้นเลือดฝอยให้มากที่สุด มีอุปกรณ์สำคัญคือ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง ซึ่งเป็นด่านแรกที่จะปะทะ ดูแลป้องกันคือหน่วยปฐมภูมิ

จะเด็จ

เพราะฉะนั้นกทม. ต้องทำหน้าที่เป็น Area Manager หรือผู้จัดการพื้นที่ในการดูแล กทม.เองไม่สามารถทำคนเดียวได้เพราะมีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และบุคลากร

ดังนั้นแนวคิดคือเราเป็นผู้จัดการบริหารทรัพยากรในพื้นที่ อาจมีคลินิกชุมชนอบอุ่น มีร้านยา มีหน่วยต่าง ๆ มีอสส. ที่อยู่ในพื้นที่ ทั้งหมดต้องเป็นเนื้อเดียวกัน โดยมีศูนย์บริการสาธรณสุขเป็นผู้จัดการพื้นที่ และมีการเชื่อมต่อสูงขึ้นไปคือ โรงพยาบาลที่เป็นแม่ข่ายเชื่อมกลับมายังศูนย์บริการสาธารณสุข และเชื่อมไปสู่หน่วยย่อยลงมาเพื่อให้เกิดภาพที่สมบูรณ์ได้

ฉะนั้น 4 ข้อที่กำหนดมาเป็นผลของการบริหารจัดการ ถ้าเราทำ 4 ข้อนี้ได้สำเร็จ แสดงว่าเราเป็น Area Manager ที่มีคุณภาพได้

วามร่วมมือตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญในการจะแก้ปัญหาเรื่องความยากจน ความไม่เท่าเทียมในกรุงเทพมหานคร ถ้าเราดูแลสุขภาพให้ดี มีโรงเรียนที่ดี สุดท้ายแล้วประชาชนก็จะมีการพัฒนาตัวเอง มีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น และอีก 6 เดือนจะกลับมาประชุมติดตามว่าผลลัพธ์ของโครงการมีความสำเร็จมากน้อยเพียงใด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo