General

‘ฆ่าตัวตายสำเร็จ’ พุ่งเกินค่าเฉลี่ย วัยทำงานสุดเครียด ดันกฎกระทรวงแรงงาน ต้องตรวจสุขภาพจิตประจำปี

อัตรา ‘ฆ่าตัวตายสำเร็จ’ พุ่งเกินค่าเฉลี่ย พบวัยทำงานสุดเครียด ดันกฎกระทรวงแรงงาน ต้องตรวจสุขภาพจิตประจำปี

นายชาติวุฒิ วังวล ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า วัยทำงานเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ 2 ใน 3 ของประเทศ มีแรงงานในสถานประกอบการกว่า 15 ล้านคน การแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้วัยแรงงานได้รับผลกระทบต่อสถานภาพทางเศรษฐกิจและจิตใจ

ทั้งจากการงาน หนี้สิน มีความเครียด วิตกกังวล เหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกหมดหวัง หมดพลังชีวิต เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า นำไปสู่การฆ่า ตัวตาย

เครียด ฆ่าตัวตายพุ่ง

ฆ่าตัวตายสำเร็จในวัยทำงาน สูงกว่าค่าเฉลี่ย

โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ในปี 2565 พบอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในวัยทำงาน 9.43 ต่อแสนประชากร (3,650 คน) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ

ส่วนอัตราการพยายามฆ่า ตัวตายในวัยทำงานอยู่ที่ 45.24 ต่อแสนประชากร (17,499 คน) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศเล็กน้อย

ฆ่าตัวตายสำเร็จ

ผลักดันกฏกระทรวงแรงงาน ตรวจสุขภาพจิตควบตรวจสุขภาพกายประจำปี

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิต ครั้งล่าสุด มีมติเรื่องสุขภาพจิตในสถานประกอบการ 2 ประเด็น

  1. แก้กฎกระทรวงแรงงาน กำหนดให้จัดการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสวัสดิการ โดยตัดคำว่า “ทางเลือก” ออก เพื่อให้สถานประกอบการทุกแห่งทุกขนาด ต้องดำเนินการตามกฎ เนื่องจากปัจจุบันมีการตรวจสุขภาพประจำปีเฉพาะในสถานประกอบการขนาดใหญ่ ส่วนขนาดกลางและขนาดเล็ก ไม่ค่อยดำเนินการเรื่องนี้มากนัก
  2. กำหนดให้การตรวจสุขภาพประจำปี ต้องครอบคลุมเรื่องสุขภาพจิตด้วย เพราะที่ผ่านมาตรวจเฉพาะสุขภาพกายเท่านั้น

ฆ่าตัวตายสำเร็จ

และเพื่อป้องกันปัญหาเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้สถานประกอบการ กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาโปรแกรม MENTAL HEALTH CHECK IN ตรวจเช็คสุขภาพใจ สำหรับสถานประกอบการผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 2 โปรแกรม ได้แก่

  • โปรแกรมมาตรฐาน จัดการ 3 ปัญหาสุขภาพจิตของแรงงาน การเงิน ความเครียด และสัมพันธภาพ
  • โปรแกรมเชิงวิสัยทัศน์ มุ่งพัฒนาให้บุคลากรมีความสุขจากภายใน

โดยคาดว่ากฎกระทรวงแรงงานฉบับใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ภายในปีนี้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo