General

เช็กง่าย 4 วิธี รู้ทัน เบอร์แปลกโทรเข้า

เช็กง่าย 4 วิธี รู้ทัน เบอร์โทรศัพท์แปลกตาที่โทรเข้ามา แต่ถ้าเผลอกดรับสาย เจอข้ออ้างแบบนี้ต้องรีบวางทันที!

นับวันยิ่งมีมิจฉาชีพนับไม่ถ้วนที่เตรียมการเป็นอย่างดี และทำกันเป็นขบวนการเพื่อหลอกล่อให้เราเสียเงินจนหมดตัวจากทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็น SMS, แก๊งคอลเซนเตอร์ วันนี้ TheBangkokInsight รวบรวมข้อมูลจาก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย นำวิธีสังเกตเบอร์แปลกที่โทรเข้ามาให้ทุกคนได้รู้เท่าทันมิจฉาชีพ เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อได้ง่าย ๆ ดังนี้
เบอร์แปลก
  1. นำเบอร์โทรศัพท์ หรือเบอร์แปลกที่โทรเข้ามาไปเช็กใน Google เพื่อตรวจสอบประวัติเบอร์ผู้ใช้
  2. พิมพ์หมายเลขค้นหาใน Facebook หากเบอร์โทรนั้นเคยผูกกับบัญชีเฟซบุ๊ก คุณก็มีสิทธิ์จะพบเบอร์โทรดังกล่าว
  3. ค้นหาผ่านช่องทาง Line โดยกดช่อง “เพิ่มเพื่อน” จากนั้นเลือก “หมายเลขโทรศัพท์” ถ้าเบอร์โทรนั้นผูกกับไลน์ ก็มีสิทธิ์จะพบเบอร์โทรดังกล่าว
  4. โหลดแอปพลิเคชัน WHOSCALL เพื่อช่วยในการค้นหาตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ เบอร์โทรแปลก ๆ ที่โทรเข้ามา โดยแอปจะแจ้งเตือนที่หน้าจอว่าเบอร์ที่โทรเข้ามานั้นเป็นเบอร์ของใคร
เบอร์แปลก

6 ข้ออ้างมิจฉาชีพ เจอแบบนี้ต้องรีบวางสาย!

ถ้าเผลอกดรับสายจะพูดคุยโน้มน้าว หรือข่มขู่ให้เหยื่อตกใจ จนเกิดการหลงเชื่อ และโอนเงินให้มิจฉาชีพในที่สุด โดยข้ออ้างส่วนใหญ่ที่มิจฉาชีพมักใช้จะหลอกเหยื่อมีดังนี้

1. บัญชีเงินฝากถูกอายัด/หนี้บัตรเครดิต : มิจฉาชีพจะขออายัดบัญชีเงินฝากของเหยื่อ อ้างว่าเป็นหนี้บัตรเครดิต หลอกให้เหยื่อตกใจ รีบโอนเงินมาให้

2. บัญชีเงินฝากพัวพันกับการค้ายาเสพติด หรือการฟอกเงิน : มิจฉาชีพ จะอ้างว่าบัญชีเงินฝากของเหยื่อเกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย หลอกให้เหยื่อโอนเงินเข้าบัญชีที่เตรียมไว้ โดยอ้างว่าจะทำการตรวจสอบ

3. เงินคืนภาษี : มิจฉาชีพจะอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร แจ้งเหยื่อว่าได้รับเงินคืนภาษี โดยให้ยืนยันรายการตามคำบอกที่ตู้เอทีเอ็ม ซึ่งแท้จริงแล้วกลับเป็นขั้นตอนที่มิจฉาชีพหลอกให้เหยื่อโอนเงิน

4. โชคดีได้รับเงินรางวัล : มิจฉาชีพจะอ้างเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทต่างๆ แจ้งเหยื่อว่าได้รับเงินรางวัลหรือของรางวัลที่มีมูลค่าสูง หลอกให้เหยื่อโอนเงินค่าภาษีมาให้ก่อนรับรางวัล

5. ข้อมูลส่วนตัวหาย : มิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน อ้างว่าทำข้อมูลของเหยื่อสูญหาย เพื่อขอข้อมูลของเหยื่อใหม่ หลังจากนั้นจะนำไปปลอมแปลงหรือใช้บริการทางการเงินแทน

6. โอนเงินผิด : มิจฉาชีพจะติดต่อไปยังสถาบันการเงินของเหยื่อ เพื่อขอสินเชื่อแทนเหยื่อ เมื่อสถาบันการเงินอนุมัติและโอนเงินเข้าบัญชีให้เหยื่อแล้ว มิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปหาเหยื่อ อ้างว่าโอนเงินผิดบัญชี หลอกให้เหยื่อโอนเงินดังกล่าวคืนให้

ข้ออ้าง

ขอบคุณข้อมูลศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทยAnti-Fake News Center Thailand

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo