General

เปิดสถิติ ‘ข่าวปลอม’ รับศักราชใหม่ 2566 ‘สุขภาพ-นโยบายรัฐ’ ยังแรงไม่ตก

ดีอีเอส เผยสถิติข่าวปลอมประจำสัปดาห์ พบข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจ 10 อันดับส่วนใหญ่เป็นเรื่องของสุขภาพ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 

นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2565-5 มกราคม 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 4,136,804 ข้อความ

นพวรรณ หัวใจมั่น 1

ทั้งนี้ มีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 188 ข้อความ แบ่งเป็นข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 174 ข้อความ และข้อความที่มาจาก Line Official จำนวน 14 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 97 เรื่อง

ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 61 เรื่อง

กลุ่มที่ 2 ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน21 เรื่อง

กลุ่มที่ 3 ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 6 เรื่อง

กลุ่มที่ 4 ข่าวปลอมเศรษฐกิจ จำนวน 9 เรื่อง

เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจลำดับต้นๆ ในสัปดาห์ล่าสุดนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นข่าวปลอมด้านสุขภาพ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

10 สถิติข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2565 – 5 ธันวาคม 2566 

ผลิตภัณฑ์ไดเฮิร์บ

อันดับที่ 1 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ไดเฮิร์บ ผลิตภัณฑ์เดียว ที่เห็นผลลัพธ์ แก้น้ำตาลในเลือดสูงอ่อนเพลียจากโรคเบาหวาน มือชา เท้าชา ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ วูบจากอาการน้ำตาลสูง ความดันโลหิตสูง คอเรสเตอรอลสูง แผลหายช้าแห้งไม่สนิท

อันดับที่ 2 เรื่อง การอาบน้ำในช่วงเช้าตอนหน้าหนาว เป็นสาเหตุทำให้เส้นเลือดสมองแตก

อันดับที่ 3 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ WELLGO บรรเทาอาการปวดข้อ ช่วยลดอาการอักเสบ

อันดับที่ 4 เรื่อง วิธีเปลี่ยนผิวเหลือง เป็นผิวขาวอมชมพู

อันดับที่ 5 เรื่อง สารสกัดขมิ้นชันและพริกไทย รักษากรดไหลย้อน

อันดับที่ 6 เรื่อง 3 วิธีรักษาโรคมะเร็งด้วยตนเอง

อันดับที่ 7 เรื่อง ล้างไขมันในลำไส้ ด้วยชามะละกอ

ชามะละกอ

 

อันดับที่ 8 เรื่อง เพจ Dododo ชวนกู้เงินออนไลน์โครงการสินเชื่อสู้ไปด้วยกัน

อันดับที่ 9 เรื่อง อาบน้ำหลัง 6 โมงเย็น จะทำให้ม้ามอ่อนแอ ปวดเข่า ความจำไม่ดี ผมร่วง และเลือดจางได้

อันดับที่ 10 เรื่อง ผู้ที่เป็นโรคไมเกรน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกมากกว่าคนปกติถึง 46%

อย่างไรก็ตาม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ติดตามความเคลื่อนไหวข้อความที่ผิดปกติในทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง หากท่านได้รับการแจ้งข้อมูลที่ผิดปกติ ผ่านเอสเอ็มเอส หรือทางโทรศัพท์ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และขอให้ท่านตระหนักรู้เท่าทันข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดีย และออนไลน์

สามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้

  • ไลน์@antifakenewscenter
  • เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/
  • ทวิตเตอร์https://twitter.com/AFNCThailand
  • สายด่วน GCC 1111 ต่อ 87

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo