General

วัยรุ่น-วัยทำงาน ‘ซึมเศร้าเพิ่ม’ 1 ปีปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตร่วม 1 แสนคน

วัยรุ่น-วัยทำงาน ‘ซึมเศร้าเพิ่ม’ ช่วง 1 ปี ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตร่วม 1 แสนราย ประเมินพบอาการรุนแรง มากถึง 5,427 ราย

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า มีการรายงานสถานการณ์ทั่วโลก และการศึกษาในประเทศไทยที่พบว่า กลุ่มวัยที่อายุน้อย วัยรุ่น หรือวัยทำงานตอนต้น มีภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายได้ เพราะมีหลายปัจจัย จากสถานการณ์โควิด 19 และภัยคุกคามอื่นๆ ที่ทำให้เยาวชนและวัยรุ่น ต้องปรับการดำเนินชีวิต

ซึมเศร้า

วัยรุ่นวัยทำงาน เครียดเรื้อรัง ซึมเศร้าเพิ่ม อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย

เช่น การใช้เวลาเรียนทำงานออนไลน์ มากกว่าการพบปะเพื่อนและสังคมตามภาวะปกติ อาจทำให้เกิดความเครียดเรื้อรัง ส่งผลทั้งปัญหาสุขภาพและปัญหาความสัมพันธ์กับผู้อื่น

ทั้งนี้ในบางรายแม้จะเครียดมาก แต่พฤติกรรมภายนอกไม่แสดงออก ทว่าในใจมีอาการดำดิ่ง สู่ความเจ็บปวดอย่างรุนแรง จนนำไปสู่การตัดสินใจฆ่าตัวตาย  เช่น ถูกกดดันจากการเรียน กลัวว่าจะไม่สามารถทำตามความคาดหวังของครอบครัว นำไปสู่การทำร้ายตัวเองเป็นทางออก

ดังนั้น ผู้ที่กำลังมีความเครียด ซึมเศs้า เมื่อมีความรู้สึกหดหู่ให้มองด้านบวก นึกถึงคุณค่าของตนเอง ปล่อยวางความคิด ปรับวิธีคิดให้แตกต่างไปจากเดิม จะช่วยให้หาทางออกในการแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น

หากไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง การขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด หรือการรับบริการจากผู้เชี่ยวชาญ เป็นวิธีที่จะสามารถช่วยได้

ทั้งนี้คนใกล้ชิด ครอบครัว ครู อาจารย์และเพื่อน ต้องช่วยกันหมั่นสังเกต และเติมพลังใจให้แก่กัน ไม่ตำหนิความคิดหรือการตัดสินใจของบุคคลเหล่านั้น พร้อมกับรับฟังปัญหาอย่างตั้งใจ โดยไม่ใช้ความคิดของตนเองเข้าไปตัดสิน ร่วมสะท้อนสภาวะจิตใจว่าความเศร้า หรือความเครียดที่กำลังเผชิญอยู่นั้น มีต้นตอมาจากไหน แนะนำว่าควรจะจัดการร่วมกันอย่างไร

ซึมเศร้า

ประเมินซึมเศร้า ผ่าน Dmind หมอพร้อม พบอาการรุนแรง 5,427 ราย

ด้านกรมสุขภาพจิต ยังคงเฝ้าระวังเรื่องนี้ เน้นการช่วยเหลือเพื่อป้องกันปัญหาตั้งแต่ต้นทาง ไม่ใช่เพียงการป้องกันไม่ให้ทำร้ายตัวเอง แต่ทำให้คนมีความทุกข์น้อยลง และยังสามารถช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสังคมอีกด้วย

ด้าน แพทย์หญิงวิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็ก และวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า เมื่อมีปัญหาในการจัดการอารมณ์ มีภาวะเครียด ซึมเศร้า ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจัดการอย่างไร สามารถเริ่มจากการประเมินสุขภาพใจได้ทาง www.วัดใจ.com ซึ่งเป็นการประเมินสุขภาพใจของตนเองผ่านแบบสอบถาม สามารถบอกได้เบื้องต้นว่ามีความเสี่ยง ต่อปัญหาสุขภาพจิตในระดับใดบ้าง

ส่วนผู้ที่มีปัญหาชัดเจนเรื่องอารมณ์ซึมเศs้า หรือมีความคิดอยากทำร้ายตนเอง สามารถประเมินความเสี่ยง ต่อซึมเศs้าหรือทำร้ายตนเอง ที่ปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อ Dmind ผ่านไลน์หมอพร้อม โดยเข้าไปที่ฟังชั่นคุยกับหมอพร้อม แล้วกดตรวจสุขภาพใจ จะได้พูดคุยและประเมินผ่านปัญญาประดิษฐ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับคุณหมอ

จากข้อมูลเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 พบว่ามีจำนวนผู้เข้าใช้งานประเมินซึมเศs้าผ่านระบบ Dmind ผ่านทางระบบหมอพร้อม จำนวนทั้งหมด 72,610 ราย พบว่าภาวะสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ และพบปัญหาสุขภาพจิตในระดับน้อย ร้อยละ 75.92 ระดับปานกลางร้อยละ 16.61 และระดับรุนแรง ร้อยละ 7.47

โดยหากนับจำนวนแล้วพบว่า ในกลุ่มระดับรุนแรงมีจำนวนถึง 5,427 ราย ซึ่งจำนวนนี้ผู้ที่ยินยอมให้ติดตามช่วยเหลือ สามารถดำเนินการได้ถึง ร้อยละ 70.04

ซึมเศร้า

1 ปี ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตเกือบ 1 แสนราย

นอกจากนี้ ยังช่องทางให้การปรึกษาผ่านสายด่วนสุขภาพจิต1323 ฟรี ตลอด24 ชั่วโมง จากข้อมูลช่วงเดือนตุลาคม 2564 ถึงกันยายน 2565 สายด่วน1323 ได้ให้บริการถึง 95,029 ราย

โดยกลุ่มที่อายุ 12-18 ปี มีจำนวน 7,369 คนซึ่งปัญหาที่ขอรับปรึกษามากที่สุด 3 ลำดับ คือ ปัญหาครอบครัว ความรักและการเรียน ในขณะที่กลุ่มอายุ 18-29 ปี มีจำนวน 28,421คนและปัญหาที่ขอรับปรึกษามากที่สุด 3 ลำดับ คือ ปัญหาความรัก ครอบครัวและการทำงาน

โดยปัจจุบันได้มีเพิ่มระบบนัดผ่าน https://1323alltime.camri.go.th เพื่อผู้รับบริการเลือกรับวันเวลาที่สะดวกได้อีกด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo