COVID-19

ดร.อนันต์ เผยผลการศึกษา กินอาหาร ‘โลว์คาร์บ-คีโต’ รักษาโควิดได้ ทำให้หายไวขึ้น

ดร.อนันต์ เผยผลการศึกษา กินอาหาร ‘โลว์คาร์บ-คีโต’ รักษาโควิดได้ ทำให้หายไวขึ้น

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เผยผลการศึกษาจากนักวิจัยเยอรมนี ที่พบว่า ร่างกายจะเปลี่ยนมาใช้แหล่งพลังงนสำรองที่ตับ BHB ซึ่งไม่มีคาร์โบไอเดรต ในช่วงที่ร่างกายเบื่ออาหารจากการติดโควิด และพบว่าต้านทานเชื้อได้ดี และอาจเป็นทางเลือกในการรักษาโควิดในผุ้มีอาการรุนแรง ดังนี้

เวลาติดโควิดแล้ว หลายคนมีอาการเบื่ออาหารทานอะไรไม่ลง จริงๆแล้วสภาวะนี้เป็นการตอบสนองต่อการติดเชื้อตามธรรมชาติ ซึ่งอาจเป็นผลดีต่อร่างกาย

โลว์คาร์บ

ติดเชื้อเบื่ออาหาร ร่างกายเปลี่ยนมาใช้แหล่งพลังงานสำรองที่ตับ

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาจากทีมวิจัยในเยอรมนีพบว่า ช่วงที่ร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อด้วยอาการเบื่ออาหาร เป็นการเปลี่ยนระบบการใช้พลังงานของร่างกาย จากการใช้น้ำตาลเพื่อสร้างพลังงาน เป็นการใช้แหล่งพลังงานสำรองที่ตับแทน

โดยพลังงานสำรองดังกล่าวคือ ketone body β-hydroxybutyrate (BHB) ที่ร่างกายเปลี่ยนจากกรดไขมันในตับนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงาน ในสภาวะอดอาหาร หรือ แหล่งอาหารไม่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น อาหารกลุ่มคีโตไดเอท ที่บางท่านอาจนิยมรับประทานเพื่อควบคุมน้ำหนัก

โลว์คาร์บ

ทีมวิจัยพบว่า ผู้มีอาการโควิดรุนแรงจะมีการสร้าง BHB ในร่างกายที่น้อยกว่าปกติ แหล่งพลังงานของผู้ป่วยเหล่านั้นจะพึ่งน้ำตาล หรือ คาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก แต่สภาวะการติดเชื้อโควิด ทำให้ระบบการเผาผลาญน้ำตาลไม่เป็นปกติในผู้ป่วยเหล่านี้ โดยเฉพาะในเม็ดเลือดขาว T cell ที่ควรได้สารอาหารชนิดกรดอะมิโนสำคัญจากแหล่งพลังงานดังกล่าว ไปสร้างโปรตีนเพื่อจัดการกับเชื้อ หรือ เพิ่มจำนวนของตัวเองให้พร้อมในสภาวะติดเชื้อ

ทีมวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโควิดมี T cell ที่ทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอซึ่งอาจส่งผลโดยตรงต่ออาการโควิดที่รุนแรง พูดง่ายๆคือ T cell เสียสมดุลการทำงานจากการใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงาน

โลว์คาร์บ

ทดลองให้คีโตในหนูทดลอง ช่วยต้านเชื้อได้ดี

ทีมวิจัยพบว่า แทนที่จะใช้น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงาน ร่างกายจะใช้ BHB แทน ซึ่งกลไกการเผาผลาญ BHB สามารถทำให้มีการสร้างกรดอะมิโนได้เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ T cell ได้อย่างดี สามารถเคลียร์ไวรัสจากร่างกายได้ไวขึ้น

ทีมวิจัยพบว่า การให้อาหารชนิดคีโตกับหนูทดลองยังที่ติดเชื้อ สามาถช่วยให้หนูต้านการติดเชื้อได้ดีกว่ากลุ่มทดลอง ทำให้คิดว่า BHB อาจมีคุณสมบัติต่อต้านไวรัสได้

ทีมวิจัยสรุปว่า BHB อาจจะเป็นหนึ่งเป้าหมายสำคัญที่อาจพิจารณานำมาใช้ช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอาการรุนแรง สำหรับผู้ที่มีอาการเบื่ออาหารไม่อยากทานอะไร ก็อาจจะเป็นกลไกที่ร่างกายอยากใช้ประโยชน์ จาก BHB ที่สะสมไว้ครับ หรือ ถ้าจะทานอาหาร low carb ช่วงพักฟื้นอาจช่วยให้หายไวขึ้นครับ

(อาหารโลว์คาร์บและคีโต คือ การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ)

โลว์คาร์บ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo