COVID-19

‘โอไมครอน’ 6 สายพันธุ์ย่อย ที่ระบาดในไทย ควรรักษาด้วย ‘ยาแอนติบอดีสำเร็จรูป’ ประเภทใด เช็กเลย!!

‘โอไมครอน’ 6 สายพันธุ์ย่อย ที่ระบาดในไทย ควรรักษาด้วย ‘ยาแอนติบอดีสำเร็จรูป’ ประเภทใด เช็กเลย!!

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomic เรื่อง การรักษาผู้ติดเชื้อโควิด สายพันธุ์โอไมคsอนที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน ควรใช้ยาแอนติบอดีสำเร็จรูปแบบใด ข้อความดังนี้

โอไมคsอนสายพันธุ์ย่อยที่ตรวจพบในไทย BA.5, BA.2.75, BF.7, BQ.1, XBB และ XBB.1 ควรรักษาด้วยยาแอนติบอดีสำเร็จรูปประเภทใด?

โอไมครอน

โอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่พบทั้งหมดในประเทศไทย

โอไมคsอนสายพันธุ์ย่อยที่ตรวจพบในประเทศไทย จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและแชร์ข้อมูลบนฐานข้อมูลโควิดโลก “กิสเสด (GISAID)”   6 อันดับแรกคือ

  1. BA.5* (BA.5.X) จำนวน 2,550 ราย 33%
  2. BA.2.75* (BA.2.75.X) จำนวน 61 ราย 1.4%
  3. BF.7 จำนวน 2 ราย <0.5%
  4. BQ.1 จำนวน 1 ราย <0.5%
  5. XBB จำนวน 1 ราย <0.5%
  6. XBB.1 จำนวน 2 ราย (อยู่ในระหว่างคำนวณ %)

อนึ่งโอไมคsอนที่พบทั้งหมดในประเทศไทย มีจำนวนมากว่า 17,781 ราย คิดเป็นร้อยละ 71 (ระหว่าง 12 กย 2564- 27 กย 2565)

โดยยังไม่พบโอไมคsอนสายพันธุ์ย่อย  BQ.1.1 และ XBC จากฐานข้อมูลโควิดโลก “กิสเสด” ในขณะนี้ (15/11/2565) (ภาพ1)

โอไมครอน

สายพันธุ์ไหน ใช้ยาแอนติบอดีสำเร็จรูปประเภทใด?

ประเทศไทยมีการจัดเตรียมแอนติบอดีสำเร็จรูป แบบ Long Acting Antibodies (LAAB) ที่มีชื่อว่า “อีวูชีลด์” (Evusheld) เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มประชาชนเปราะบาง โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ไม่ดี เช่น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ปลูกถ่ายอวัยวะ ปลูกถ่ายไขกระดูก หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้

โดย “อีวูชีลด์”สามารถใช้รักษาการติดเชื้อสายพันธุ์ BA.5*, BA.2.75* และสายพันธุ์ลูกผสม XBC (ยังไม่พบในประเทศไทย) ได้ดี(ภาพ2)

ส่วนโอไมคsอนสายพันธุ์ย่อย BQ.1,BQ.1.1, XBB, และ XBB.1 จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า ดื้อต่อแอนติบอดีสำเร็จรูป “อีวูชีลด์” อาจต้องเปลี่ยนไปใช้แอนติบอดีค็อกเทล ที่มีศักยภาพสามารถยับยั้งไวรัสโคโรนา 2019 หรือ SARS-CoV-2 ได้ทุกสายพันธุ์ (Broadly Neutralizing Monoclonal Antibodies) อาทิ แอนติบอดีค็อกเทล SA55 และ SA58 ซึ่งผลจากห้องปฏิบัติการพบว่าสามารถยับยั้ง ไวรัสโคโรนา 2019 ได้ทุกสายพันธุ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน(ภาพ2)

โอไมครอน

ความเสี่ยงเสียชีวิตเป็นศูนย์ หากได้รับวัคซีนตามกำหนด

ดร.อาชิช จา (Ashish Jha) หัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจด้านโควิดของทำเนียบขาว ได้กล่าวว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา  ทำให้ปัจจุบันความเสี่ยงของการเจ็บป่วยรุนแรงถึงเสียชีวิตจากโควิด-19 แทบจะเป็น “ศูนย์” สำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามกำหนดและผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในทันที ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ดหรือยาฉีด ภายใต้ดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo