COVID-19

โควิด 19-ไข้หวัดใหญ่ กลายพันธุ์ต่อเนื่อง วัคซีนต้องเปลี่ยนแปลงตาม

“หมอยง” เผยวิวัฒนาการของโควิด 19-ไข้หวัดใหญ่ มีการกลายพันธุ์ทีละเล็กละน้อยต่อเนื่อง วัคซีนจึงต้องเปลี่ยนตาม และต้องฉีดเพื่อลดความรุนแรง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลีนิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เรื่อง การกลายพันธุ์ของ โควิด 19-ไข้หวัดใหญ่ โดยระบุว่า

shutterstock 1630351285

ทั้ง covid19 และไข้หวัดใหญ่มีการกลายพันธุ์ ทีละเล็กทีละน้อยไปโดยตลอด ที่เราเรียกว่า drift ในไข้หวัดใหญ่
ในปีนี้ จะเห็นว่าไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาดในประเทศไทยอยู่นี้ เป็น H3N2 เกือบทั้งหมด

จากการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัส H3N2 ของทุกปีที่ผ่านมา รวมทั้งปีนี้ ตั้งแต่ต้นปี จะเห็นว่ามีการกลายพันธุ์มาตลอด เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่อยู่ในวัคซีน

จากรูปจะเห็นได้ชัดเจนว่า สายพันธุ์ที่กำลังระบาดในประเทศไทยขณะนี้ (ที่อยู่ข้างบนของกิ่ง)กำลังตีห่างออกไปจากสายพันธุ์วัคซีนที่เราได้ฉีดกัน (สี่เหลี่ยมสีแดง)

โควิด 3

 

จึงไม่แปลกที่ทำไมสายพันธุ์วัคซีนไข้หวัดใหญ่ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปตลอด ดังแสดงในรูป ที่แสดงทั้งสีแดงและสีเหลืองในแต่ละปี ข้อมูลนี้เป็นการศึกษาที่ศูนย์ทำมาโดยตลอด

ในทำนองเดียวกัน เชื้อ covid19 ก็มีการกลายพันธุ์แตกลูกหลานออกไป

โควิด1 1

การกำหนดชื่อรหัสของไวรัส จึงมีการกำหนดกระจายไปเรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่นไข้หวัดใหญ่ H3N2 ที่กำลังระบาดอยู่นี้จะอยู่ใน clade 3C.2a1b.2a.2 วัคซีนเองก็จะเปลี่ยน clade ไปตามแต่ละปี ด้วยรหัสต่าง ๆ กัน

ขณะนี้เราคงคุ้นเคยกับรหัสใน covid-19 ทั้งที่ก่อนหน้านี้ของไข้หวัดใหญ่ก็กำหนดเป็นรหัสเช่นเดียวกัน แต่เราไม่ค่อยได้พูดถึงกัน

ในปัจจุบัน การถอดรหัสพันธุกรรมทำได้ง่าย และเมื่อมีการทำกันมากโดยเฉพาะใน covid 19 ที่ทำกันเป็นล้าน ๆสายพันธุ์ ก็ไม่แปลกที่จะมีสายพันธุ์ย่อยเกิดขึ้นมา อย่างที่เราเห็นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

เมื่อดูจากไข้หวัดใหญ่ ประสิทธิภาพของวัคซีน ก็ไม่ได้สูงมาก แต่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ในเด็กเล็ก และ 608 กลุ่มเสี่ยงก็ควรจะได้ฉีดทุกปี

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo