ฝีมือนักวิจัย สวทช. พบ ‘ไวรัสฝีดาษลิง’ มีผลต่อ ‘อาการสมอง’ ด้วย สามารถติดเซลล์ในระบบประสาท เหมือนโควิด
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า นักวิจัยจาก สวทช. พบว่า ไวรัสฝีดาษลิง สามารถติดเซลล์ในระบบประสาทได้ ซึ่งจะทำให้แพทย์เข้าใจอาาการทางสมองของผู้ป่วยได้ ข้อความดังนี้
ไวรัสสามารถติดเซลล์ในระบบประสาทได้
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นชิ้นแรกของทีมวิจัย AVCT ของ สวทช. เกี่ยวกับไวsัสฝีดาษลิงที่ทดสอบในห้องปฏิบัติการยืนยันว่า ไวรัสสามารถเข้าติดเชื้อเซลล์ในระบบประสาทของมนุษย์ได้ดี โดยไวรัสเข้าติดเซลล์ที่ชื่อว่า Astrocyte และ เซลล์ตั้งต้นก่อนเจริญเป็นเซลล์ประสาท (neuron progenitor cell) ได้ และ เพิ่มปริมาณไวรัสออกมาได้สูง แต่ไวรัสไม่ติดเซลล์ประสาทโดยตรง
ช่วยให้เข้าใจอาการทางสมองผู้ป่วยฝีดาษลิง
หลังจากประเทศไทยมีผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 4 ทีมวิจัยได้รับอนุเคราะห์ตัวอย่างจากผู้ป่วยเพื่อทำการแยกเชื้อไวรัสได้สำเร็จ โดยไวรัสที่แยกได้สามารถนำไปทดสอบกับเซลล์จากระบบประสาทชนิดต่างๆ ที่ทีมวิจัยสร้างมาจาก stem cell
ซึ่งจากการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ประสาทชนิดต่างๆที่ติดเชื้อไวรัส เราพบว่า เซลล์ Astrocyte มีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างที่น่าสนใจมาก คือ การหลอมรวมตัวกันของเซลล์ (คล้ายๆกับเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 แต่คิดว่าคนละกลไก)
ซึ่งโครงสร้างดังกล่าว จะส่งผลให้สภาพการทำงานของเซลล์เสียไปอย่างรวดเร็ว องค์ความรู้นี้อาจจะช่วยให้เราเข้าใจอาการทางสมองที่พบได้ในผู้ป่วยฝีดาษลิง
ต้องขอบคุณ Dr. Krit Pongpirul และ ทีมวิจัยที่ช่วยทำให้งานวิจัยนี้สำเร็จลงอย่างรวดเร็ว
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- ด่วน!! พบผู้ป่วย ‘ฝีดาษลิง’ รายที่ 11 เป็นชายไทยกลับจากกาตาร์
- ด่วน! พบผู้ป่วย ‘ฝีดาษลิง’ เพิ่มอีก 2 ราย ที่ภูเก็ต เป็นหญิงไทย และชายชาวเยอรมนี
- ‘XBB’ สัญญาณ ‘การระบาดระลอกใหม่’ กลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ เสี่ยงอาการรุนแรง