COVID-19

‘หมอเฉลิมชัย’ บอกข้อดีวัคซีนโควิด ‘พ่นจมูก’ หลังอินเดียอนุมัติใช้ฉุกเฉินตัวแรกของโลก

“หมอเฉลิมชัย” เผยข้อดีวัคซีนโควิด ชนิดพ่นจมูก หลังอินเดียอนุมัติเป็นตัวแรกของโลก ขณะที่ในไทยเริ่มทดลองในมนุษย์แล้ว

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย เรื่อง อินเดียอนุมัติวัคซีนโควิดชนิดพ่นเป็นฝอยละอองแล้ว โดยระบุว่า

วัคซีนโควิด

ตามมาติดติด!! วัคซีนโควิดชนิดพ่นจมูกตัวแรกของโลก ได้รับการอนุมัติแล้วโดยทางการอินเดีย ตามหลังประเทศจีน ซึ่งอนุมัติวัคซีนโควิดชนิดสูดทางปาก

หลังจากที่ประเทศจีน อนุมัติวัคซีนโควิดชนิดพ่นเป็นฝอยละออง (Aerosal) แล้วสูดดมทางปาก (Inhaled) เป็นรายแรกของโลกไปแล้ว โดยบริษัท CansinoBIO เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2565

ในวันนี้ อินเดียก็ได้อนุมัติวัคซีนชนิดพ่นทางจมูก (Nasal spray) โดยหน่วยงานควบคุมการใช้ยาของอินเดีย แบบการใช้ชนิดฉุกเฉิน (EUA)

เฃนพ.เฉลิมชัย
นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ

วัคซีนดังกล่าวผลิตโดยบริษัท Bharat Biotech ซึ่งได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากมหาวิทยาลัย Washington in St.Louis ในสหรัฐ

แล้วนำมาผลิต โดยเป็นเทคโนโลยีไวรัสเป็นพาหะ (Viral Vector) ใช้ไวรัสก่อโรคหวัดในลิงชิมแปนซี เป็นตัวพาโปรตีนหนามเข้าไปกระตุ้นให้มนุษย์สร้างภูมิคุ้มกัน ทำนองเดียวกับวัคซีนของบริษัท AstraZeneca

การศึกษาเฟสที่ 3 ใช้อาสาสมัคร 3,100 คนที่พ่นจมูก 2 ครั้ง และมีอีก 875 คนที่เคยฉีดวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม มาพ่นจมูกเป็นการกระตุ้นครั้งที่ 3

พบว่า มีทั้งความปลอดภัย (Safety) และประสิทธิผล (Efficacy) ในการป้องกันโรคได้ดี แนะนำให้ใช้ในคนที่อายุเกิน 18 ปีขึ้นไป

วัคซีนพ้นจมูก

ข้อดีของวัคซีนโควิด ชนิดพ่นจมูก ก็คือ

1. เหมาะกับคนที่กลัวเข็มฉีดยา ทำให้ได้รับความร่วมมือในการรับวัคซีนเพิ่มมากขึ้น

2. ไม่ต้องใช้บุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ทำให้มีข้อจำกัดต้องไปรับวัคซีนที่สถานพยาบาล

3. วัคซีนชนิดพ่นจมูก จะสามารถสร้างภูมิต้านทานในเยื่อบุจมูกหรือทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไวรัสเข้าโจมตีมนุษย์เป็นจุดแรก จึงป้องกันการติดเชื้อได้ดีมากกว่าการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันที่ส่วนใหญ่จะไปอยู่ในกระแสเลือด

ขณะนี้มีหลายประเทศที่กำลังวิจัยพัฒนาวัคซีนชนิดพ่นจมูกแล้ว เช่นกันก็มีหลายประเทศที่กำลังวิจัยพัฒนาชนิดสูดทางปาก

ประเทศไทยก็กำลังทดลองวัคซีนชนิดพ่นจมูกในมนุษย์แล้วด้วยเช่นกัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo